Mediterranean Shipping Company S.A. (MSC) ตัดสินใจซื้อหุ้นท่าเรือ Hamburger Hafen und Logistik (HHLA) จำนวน 49.9% ของหุ้นทั้งหมด ในราคา 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หวังเข้าคุม HHLA ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นของ Hamburg ตั้งเป้าจะทำให้ Hamburg กลายเป็นแหล่งกระจายสินค้าหลักของ MSC ซึ่งมีผลให้ต้องขยาย Office, จ้างพนักงานท้องถิ่นเพิ่ม, และย้ายศูนย์บริหารหลักมาตั้งที่ Hamburg แทน
นาย Klaus-Michael Kühne เจ้าของบริษัทโลจิสติกส์ Kühne + Nagel และผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Hapag-Lloyd เปิดเผยว่า “ต้องที่จะได้ HHLA มาครอบครอง และในวันที่ MSC เข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของ HHLA ซึ่งเขาได้ออกมาให้ข่าวสื่อมวลชนว่า นี่นับเป็นการตบหน้า Hapag-Lloyd เพราะเดิมที Hapag-Lloyd เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจผ่านท่าเรือ Hamburg มากที่สุดและเป็นผู้สร้างรายได้กว่า 50% ของท่าเรือ” ทางด้านนาย Rolf Habben Jansen, CEO ของบริษัท Hapag-Lloyd ได้ออกมาตอบโต้ว่า “การเข้าไปถือครอง HHLA ไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักของบริษัทฯ แต่ก็กล่าวไว้ว่า ถ้าจะต้องจ่ายเงินให้กับคู่แข่งเพื่อที่จะสามารถใช้ท่าเรือแห่งนี้ต่อไป เขายอมที่จะย้ายธุรกิจไปที่อื่นน่าจะดีกว่า” โดยเขาสามารถลดการประกอบธุรกรรมขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือ Hamburg ได้มากถึง 80% ของปัจจุบัน ทางคู่แข่งของ HHLA อย่างนาย Thomas Eckelmann, CEO ของ Eurogate เปิดเผยว่า “ข้อตกลงซื้อขายหุ้นครั้งนี้เป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของท่าเรือ Hamburg” เขาบอกว่า เราทราบในระดับนึงว่า MSC จะหยุดใช้บริการของ Eurogate แต่ในทางกลับกันก็เป็นไปได้ที่ลูกค้าของ HHLA จะย้ายมาใช้บริการ Eurogate ได้เช่นกัน
งานนี้ไม่ใช่เฉพาะแค่ภาคธุรกิจที่จะออกมาประนาม MSC แต่ด้านสหภาพแรงงานผู้ประกอบธุรกิจบริการ (Ver.di) ก็ออกมาตอบโต้เช่นกัน โดยจัดการชุมนุมประท้วงที่ สำนักงานใหญ่ของ HHLA และยังมีมติว่า “ท่าเรือของเรา ไม่ใช่คาสิโนของคุณ” สมาชิกแรงงานของ Ver.di Hamburg ก็ออกมาต่อต้านและกล่าวว่า “HHLA เป็นของชาวเมือง นี่เป็นการทรยศและขายเมืองให้กับองค์กร”
นาย Robert Habeck รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า “แน่นอนจะมีการตรวจสอบจากภาครัฐ อย่างไรก็ตามครั้งนี้ไม่เหมือนกันกับการลงทุนของ COSCO (บริษัทจีน) ใน Hamburg เมื่อต้นปีที่ผ่านมา” ทางด้านนาย Olaf Scholz นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ออกมาแจ้งว่า “รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะให้เงินสนับสนุนท่าเรือของประเทศมากกว่าในปัจจุบัน”
ที่มา :
Handelsblatt 29 กันยายน 2566
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)