หน้าแรกTrade insightธุรกิจ Logistics > “พาณิชย์” เปิดตัวระบบ Dashboard Analytic ฐานข้อมูลโลจิสติกส์ Logistics+
315
319
164
290
221
238
168
1147

สรุปสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ปี 2563

ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมีนาคม 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.54 (YoY) หดตัวครั้งแรกในรอบ 33 เดือน และเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 51 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และการลดลงของกลุ่มพลังงาน ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 48 เดือน (ลดลงร้อยละ 11.14) ตามภาวะสงครามราคาน้ำมันโลก ระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศลดลงถึง 11 ครั้งในเดือนนี้ นอกจากนั้น กลุ่มอาหารสด แม้จะยังขยายตัวร้อยละ 2.46 แต่เป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบปี เป็นผลจากความต้องการที่ลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยว การปิดให้บริการของร้านค้า และการปิดภาคเรียน ขณะที่ราคาอาหารสำเร็จรูป เครื่องประกอบอาหาร และของใช้ส่วนบุคคล ยังทรงตัวและเปลี่ยนแปลงตามโปรโมชั่นของห้างโมเดิร์นเทรด อย่างไรก็ตาม สินค้าบางรายการมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะ มะนาว ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะภัยแล้ง และไข่ไก่ ที่ปรับขึ้นตามพฤติกรรมการซื้อไข่ครั้งละจำนวนมาก เพื่อลดการเดินทางของผู้บริโภค ประกอบกับผลผลิตไข่ลดลงในช่วงฤดูแล้ง เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 0.54 (YoY) เฉลี่ยไตรมาสแรกปี 2563 เงินเฟ้อทั่วไป และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.41 และ 0.53 (YoY) ตามลำดับ สถานการณ์ในช่วงนี้ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ดังนั้นเครื่องชี้วัดต่างๆ ที่เป็นปัจจุบันจะมีทิศทางสอดคล้องกับความรุนแรง และความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการมีราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ข้าว ไก่ และไข่ ส่งผลดีต่อเกษตรกรในกลุ่มนี้

166
1 96 97 98 101

Login