หน้าแรกTrade insightการค้าระหว่างประเทศ > เยอรมนีพร้อมปรับกฎหมายห่วงโซ่อุปทานตามสหภาพยุโรป

เยอรมนีพร้อมปรับกฎหมายห่วงโซ่อุปทานตามสหภาพยุโรป

รัฐสภาเยอรมันได้หารือเกี่ยวกับประเด็นเรื่องพระราชบัญญัติห่วงโซ่อุปทาน (Lieferkettengesetz) ด้วยเหตุนี้พรรค CDU/CSU จึงได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อผ่อนปรนกฎหมายว่าด้วยการตรวจสอบตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตของธุรกิจเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานสิ่งแวดล้อม

แกนนำของรัฐบาลกลางได้ตัดสินใจที่จะปรับแก้พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องห่วงโซ่อุปทาน และให้มีผลบังคับใช้ในช้วงต้นปี 2568 โดยนาย Christian Lindner รัฐมนตรีกระทรวงการคลังได้กล่าวไว้ในช่วงที่มีการอภิปรายเรื่องงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลกลางประจำปี 2568 ว่า “มีบริษัทเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายห่วงโซ่อุปทานของเยอรมนีได้” อย่างไรก็ตาม นักการเมืองจากพรรค Green บางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อประเด็นดังกล่าว

พระราชบัญญัติห่วงโซ่อุปทานของเยอรมนีมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 โดยบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในเยอรมนีที่มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าซัพพลายเออร์ของตนทั่วโลกนั้นไม่ได้ดำเนินการที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้แรงงานเด็ก หรือการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างและมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เช่น การดำเนินการที่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม การทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่อย่างสมาพันธ์อุตสาหกรรมเยอรมัน (Bundesverband der Deutschen Industrie) และนักการเมืองหลายรายทั้งจากพรรค CDU/CSU และพรรค FDP พยายามที่จะเสนอปรับแก้กฎหมายนี้รวมถึงนโยบายการตรวจสอบย้อนกลับห่วงโซ่อุปทานของสหภาพยุโรปเป็นเวลาหลายปีแล้ว
ข้อตกลงร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาลในปัจจุบันได้กำหนดให้นโยบายของสหภาพยุโรปถูกแปลงเป็นกฎหมายเยอรมัน ซึ่งจะเป็นการผ่อนปรนกฎหมายห่วงโซ่อุปทานในท้องถิ่นชั่วคราว

มีบริษัท 1 ใน 3 ที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดที่กำลังจะปรับ

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ภายใต้กฎหมายห่วงโซ่อุปทานฉบับใหม่ที่รัฐบาลเยอรมันกำลังจะปรับ เฉพาะบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 5,000 คนเท่านั้นที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายห่วงโซ่อุปทาน และตั้งแต่ปี 2571 ข้อจำกัดนี้จะถูกปรับลดลงเหลือ 3,000 คน และจะเหลือ 1,000 คนในปี 2572 ตามลำดับ ถึงแม้ข้อกำหนดใหม่ของกฎหมายห่วงโซ่อุปทานในเยอรมนีจะถูกปรับให้ผ่อนปรนมากขึ้น แต่มีบริษัทเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่สามารถปฎิบัติตามหรือได้รับผลกระทบจากกฎหมายใหม่ของเยอรมนี นอกจากจำนวนพนักงานที่มากกว่า 1,000 คนแล้วภายใต้นโยบายห่วงโซ่อุปทานของยุโรป (CSDDD) บริษัทยังต้องมีรายได้สุทธิต่อปีมากกว่า 450 ล้านยูโร นโยบายห่วงโซ่อุปทานของยุโรป (CSDDD) จะต้องถูกนำมาใช้ในกฎหมายระดับชาติภายในสองปีหลังจากมีผลใช้บังคับ อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะลดจำนวนบริษัทที่ยังคงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของเยอรมนีได้อย่างไร เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางไว้

นอกเหนือจากเรื่องความพยายามของพรรคร่วมรัฐบาลกลางที่ต้องการปรับแก้กฎหมายห่วงโซ่อุปทานแล้ว สิ่งที่น่าจับต่อมองอีกประการคือ ความคิดเห็นของรัฐสภาที่มีต่อประเด็นนี้ โดยรัฐบาลกลางไม่สามารถที่จะบรรลุจุดยืนให้เป็นเอกภาพได้ เนื่องจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันภายในรัฐสภา ซึ่งความคิดเห็นนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งคือ พรรค CDU/CSU และพรรค SPD เห็นด้วยกับการยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ แต่อีกฝั่งคือ พรรค Green ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ กลุ่มเสรีนิยมเกรงว่าบริษัทต่างๆ จะทยอยถอนตัวออกจากยุโรปเนื่องจากหวั่นเกรงต่อระบบราชการที่ยุ่งยากซับซ้อน และมีความเสี่ยงทางกฎหมาย ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนี้นำไปสู่การอภิปรายความเห็นอย่างเปิดเผยภายในพรรคร่วมรัฐบาล ขณะนี้การตัดสินใจของแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลกำลังถูกต่อต้านจากกลุ่มพรรค Green บางส่วน

