ยูกานดาเป็นคู่ค้าลำดับที่ 4 ของไทยในแอฟริกาตะวันออก รองจาก เคนยา แทนซาเนีย เอธิโอเปียตามลำดับ โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันประมาณ 800 ล้านบาทต่อปี ซึ่งยังเป็นจำนวนที่น้อยมาก หากเทียบกับศักยภาพของไทยที่จะส่งออกมาได้ สินค้ากระดาษและบรรจุภัณฑ์ในแอฟริกาตะวันออก ก็เป็นสินค้าสำคัญรายการหนึ่งที่ไทยมีโอกาสส่งออกไปยูกานดา โดยสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าลำดับที่ 5 ที่ไทยมีการส่งออกไปที่ยูกานดา มูลค่าประมาณ 40 ล้านบาทต่อปี (2565) อย่างไรก็ดี สคต. พิจารณาเห็นว่า โอกาสในการส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยยังมีโอกาสอีกมาก เนื่องด้วยประเด็นต่างดังนี้
ประการที่ 1 ยูกานดามีการนำเข้าสินค้าประเภทนี้ ถึงกว่า 2,200 ล้านบาทต่อปี โดยมีแหล่งนำเข้าสำคัญ คือ เคนยา จีน อิตาลี แอฟริกาใต้ อิตาลี ตามลำดับ น่าจะมีช่องว่างให้ไทยเข้ามาทำตลาดได้ ปัจจุบันไทยเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 13 มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 0.7% นอกจากนั้น สถิติการส่งออกของไทยในช่วงปี 2562-2565 นั้น มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงถึง 11% และในปี 2566 มีอัตราสูงกว่า +142.11% ทำให้ สคต. มองว่ายังมีโอกาสอีกมากในอนาคต
ประการที่ 2 ประเทศยูกานดา เป็นประเทศหนึ่งในแอฟริกาตะวันออกที่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างสูงในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยร้อยละ 6-8% ต่อปี โดยปี 2023 และ 2024 นั้น คาดการณ์ว่าจะขยายตัวกว่าร้อยละ 6-7% ทำให้น่าจะมีการขยายตัวในการนำเข้าสินค้าได้อีกมากในอนาคต นอกจากนั้น หากพิจารณา ขนาดของประชากรของประเทศที่มีกว่า 35 ล้านคนแล้ว หากพิจารณาว่า 10-20 เป็นคนที่มีรายได้สูงและปานกลาง ยูกานดาก็จะเป็นตลาดขนาดกว่า 5-8 ล้านคนในการส่งออกสินค้าได้
ประการที่ 3 ยูกานดาเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านผลิตผลทางการเกษตรและอาหาร เช่น กาแฟ มันสำปะหลัง นม เป็นต้น ทำให้มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นจำนวนมาก เช่น ถนอมอาหาร ส่งออก หรือ แปรรูป เป็นต้น อีกมากในอนาคต ซึ่ง สคต. เชื่อว่า ตลาดและความต้องการสินค้าประเภทนี้ น่าจะขยายตัวได้อัตราทีสูงตามไปด้วย
ประการที่ 4 ยูกานดาและแอฟริกาตะวันออกเป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีการตื่นตัวในด้านการพัฒนาสินค้ารักษ์โลก หรือ BCG จะเห็นได้จากการที่ ประเทศในแอฟริกาตะวันออก ได้ร่วมกับ Environment for Development (EfD) และ Gothenburg Center for Sustainable Development (GMV) ซึ่งเป็น NGO ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในแอฟริกาของกลุ่มทุนจากยุโรป กำลังดำเนินการช่วยประเทศในแอฟริกาให้พัฒนาเพื่อมุ่งไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว (IGE) ความคิดริเริ่มนี้มีเป้าหมายเพื่อจัดการกับความท้าทายที่ภูมิภาคกำลังเผชิญเกี่ยวกับมลพิษการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในแนวคิดที่ว่านี้ ทำให้ความต้องการวัสดุบรรจุภัณฑ์สีเขียวเพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนตลาดในอนาคต ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซลูชั่นบรรจุภัณฑ์กระดาษ ซึ่งได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในภาคอาหารและเครื่องดื่มทั้งในเคนยาและยูกานดา ทำให้สคต. เชื่อมั่นว่า ประเทศไทยที่มีเทคโลยีการผลิตที่แข่งขันได้น่าจะสามารถขยายตลาดในสินค้านี้ได้อีกมาก
