หน้าแรกTrade insight > เศรษฐกิจจีนเดือนพฤษภาคม ปี 2566

เศรษฐกิจจีนเดือนพฤษภาคม ปี 2566

ที่มาภาพ: http://www.news.cn/fortune/2023-06/09/c_1129681212.htm

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics of China) ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับราคาการบริโภคและการผลิตของชาวจีนในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานแห่งชาติ (National Core Consumer Price Index) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่จะลดลดร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ในเดือนก่อนกลับลดราคาลงมาร้อยละ 3.2

Daily Economic News (每日经济新闻) รายงานว่าหลังจากที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง ในเดือนเมษายน 2566 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และขยายตัวอีกเล็กน้อยในเดือนพฤษภาคม

นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคมตลาดโดยทั่วไปมีเสถียรภาพ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศโดยรวมมีแนวโน้มลดลง ความต้องการของตลาดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศลดน้อยลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ในระดับสูง ทางด้านดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index: PPI) ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งการเปรียบเทียบแบบเดือนต่อเดือน และปีต่อปี ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) นั้นลดลงร้อยละ 4.6 จากมุมมองแบบปีต่อปี และลดลงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลงร้อยละ 0.9 และลดลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า

Dong Lijuan หัวหน้านักสถิติแผนกเมืองของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนกล่าวว่าในเดือนพฤษภาคม ความต้องการของผู้บริโภคฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ตลาดโดยส่วนใหญ่มีเสถียรภาพ และดัชนีดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงเมื่อเทียบแบบเดือนต่อเดือน แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบแบบปีต่อปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนพฤษภาคม 2566 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หากพิจารณาราคาโดยแบ่งตามพื้นที่ ราคาในเขตเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และราคาในเขตชนบทเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในส่วนของราคาสินค้าและบริการ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 0.3 และราคาบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9

เมื่อแบ่งตามประเภทสินค้าที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร ราคาอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และราคาของสินค้านอกเหนือจากอาหารยังคงเท่าเดิม ในส่วนของราคาสินค้าประเภทอาหาร ราคาผลไม้สดเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ราคาธัญพืชเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ราคาผักสดลดลงร้อยละ 1.7 ราคาไข่ลดลงร้อยละ 1.5 และราคาเนื้อสัตว์ปศุสัตว์ลดลงร้อยละ 1 โดยราคาเนื้อหมูเปลี่ยนจากเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เป็นลดลงร้อยละ 3.2 ในเดือนนี้

จากการคาดการณ์ ในการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับพฤษภาคม ปีที่แล้ว ผลกระทบต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงราคาในปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.5 ซึ่งเปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ 0.3 ในเดือนที่แล้ว และผลกระทบของการปรับขึ้นราคาใหม่คือติดลบประมาณร้อยละ 0.3 ซึ่งเดือนก่อนหน้าติดลบร้อยละ 0.2 ราคาผู้บริโภคหลักที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบแบบปีต่อปี แต่ะลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า

คาดว่าไตรมาสที่สองเป็นช่วงนอกฤดูกาลสำหรับการบริโภคเนื้อหมู มีความต้องการบริโภคจำกัดและมีอุปทานเพียงพอ และราคาของเนื้อหมูยังคงอยู่ในระดับถูก อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีแม่หมูผสมพันธุ์ได้ลดลงและอุปทานของหมูมีชีวิตจะลดลงหลังจากไตรมาส 2 ถึง ไตรมาส 3 และประกอบกับจะมีวันหยุดมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี จะทำให้อุปสงค์เนื้อหมูเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าราคาหมูจะอยู่ในช่วงขาลงในไตรมาส 3 Zhou Maohua นักวิเคราะห์จากฝ่ายตลาดการเงินของ China Everbright Bank (光大银行) กล่าวว่าจากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังเมื่อเทียบรายเดือน ราคาหมูที่ลดลงนั้นค่อนข้างน้อย และราคาเนื้อหมูอาจทรงตัวหรืออาจสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ในเดือนพฤษภาคมราคาสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศโดยรวมลดลง และความต้องการของตลาดสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศโดยทั่วไปลดน้อยลง นอกจากฐานเปรียบเทียบที่ค่อนข้างสูงในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว PPI ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งแบบเทียบเดือนต่อเดือนและเทียบปีต่อปีดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index: PPI) เมื่อเทียบแบบเดือนต่อเดือนนั้นลดลงร้อยละ 4.6 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ราคาปัจจัยการผลิตลดลงร้อยละ 5.9 และราคาปัจจัยการดำรงชีวิตเปลี่ยนจาก
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนเมษายนเป็นลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือนพฤษภาคม

จากการสำรวจภาคอุตสาหกรรมหลัก 40 ประเภท มี 26 ประเภทที่ราคาลดลง ซึ่งเพิ่มขึ้น 3 ประเภทจากเดือนก่อนหน้า ในบรรดาอุตสาหกรรมหลัก ราคาการสกัดน้ำมันและก๊าซธรร มชาติลดลงร้อยละ 19.1 ราคาของการถลุงและการรีดโลหะเหล็กลดลงร้อยละ 16.8 และราคาน้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน และเชื้อเพลิงอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 15.1 และราคารถยนต์ภาคการผลิตลดลงร้อยละ 1.1

จากการประมาณการ คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเทียบเป็นรายปีลดลงร้อยละ 4.6 ผลกระทบต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงราคาในปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณติดลบร้อยละ 2.8 และติดลบร้อยละ 2.6 ในเดือนที่แล้ว

Zhou Maohua เชื่อว่าการลดลงของดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เมื่อเทียบเป็นปีต่อปีและเดือนต่อเดือนบ่งชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ แต่หากมองเจาะลึกลงไป ราคาของวัสดุพลังงานต้นน้ำและราคาแปรรูปกลางน้ำบางส่วนลดลงอย่างมาก ซึ่งจะช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมการผลิตกลางน้ำและปลายน้ำบางประเภทและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้ดีขึ้น และจากมุมมองของค่าเฉลี่ย 2 ปีดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในประเทศจีนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบแบบปีต่อปี และต้นทุนการผลิตขององค์กรยังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ
กับปีที่การผลิตปกติ

ข้อคิดเห็นของสคต.เซี่ยงไฮ้
ตลาดจีนในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากข้อมูลเดือนพฤษภาคม ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) มีแนวโน้มลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนทางด้านการผลิตสินค้าในประเทศจีนมีแนวโน้มที่ลดลง ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาสูงขึ้น หากผู้ประกอบการไทยต้องการเปิดตลาดในประเทศจีนควรศึกษารายละเอียดโดยเฉพาะในพื้นที่เป้าหมาย คำนวณต้นทุน กลุ่มเป้าหมาย และพิจารณาในการตีตลาดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุนหรือดำเนินการค้าต่อไป

________________________________________________________________________________
จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้
วันที่ 16 มิถุนายน 2566

https://www.globaltimes.cn/page/202306/1292285.shtml
https://news.sina.com.cn/c/2023-06-12/doc-imywycmv6175513.shtml
http://www.news.cn/fortune/2023-06/09/c_1129681212.htm

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login