หน้าแรกTrade insightกุ้งขาวแวนนาไม > แผนปฏิบัติการด้านกุ้งทะเล ปี 2566 ครั้งที่ 1/2566

แผนปฏิบัติการด้านกุ้งทะเล ปี 2566 ครั้งที่ 1/2566

วันที่ 9 มกราคม 2566 สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย โดยดร.ผณิศวร ชำนาญเวช (นายกสมาคมฯ), คุณเสาวนีย์ คำแฝง(ผู้อำนวยการสมาคมฯ) และคุณวาสนา ตรังใจจริง (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ) เข้าร่วมคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านกุ้งทะเล ปี 2566 ครั้งที่ 1/2566 ผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings โดยมีนายประพันธ์ ลีปายะคุณ(รองอธิบดีกรมประมง) เป็นประธาน สรุปสำคัญ ดังนี้
1. รับทราบคำสั่งคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเล และผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) ครั้งที่ 6/2565 มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้ง คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านกุ้งทะเล ปี 2566 โดยมีนายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมงเป็นประธาน พร้อมหน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีอำนาจหน้าที่ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการผลิต และตลาดกุ้งของไทย รวมถึง รับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านกุ้งทะเล ให้สอดคล้องตามนโยบายของเกษตร

2. ที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง คณะทำงานย่อย 3 คณะได้แก่ คณะทำงานคัดเลือกสายพันธุ์, คณะทำงานถอดบทเรียน และคณะแก้ไขปัญหาโรคกุ้งในระดับพื้นที่
3. กรมประมงนำเสนอจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค(SWOT) อุตสาหกรรมกุ้งไทย รวมถึงร่างแผนปฏิบัติการกุ้งทะเล ปี 2566 ผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณา และมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอ ดังนี้
3.1 ที่ประชุมเห็นด้วยกับเป้าหมาย 400,000 ตัน แบ่งเป็นกุ้งขาว 370,000 ตัน กุ้งกุลาดำ 25,000 ตัน (ส่งออก20,000 ตัน บริโภคในประเทศ 5,000 ตัน) สำหรับตลาดกุ้งกุลาดำ ตั้งเป้าส่งออก 20,000 ตัน ตลาดค่อนข้างชัดเจน แบ่งเป็น กุ้งเป็นส่งจีน 10,000 ตัน, กุ้งต้ม 10,000 ตัน (สีไม่ต่ำกว่า 29)
3.2 SWOT บางข้อจำเป็นต้องเปลี่ยนให้สอดคล้องกับปัจจุบัน เนื่องจากประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม อินเดีย ที่มีการพัฒนาด้านการเลี้ยงและการแปรรูปสินค้ามากขึ้น
3.3 กิจกรรมตามแผนปฎิบัติการกุ้ง จำเป็นต้องใช้งบประมาณ ในการแก้ไขปัญหา/ ปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้ได้ผลผลิตกุ้ง ตามเป้าหมายที่วางไว้
3.4 ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการผลิตสินค้าสำหรับส่งออก หากไทยมีวัตถุดิบเพียงพอและส่งออกต่อเนื่อง ลูกค้าจะเข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ผลิต ซึ่งจะนำนวัตกรรมใหม่ หรือให้ความรู้ และทักษะใหม่ๆ(know-how) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ราคาสินค้ายังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ดังนั้น หากมีแนวทางหรือสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ โรงงานก็สามารถทำราคาขายได้

ทั้งนี้ เป้าหมายผลผลิตกุ้ง 4 แสนตัน ผู้ส่งออกยังมี capacity ในการผลิตได้ หากผลผลิตเกินต้องแจ้งโรงงานทราบ เพื่อเตรียมความพร้อม และหาตลาดเพิ่ม ปัจจุบันหากสามารถผลิตกุ้งได้ 4 แสนตัน ก็เพียงพอต่อการส่งออก และบริโภคภายในประเทศ
3.5 ตัวเลขการส่งออก และนำเข้ากุ้ง ปัจจุบันข้อมูลยังไม่ตรงกัน เนื่องจากข้อมูลมาจากหลายแหล่ง ทำให้ข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้น ขอให้ข้อมูลมาจากแหล่งเดียว เช่น กรมศุลกากร เพื่อความถูกต้องของข้อมูล
3.6 กรมประมง ได้พัฒนาปรับปรุงระบบการออกใบกำกับซื้อขายสัตว์น้ำ (APD) เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น และมีข้อมูลครบถ้วน ทั้งนี้ เกษตรกรไม่อยากเข้าในระบบ เนื่องจากกังวลการเสียภาษี
3.7 ผลักดันให้โรงเพาะฟัก (Hatchery) เข้าสู่ระบบ whitelist hatchery มากขึ้น พร้อมกับอบรมให้ความรู้ด้านการคัดเลือกลูกพันธุ์คุณภาพ
3.8 ส่งเสริมระบบการเลี้ยงกุ้งให้สอดคล้องกับ BCG model และ carbon footprint รวมถึงรณรงค์ปลูกป่าในฟาร์มกุ้ง
3.9 ลดต้นทุน โดยใช้จุลินทรีย์แทนสารเคมีในการเตรียมบ่อ
3.10 จัดตั้งศูนย์อบรมแรงงานไทย ทดแทนการขาดแคลนแรงงาน
3.11 ขยายพื้นที่การเลี้ยงกุ้ง ในเขตพื้นที่ดินเค็มภาคอีสาน เพื่อให้ได้ผลผลิต 4 แสนตัน
3.12 ขอให้กรมประมงแก้ไขระเบียบการออกใบอนุญาตส่งออก(ไทย-จีน) ให้กับผู้ส่งออกขนาดเล็ก-กลาง ให้ส่งออกได้สะดวกขึ้น รวมถึง ควบคุมการขึ้นทะเบียน packing house
3.13 การลดการตรวจโรคในกุ้ง ควรทำการศึกษาทางระบาดวิทยา ในพื้นที่เลี้ยงที่ไม่เคยพบโรค หากมีข้อมูลวิชาการรองรับ สามารถลดการตรวจโรค ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกร และโรงงาน ปัจจุบันกรมประมงมีแผนเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคสัตว์น้ำและเชื้อดื้อยา (Manual of Diseases Surveillance) ให้กับเกษตรกรประจำปี
4. มีแผนการอบรมเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เรื่อง การตรวจประเมินคุณภาพลูกกุ้ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจตรงกัน
5. กรมประมงจะแก้ไข SWOT และร่างแผนปฏิบัติการกุ้ง ตามข้อเสนอของคณะทำงาน ฯ และจะนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเล (Shrimp Board) ต่อไป

ที่มา : สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย

Login