ประการสุดท้าย สินค้าไทยมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพและความหลากหลายของสินค้า โดยความเชื่อที่ว่า ผู้บริโภคมีความยินดีจะจ่ายในสินค้าจากไทยที่ราคาที่สูงมากกว่าจีน แต่มีราคาย่อมเยากว่าสินค้าจากยุโรปหรือสหรัฐ เป็นต้น ทำให้ผู้ส่งออกไทยควรใช้โอกาสที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในสินค้าของไทยเช่นนี้ เป็นโอกาสในการทำตลาดในช่วง 5-10 ปีต่อจากนี้ โดยเร็วต่อไป
สภาพตลาดกระดาษและบรรจุภัณฑ์โดยทั่วไป
ยูกันดานำเข้ากระดาษและกระดาษแข็ง สิ่งของจากเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาน อยู่ที่ 105.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,000 ล้านบาทในปี 2565 ตามฐานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของ COMTRADE แห่งสหประชาชาติ
โดยมีการคาดการณ์ว่า การนำเข้ากระดาษไปยังยูกันดาจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5% ในช่วง 5 ปีจากนี้ (2023-2028) นอกจากนั้น Uganda Investment Authority (UIA) ยังได้อนุญาตอุตสาหกรรมอย่างน้อย 10 แห่ง ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์กระดาษ ในปี 2023 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่ผู้ผลิตและประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตโพลีเอทิลีนหรือพลาสติกหลายแห่งที่เปลี่ยนเป้าหมายเพื่อเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษตามกระแสการลดใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ในอนาคตตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น
โดยทั่วไป ประเภทของกระดาษที่ผลิตโดยโรงงานในแอฟริกามีตั้งแต่ กระดาษทิชชู่ แผ่นกระดาน ร่องและกระดาษซับ ไปจนถึงงานเขียนและงานพิมพ์และกระดาษหนังสือพิมพ์ ประเทศซึ่งเป็นผู้ผลิตกระดาษรายใหญ่ของแอฟริกา เช่น แอลจีเรีย อียิปต์ เคนยา โมร็อกโก ไนจีเรีย ตูนิเซีย แทนซาเนีย และแอฟริกาใต้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการมีมากกว่าปริมาณที่ผลิตได้ และเกือบครึ่งหนึ่งของทวีปไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษรวมถึงวัตถุดิบจากต่างประเทศ
ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก มีการสร้างโรงงานกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในเอธิโอเปีย จากข้อตกลงที่ลงนามระหว่าง Yekatit Pulp and Paper และ China Engineering Corporation (CEC) ทำให้มีการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ 70,000 ตันและกระดาษทิชชู่ 15,000 ตันต่อปี
กฎระเบียบการนำเข้าสินค้า อัตราภาษีและค่าใช้จ่ายต่างๆ
- ภาษีนำเข้าร้อยละ 16.8% (จากราคา CIF)
- ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 18 (จากราคา CIF)
- การตรวจสอบเอกสารมาตรฐานสินค้าก่อนการส่งออก เรียกว่า Pre-Export Verification of Conformity (PVoC) ซึ่งเป็นเอกสารที่ต้องยื่นต่อกับหน่วยงานด้านมาตรฐานของยูกานดา Uganda National Bureau of Standards (UNBS) ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าว จะต้องได้รับการรับรองและตรวจสอบจากตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งในประเทศนั้นๆจากรัฐบาลเคนยา สำหรับไทยคือ บริษัท SGS (ประเทศไทย) โดยเมื่อบริษัทได้ตรวจสอบตามกระบวนการแล้ว จะออกเอกสารรับรองที่เรียกว่า Certificate of Conformity (COC) or Certificate of Inspection (COI) เพื่อรับรองว่า สินค้านี้มีมาตรฐานตามที่หน่วยงานด้านมาตรฐานให้การรับรองไว้แล้ว โดยการตรวจสอบในกระบวนการข้างต้น ต้องทำในทุก Shipment
