เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 African Development Bank ได้ปรับลดประมาณการเติบโตในปีนี้ของทั้งทวีปแอฟริกา ลงเหลือร้อยละ 3.4 จากร้อยละ 4 และลดประมาณการเติบโตในปี 2567 ลงเหลือร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 4.3 เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น ผลกระทบจากโควิดที่ยังส่งผลกระทบอยู่ สถานการณ์รัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ อัตราเงินเฟ้อในระดับสูง ราคาอาหารและเชื้อเพลิงสูง และปัจจัยอื่นๆ ภายในประเทศ เช่น ภาวะสงคราม ความไม่มั่นคงทางการเมือง ภาระหนี้สาธารณะ คอร์รัปชัน ความยากจน การขาดแคลนพลังงาน (ไฟฟ้า) และค่าเงินท้องถิ่นอ่อนค่า
อย่างไรก็ดี แม้แอฟริกาจะถูกปรับคาดการณ์การเติบโตลง แต่ยังคงมีการเติบโตที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3 โดยแอฟริกาเป็นรองเพียงทวีปเดียว คือ เอเชีย ที่คาดว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 4.6 โดยแนวโน้มการเติบโตที่ลดลงเช่นนี้พบได้เป็นการทั่วไปในประเทศส่วนใหญ่ของแอฟริกา รวม 33 ประเทศ
ทั้งนี้ African Development Bank คาดการณ์การเติบโตปีนี้เป็นรายภูมิภาคไว้ ดังนี้
- แอฟริกากลางจะมีการเติบโตที่ร้อยละ 1 ในปีนี้ ลดลงจากร้อยละ 5.3 ในปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญเนื่องจากปัญหาความมั่นคงและการเมืองในประเทศ โดยเฉพาะประเทศแอฟริกากลาง ชาด คองโก กาบอง และอีเควทอเรียลกินี
- แอฟริกาตะวันออกจะมีการเติบโตที่ร้อยละ 4 ในปีนี้ ลดลงจากร้อยละ 7 ในปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญเนื่องจากปัญหาความมั่นคงและการเมืองในซูดาน ปัญหาหนี้สาธารณะในเอธิโอเปียและเคนยา แต่ยังมีประเทศที่เติบโตได้ดี เช่น รวันดาและแทนซาเนีย เนื่องจากมีการลงทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ในอุตสาหกรรมเกษตร ค้าปลีก การผลิต ท่องเที่ยว และพลังงาน โดยคาดว่าเศรษฐกิจอาจเติบโตได้ถึง 5.1 ในปี 2567
- แอฟริกาใต้จะมีการเติบโตที่ร้อยละ 6 ในปีนี้ ลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ที่เติบโตลดลง และการขาดแคลนไฟฟ้ารุนแรงจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต
- แอฟริกาตะวันตกจะมีการเติบโตที่ร้อยละ 8 ในปีนี้ โดยเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตกจะขึ้นกับเศรษฐกิจของไนจีเรีย ซึ่งกำลังประสบปัญหาการอุดหนุนเชื้อเพลง การปฏิรูปอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และกานา ซึ่งกำลังประสบปัญหาหนี้สาธารณะ รวมถึงการก่อการร้ายในเขตเกษตรกรรมในหลายประเทศ
- แอฟริกาเหนือจะมีการเติบโตที่ร้อยละ 4 ในปีนี้ ลดลงจากร้อยละ 7 ในปีที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้ประสบกับปัญหาการค้าระหว่างประเทศ (terms-of-trade shock) การขาดแคลนเงินสกุลต่างประเทศ และค่าเงินอ่อนค่า รวมถึงอัตราเงินเฟ้อสูง ในอียิปต์ แอลจีเรีย และตูนีเซีย
ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
- สำหรับปัจจัยภายในประเทศอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของแอฟริกา เช่น
- อัตราเงินเฟ้อสูงและค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีแนวโน้มจะสูงคงที่ต่อไป ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดแคลนสินค้า (supply shock) เนื่องจากเงินท้องถิ่นอ่อนค่าและราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น โดยในภาพรวม consumer price inflation เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5 ในเดือนตุลาคม 2566 เพิ่มจากร้อยละ 14.5 ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ทั้งนี้ อียิปต์ ไนจีเรีย และเอธิโอเปีย มีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 20
- ค่าเงินสกุลท้องถิ่นอ่อนค่า ประเทศแอฟริกาส่วนใหญ่ประสบปัญหาเงินสกุลท้องถิ่นอ่อนค่า เช่น ลิเบีย กินี แอลจีเรีย ไนจีเรีย บุรุนดี และอียิปต์
- เศรษฐกิจภายในประเทศหดตัว อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจทั่วโลกหดตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกของแอฟริกาที่ส่งออกสินค้าไปจีนเป็นจำนวนมาก โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เคยวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจจีนและแอฟริกาว่า หาก real GDP ของจีนลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้ GDP ของแอฟริกาลดลงร้อยละ 25
- ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลกสูงขึ้น แม้ว่าราคาสินค้าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้วเมื่อปี 2565 แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับราคาเชื้อเพลิง/พลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งยังมีความเสี่ยงอื่นๆ ที่จะทำให้ราคาสินค้าสูงต่อเนื่องต่อไป เช่น สถานการณ์ทางการเมือง ผลผลิตการเกษตรลดลง ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ และราคาปุ๋ยสูงขึ้น เป็นต้น
- สำหรับการค้าไทย-แอฟริกา ในปี 2565 มีมูลค่า 14,109 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของการค้าไทย-โลก
- ไทยส่งออกไปแอฟริกา เป็นมูลค่า 6,587 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป และเคมีภัณฑ์
- ไทยนำเข้าจากแอฟริกา ปี 2565 เป็นมูลค่า 7,522 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะ เครื่องเพชรพลอยอัญมนี และเคมีภัณฑ์
- อย่างไรก็ดี แอฟริกายังคงเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย เนื่องจากแอฟริกา (1) อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซปิโตรเลียม ทองค้า ทองแดง แพลตินัม ถ่านหิน เพชร ฟอสเฟต (2) เป็นตลาดที่กำลังเติบโต โดยมีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น และเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จำนวนมาก (3) มีอัตราการขยายตัวของเมืองสูง (Urbanization) โดยคาดการณ์ว่าในปี 2573 แอฟริกาจะมีเมืองที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน เกือบ 90 เมือง และ (4) มีการจัดทำ FTAs กับหลายประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน และกับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ (สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน) จึงอาจใช้เป็นเครื่องมือในการทำตลาดสินค้าไทยได้ในระดับทวีปได้
—————————————————
ที่มา
https://www.reuters.com/world/africa/africas-economic-growth-slow-2023-afdb-says-it-slashes-forecasts-2023-11-29/
อ่านข่าวฉบับเต็ม : African Development Bank ปรับลดประมาณการเติบโตในปีนี้ของทวีปแอฟริกาลงเหลือร้อยละ 3.4 แต่ยังคงเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลก และเป็นที่สองรองจากเอเชียเท่านั้น