เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 พลเอกอาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีเมียนมา กล่าวในที่ประชุมการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานประธานสภาบริหารแห่งรัฐ ในกรุงเนปยีดอว่า โรงงานในประเทศต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจของประเทศเมียนมาเติบโตร้อยละ 3.2 ในปีงบประมาณ 2565-2566 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับการค้าและรายได้ตลอดจนทรัพยากรมนุษย์ด้วย GDP ของเมียนมาอยู่ในอันดับที่ 7-8 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ระดับการส่งออกด้านการเกษตรและปศุสัตว์ของประเทศในอาเซียนมีความแตกต่างจากเมียนมามาก
ประเทศ | GDP
(พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
ไทย | 536.16 |
มาเลเซีย | 407.923 |
เวียดนาม | 406.452 |
เมียนมา | 60 |
ภาคการเกษตรของเมียนมามีสัดส่วนไม่มากใน GDP ของประเทศ เมียนมาเพาะปลูกข้าวเปลือกมรสุม 14.9 ล้านเอเคอร์ในปี 2566 และมีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 13 ล้านเอเคอร์ ซึ่งในจำนวนนี้ พื้นที่การเกษตร 6.6 ล้านเอเคอร์เป็นการปลูกพืชแบบทวิกสิกรรม (Double Crops) และ 7.3 ล้านเอเคอร์เป็นการปลูกถั่ว ทานตะวัน มันสำปะหลัง หรือพืชอื่น ๆ หากพื้นที่เพาะปลูก 1 เอเคอร์สร้างผลผลิตมูลค่า 1 ล้านจ๊าต ประเทศจะได้รับผลิตภัณฑ์มูลค่า 7,300 พันล้านจ๊าต ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของภาคเกษตรใน GDP เพิ่มขึ้น
การปลูกพืชน้ำมันมีพื้นที่ 800,000 เอเคอร์ ซึ่งไม่รวมน้ำมันปาล์มในปีงบประมาณ 2565-2566 คาดว่าจะสามารถผลิตน้ำมันได้ 690,000 ตัน ในขณะที่การเพาะปลูกฝ้าย พืชสวนครัว กาแฟ ชา และงานเพาะพันธุ์ปศุสัตว์
ทั้งนี้ เมียนมาเผชิญกับการขาดดุลการค้ามากกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่างปี 2554 ถึง 2559 และ 12.61 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่างปี 2559-2564 รัฐบาลได้แก้ไขการใช้จ่ายเงินตราต่างประเทศโดยความช่วยเหลือและเงินกู้ระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลเมียนมาพยายามให้ประชาชนประหยัดการใช้จ่าย และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศแทนการนำเข้า โดยช่วยภาคการเกษตรโดยรัฐบาลจะนำเข้าปุ๋ยในปริมาณที่จำเป็นรวมถึงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยธรรมชาติและปุ๋ยชีวภาพในฟาร์มเกษตร
ในด้านไฟฟ้า โครงการผลิตไฟฟ้าถูกระงับและยกเลิกตามเงื่อนไขของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทำให้ประเทศมีไฟฟ้าใช้ไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญคือ ต้องจัดการกับการค้าที่ผิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อรายได้ของประเทศ รวมถึงสินค้าที่นำเข้าอย่างผิดกฎหมายผ่านทางชายแดน
********************************************
Global New Light of Myanmar
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
วันที่ 6 กรกฎาคม 2566
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)