สถานการณ์และแนวโน้มการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (เฉพาะสินค้ากระดาษ)
Product: HS 48 Paper and paperboard; articles of paper pulp, of paper or of paperboard
Value imported in 2022 (USD thousand) | Share in Uganda’s imports (%) | Growth in imported value between 2018-2022 (%, p.a.) | Growth in imported value between 2021-2022 (%, p.a.) | Ranking of partner countries in world exports | Share of partner countries in world exports (%) | Total exports growth in value of partner countries between 2018-2022 (%, p.a.) | Average tariff (estimated) applied by Uganda (%) | |
Total | 67,874 | 100 | -2 | 15 | 100 | 5 | ||
Kenya | 17,894 | 26.4 | -8 | 26 | 72 | 0.04 | 4 | 0 |
China | 10,752 | 15.8 | 31 | 65 | 1 | 15.3 | 11 | 16.8 |
Italy | 5,854 | 8.6 | 31 | 445 | 4 | 4.9 | 7 | 16.8 |
South Africa | 5,337 | 7.9 | -23 | 7 | 39 | 0.3 | -2 | 16.8 |
Netherlands | 4,896 | 7.2 | 41 | -39 | 10 | 3.2 | 6 | 16.8 |
Sweden | 4,448 | 6.6 | 35 | -25 | 5 | 4.8 | 3 | 16.8 |
Poland | 3,814 | 5.6 | 48 | 67 | 9 | 3.4 | 8 | 16.8 |
Finland | 2,588 | 3.8 | 14 | 4 | 7 | 3.9 | -3 | 16.8 |
Belgium | 2,477 | 3.6 | 36 | -21 | 11 | 2.7 | 6 | 16.8 |
Egypt | 1,978 | 2.9 | -27 | 29 | 47 | 0.2 | 9 | 0 |
Germany | 1,949 | 2.9 | -17 | 136 | 2 | 12.1 | 4 | 16.8 |
Spain | 1,770 | 2.6 | -19 | -49 | 13 | 2.7 | 8 | 16.8 |
Thailand | 945 | 1.4 | 6 | 35 | 28 | 0.7 | -2 | 16.8 |
Portugal | 814 | 1.2 | 1 | 154 | 16 | 1.5 | 5 | 16.8 |
มูลค่า (USD ; เหรียญสหรัฐฯ)
วิเคราะห์ SWOT สินค้ากระดาษและบรรจุภัณฑ์ในแอฟริกาตะวันออก
จุดแข็ง
1. ผู้บริโภคให้ความเชื่อถือในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย 2. มีรูปแบบสินค้าที่ดี ราคาไม่แพง 3. มีความหลากหลายของสินค้า 4. มีราคาไม่แพงหากเทียบกับสินค้าจากยุโรปหรือสหรัฐฯ 5. มีชื่อเสียงในสินค้ากระดาษ A4 ของ DoubleA |
จุดอ่อน
1. สินค้าไทยยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้นำเข้ามากนัก 2. ความยืดหยุ่นในการชำระเงินน้อย หากนำเข้าโดยตรงไม่ผ่านบริษัท Trading ใน UAE หรือ แอฟริกาใต้ 3. ไม่สามารถจัดส่งสินค้าในปริมาณน้อยและหลากหลายชนิดได้ เนืองจากเป็นผู้ผลิตรายเล็ก 4. ผู้ส่งออกยังมีความเข้าใจและเชื่อถือผู้นำเข้าในแอฟริกาน้อย 5. มีความสนใจในการทำตลาดน้อย เนื่องจากตลาดมีขนาดเล็กและมีกำลังซื้อไม่มากนักหากเปรียบเทียบกับตลาดอื่น |
โอกาส
1. มีอัตราการขยายตัวในการส่งออกต่อเนื่อง 3 ปีในอัตรา 10-12% 2. กระแสบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ทำให้ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ 3. มีการลงทุนของผู้ประกอบด้านบรรจุภัณฑ์หลายรายในช่วง 1-2 ปี ทำให้อุตสาหกรรมจะขยายตัวอีกมาก 4. ผู้บริโภคมีความเชื่อถือและมั่นใจในสินค้าจากไทยมากกว่าสินค้าจากจีน และยินดีจะจ่ายมากกว่าได้ |
ความเสี่ยง/ข้อระวัง
1. ขนาดตลาดยังมีมูลค่าไม่สูง ความน่าสนใจไม่มากนัก 2. ความเชื่อถือด้านการชำระเงินของผู้นำเข้า ต้องมีการตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทำธุรกรรม 3. ผู้นำเข้าให้ความสำคัญกับราคาสินค้าค่อนข้างมาก เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่มาก ทำให้การแข่งขันด้านราคามีอยู่สูง |
