รองอธิบดีกรมลิขสิทธิ์ กระทรวงพาณิชย์แห่งเมียนมา แถลงระหว่างการเรียนออนไลน์เกี่ยวกับสิทธิบัตรการออกแบบอุตสาหกรรมว่า การทำความเข้าใจกับกฎหมายทรัพย์สินด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของเมียนมาจะช่วยให้นักธุรกิจสามารถปกป้องผลงานสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์ของตนเองจากการถูกลอกเลียนแบบ ปลอมแปลง ซึ่งมีนักธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางประมาณ 90 รายจากภาคอิรวดีและรัฐฉานเข้าร่วมเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566
การออกแบบอุตสาหกรรม หมายถึง การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม หรือส่วนประกอบที่เกิดจากรูปลักษณ์และการตกแต่งของเส้น รูปทรง สี พื้นผิว สิ่งทอ ซึ่งการออกแบบในนี้ หมายถึง รูปทรงทั้งหมดที่มองกับตาได้และดึงดูดใจต่อผู้บริโภค เช่น รูปแบบเสื้อผ้าที่ออกแบบเอง การออกแบบอัญมณี เครื่องประดับ นาฬิกา ยานพาหนะ การออกแบบภายในบ้าน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนสินค้าใดๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันได้ในตลาด ถือเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
นวัตกรรมในการออกแบบมีบทบาทสำคัญเนื่องจากลูกค้ามักจะตัดสินใจซื้อโดยพิจารณาจากรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลกำไรที่มากขึ้นสำหรับผู้ผลิตและบริษัทที่ลงทุนในการออกแบบอุตสาหกรรม
เมื่อการออกแบบทางอุตสาหกรรมได้รับการคุ้มครองแล้วจะป้องกันการคัดลอก เลียนแบบ และทำซ้ำในเชิงพาณิชย์ของการออกแบบ ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของการออกแบบหรือผู้ถือสิทธิ์ การคุ้มครองนี้ช่วยให้เจ้าของได้รับประโยชน์จากการออกแบบอุตสาหกรรมที่มีลิขสิทธิ์
การออกแบบทางอุตสาหกรรมสามารถป้องกันได้หากเป็นการออกแบบใหม่และสร้างขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัด โดยทั่วไป การคุ้มครองการออกแบบอุตสาหกรรมจะมีระยะเวลาห้าปีนับจากวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และสามารถขยายเวลาได้สองครั้ง ครั้งละห้าปี การคุ้มครองจำกัดอยู่ในประเทศที่จดทะเบียนเท่านั้น
กฎหมายทรัพย์สินด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับที่ 2 ในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2562 โดยสมัชชาแห่งสหภาพ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำกฎที่จำเป็นซึ่งกำหนดโดยกรมลิขสิทธิ์ภายใต้กระทรวงพาณิชย์แห่งเมียนมาเพื่อให้กฎหมายมีผลใช้บังคับ
********************************************
ที่มา:
Global New Light of Myanmar
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)