กรมทรัพย์สินทางปัญญาของเมียนมา ระบุว่ากฎหมายเครื่องหมายการค้าของประเทศเมียนมา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2566 โดยมีผู้ถือลิขสิทธิ์กว่า 50,000 รายได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามรายงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญารับคำขอจดทะเบียนทั้งทางออนไลน์และเดินทางมาจดทะเบียนที่กรมฯ และสามารถขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านหน่วยงานเครื่องหมายการค้าได้
กฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับนี้ประกาศใช้เพื่อปกป้องสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาและปกป้องเครื่องหมายทางความคิด นวัตกรรม ผลประโยชน์ และสิทธิ์ทางกฎหมายของนักลงทุนในประเทศและนอกประเทศ และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนและการพาณิชย์ เทคโนโลยี และความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการลงทุนและการค้ามากขึ้น โดยผู้ถือลิขสิทธิ์และเจ้าของเครื่องหมายมีสิทธิ์เพียงแค่ผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังสามารถช่วยยกระดับมูลค่าของแบรนด์และเจาะตลาดโลกได้อีกด้วย
ประเทศเมียนมายังส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลเมียนมาได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาภาคส่วนรถยนต์ไฟฟ้า โดยกรมการขนส่งทางบกของเมียนมาได้รับการขอจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) มากกว่า 3,200 คัน ที่มาจดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบกของเมียนมา ประกอบด้วยรถยนต์บรรทุกสินค้าขนาดเล็ก 2 คัน รถสองล้อ 2,474 คัน และรถสามล้อ 263 คัน นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายน 2566 มีการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs) จำนวน 467 คัน
ระหว่างปี 2565 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 สำนักงานเขตของกรมการขนส่งทางบกของเมียนมา ที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ ได้จดทะเบียนกลุ่มรถโดยสารไฟฟ้า ได้แก่ รถเก๋ง รถสเตชั่นแวกอน รถไมโครบัสที่จุผู้โดยสารได้มากกว่า 15 คน และรถตู้ขนาดเล็ก รถจี๊ป และรถดับเบิ้ลแค็บ รถปิกอัพจัดอยู่ในประเภทยานพาหนะบรรทุกสินค้าขนาดเล็ก รวมถึงรถตู้เดี่ยวแบบสแตนด์อัพที่สามารถบรรทุกได้ไม่เกินสามตัน และรถบรรทุก ทั้งนี้ เครื่องชาร์จ EV รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้ามาในประเทศได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร
********************************************
Global New Light of Myanmar
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
วันที่ 13 กรกฎาคม 2566
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)