รายชื่อผู้นำเข้า
Company | Contact details | ||
1. | Crane Paper Bags Ltd | P.O BOX 3335, Bweyogerere Kakajjo, Uganda phone. +256 393-333379 | aniket@cranepaperbags.com
|
2. | Prime Concepts Packaging Ltd | 86 Mutunda Nkwakwa Road, Bbuto, Bweyogerere,
P.O.Box 29311, Kampala, Uganda Phone: +256 787 021110 |
info@primeconcepts.co.ug
|
3. | East African packaging solutions ltd | Address: Plot No. 3
New Kampala Road, Uganda Phones: +256 414 450 069 |
marketing@eapsl.com
exports@eapsl.com; sales@eapsl.com
|
4. | Modern Laminates Ltd | P.O. Box 1490, Jinja, Uganda, Block 295, Plot 293, Jinja Kampala Road, Uganda, Central, Jinja
Phones: +256 750 165 867,+256 701 237 595 |
sales@modernpaper.co.ug
|
5. | Crown Papers EA Ltd | Plot 8/10,Uganda House,
Nkrumah Road +256 759 527 788, +256 709 562 171 |
crownpapersea@gmail.com
|
6. | Horizon Lines ltd | Horizon Lines Ltd,
Plot 29A Nasser Road, P.O. Box 30872 Kampala, Uganda, Tel: +256 (0)414 254 402 Phone: +256 (0)772 507 857 +256 (0)772 523 501 |
horizonlines@mtninternet.co.ug
|
7. | Jenvisen Packing (U) Limited | Plot 27-31, Luzira,
Kampala, Uganda Phone: +256 702 110484 |
jenvisen@yahoo.com
|
8. | Riley Packaging (U) Ltd | P.O.Box 817, Mukono District
Mukono, Uganda Tel: +256 312 266200 +256 392 745394 +256 755 666200 | +256 752 287902 |
E: csm@riley.co.ug
|
9. | Statpack (U) Limited | 140 6th Street Industrial Area,
P.O.Box 21039 Seventh St, Kampala, Uganda Phone: +256 41 4232298 |
E: enquiry@statpack.co.ug
|
ความเห็นของ สคต.
สคต. เห็นว่า แม้ตลาดของสินค้าดังกล่าวอาจมีขนาดตลาดที่ยังไม่สูงมากนัก หากเปรียบเทียบกับตลาดในประเทศอื่นๆ เช่น เอเชีย ยุโรป ญี่ปุ่น หรือ สหรัฐฯ แต่หากมองในระยะยาวในช่วง 5-10 ปีต่อจากนี้ ขนาดตลาดในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก คาดการณ์จะมีคนชั้นกลางที่มีกำลังชื้อมีจำนวนมากถึง 100-150 ล้านคน ในอีก 5 ปีข้างหน้าโดยในกลุ่มนี้ เป็นผู้มีรายได้สูงกว่า 50 ล้านคน ซึ่งยังมีความน่าสนใจที่ผู้ส่งออกไทยจะขยายการค้ามาในช่วงนี้ เพราะการแข่งขันยังมีคู่แข่งไม่มากนัก นอกจากนั้น แม้จะมีความแข่งขันที่สูงในด้านราคา แต่หากสินค้ามีมาตรฐานหรือความน่าสนใจแล้ว หากมีราคาที่เหมาะสมไม่แพงมากนัก หากเปรียบเทียบกับสินค้าจากยุโรปแล้ว ผู้บริโภคที่มีความสามารถในการชื้อสินค้าได้ ก็จะไม่ลังเลที่จะซื้อสินค้าเหล่านั้นต่อไป
อย่างไรก็ดี ความน่าเชื่อถือของผู้นำเข้าหรือ คู่ค้าที่ผู้ส่งออกไทยจะทำการค้าด้วย ควรทำการค้าแบบระมัดระวังมากกว่าปกติ หรือ ควรได้มีการตรวจสอบกับหน่วยงานของไทย (ในกรณีนี้คือ สคต.) เพื่อปกป้องการฉ้อโกงหรือหลอกลวงที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากในแอฟริกา ทั้งนี้ ปัจจุบัน สคต.ได้พบว่า ผู้นำเข้าหลายรายได้ใช้วิธีการชำระเงินผ่านระบบธนาคาร เช่น L/C มากขึ้น เนื่องจากความน่าเชื่อถือของธนาคารในแอฟริกาทั้งหมดมีความปลอดภัยมาก
ขึ้นในปัจจุบัน โดยมีความปลอดภัยกว่าการขำระเงินด้วยการโอนเงิน (หรือ T/T) ซึ่งผู้ส่งออกควรให้ความสนใจที่จะเสนอเงื่อนไขการชำระเงินตามสมควรในช่วงนี้
ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)