นอกจากนี้ กลุ่ม Initiative Lieferkettengesetz (Supply Chain Law Initiative) ซึ่งเป็นสมาคมของกลุ่มสิทธิพลเมือง องค์กรการพัฒนา และสหภาพแรงงาน กล่าวว่า “เราวิจารณ์ข้อจำกัดของกฎหมายเยอรมันที่แจ้งว่ามีบริษัทเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบนี้”

ไม่มีภาระผูกพันด้านเอกสารในปีนี้

เมื่อเทียบกับกฎหมายปัจจุบันแล้วเพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาให้กับบริษัทต่างๆ รัฐบาลจึงวางแผนที่ชะลอภาระผูกพันด้านการตรวจสอบเอกสารชั่วคราว บริษัทต่างๆ ยังไม่ต้องส่งรายงานที่เกี่ยวข้องกับวิธีการบังคับใช้พระราชบัญญัติห่วงโซ่อุปทานอีกตลอดทั้งปีนี้ สำนักงานเศรษฐกิจกลางอาจพบว่าการตรวจสอบและติดตามกิจกรรมทำได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปี 2568 พันธกรณีในการรายงานของกฎหมายของเยอรมนีจะไม่มีผลใช้อีกต่อไป แต่จะบังคับใช้กับ European Directive on Sustainability Reporting (CSRD)

อย่างไรก็ตาม มีข้อวิจารณ์ว่าแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะบรรเทาปัญหาให้กับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ถึงแม้กลุ่มบริษัทเหล่านี้จะมีจำนวนพนักงานที่น้อยกว่า และเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ลูกค้ารายใหญ่ผลักภาระผูกพันในการตรวจสอบสถานะไปยังซัพพลายเออร์รายเล็ก ทั้งนี้ รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องยุติเรื่องนี้

ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติจากพรรค CDU/CSU

พรรค CDU/CSU เรียกร้องให้ยกเลิกพระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อห่วงโซ่อุปทานของเยอรมนี (Lieferkettensorgfaltspflichtengesetz) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566 โดยทันที ภายใต้กฎหมายนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 สำหรับบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 3,000 คน และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 สำหรับบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป โดยกำหนดให้บริษัทต้องปฏิบัติตามความรับผิดชอบบางประการเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนหรือสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดหรือยุติความเสี่ยงเหล่านี้ กฎหมายนี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการปกป้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับความมั่นคงทางกฎหมาย และการปฏิบัติสำหรับบริษัทที่เกี่ยวข้อง ร่างกฎหมายระบุว่านโยบายห่วงโซ่อุปทานของยุโรป (CSDDD) ได้สร้างข้อกำหนดที่มีผลผูกพัน ซึ่งรัฐบาลกลางไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกินกว่าข้อกำหนดของเยอรมนี คำสั่งว่าด้วยการตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่อุปทานของยุโรป (Corporate Sustainability Due Diligence : CSDDD) บังคับให้บริษัทต้องปฏิบัติตามมาตรฐานตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ บริษัทจะต้องจัดทำรายงานที่มั่นใจได้ว่ารูปแบบธุรกิจและกลยุทธ์ของตนสอดคล้องกับข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ และหากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนบริษัทจะต้องถูกดำเนินคดีในศาลยุโรป

เตรียมความพร้อมบริษัทเพี่อรองรับนโยบายห่วงโซ่อุปทานของสหภาพยุโรป

บริษัทหลายแห่งแสดงความเห็นว่ายังเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลที่จะปฏิบัติตามภาระผูกพันจากพระราชบัญญัติการตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทานของเยอรมนี ซึ่งบางครั้งได้รับการควบคุมแตกต่างไปจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกันก็คาดหวังว่าบริษัทต่างๆ จะเตรียมความพร้อมสำหรับการบังคับใช้นโยบายห่วงโซ่อุปทานของสหภาพยุโรป สำหรับภาระเพิ่มเติมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นี้จะส่งผลให้เกิดความเสียเปรียบทางการแข่งขันอย่างไม่ยุติธรรมสำหรับบริษัทเยอรมันในสหภาพยุโรป

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเน้นย้ำว่า “เรื่องนี้ยิ่งเป็นความจริงมากขึ้น เนื่องจากจำนวนภาระหน้าที่การรายงานและข้อกำหนดของระบบราชการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเงื่อนไขการแข่งขันสำหรับบริษัทเยอรมันโดยรวมแย่ลง” สำนักงานเศรษฐกิจและการควบคุมการส่งออก (Bafa) ของรัฐบาลกลางและฝ่ายช่วยเหลือด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลกลางควรมุ่งไปที่การเตรียมบริษัทในเยอรมนีสำหรับพันธกรณีที่จะปฏิบัติตามสหภาพยุโรป เช่น การเปิดบริการให้คำแนะนำที่เหมาะสม เป็นต้น เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทขนาดกลางที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากข้อกำหนดทางกฎหมาย

ที่มา: Taz, Deutscher Bundestag, DW News

อ่านข่าวฉบับเต็ม : เยอรมนีพร้อมปรับกฎหมายห่วงโซ่อุปทานตามสหภาพยุโรป

Login