หน้าแรกTrade insight > เจาะลึกอุตสาหกรรมดอกไม้มณฑลยูนนาน

เจาะลึกอุตสาหกรรมดอกไม้มณฑลยูนนาน

 

มณฑลยูนนานมีข้อได้เปรียบทางด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศ ทำให้เหมาะแก่       การเพาะปลูกและเจริญเติบโตของพืชพรรณต่าง ๆ ถือเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์       จนได้รับสมญานามว่า “อาณาจักรแห่งพันธุ์ไม้” ขณะเดียวกัน มณฑลยูนนานก็มีดอกไม้ให้ชื่นชมหลากหลายชนิด มีการพัฒนาอุตสาหกรรมดอกไม้เป็นระยะเวลามากกว่า 30 ปีแล้ว โดยยูนนานได้กลายเป็นหนึ่งมณฑลที่มีการผลิตและจำหน่ายดอกไม้ตัดดอกมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศจีนและทวีปเอเชีย ได้รับฉายาว่าเป็น “เมืองดอกไม้แห่งเอเชีย”

1.พื้นที่เพาะปลูก
มณฑลยูนนานมีการพัฒนาอุตสาหกรรมดอกไม้จนก้าวนำมณฑลอื่นๆ ในประเทศจีน จากข้อมูล
ของสมาคมดอกไม้จีน สหพันธ์อุตสาหกรรมดอกไม้มณฑลยูนนาน กรมวิชาการเกษตรและกิจการชนบท
แห่งมณฑลยูนนาน เผยว่า ในปี 2565 มณฑลยูนนานมีพื้นที่เพาะปลูกดอกไม้รวมทั้งสิ้น 808,300 ไร่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.04
นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ของมณฑลยูนนานกับพื้นที่เพาะปลูก
ดอกไม้ทั่วประเทศจีน พบว่า ในปี 2554 มณฑลยูนนานมีพื้นที่เพาะปลูกดอกไม้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
54.16 และมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2565 มณฑลยูนนานมีพื้นที่เพาะปลูกดอกไม้
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84.6 ซึ่งตั้งแต่ปี 2563 – 2565 มณฑลยูนนานมีสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูดดอกไม้
มากกว่าร้อยละ 80 มาติดต่อกัน 3 ปี

เนื่องจากมณฑลยูนนานมีสภาพทางภูมิศาสตร์และสภาพพื้นดินที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
ทำให้พื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ในมณฑลยูนนานถูกแบ่งออกได้ดังนี้

อย่างไรก็ตาม ยูนนานตะวันออกเฉียงเหนือ ยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือ และยูนนานตะวันออก
เฉียงใต้มีพื้นที่เหมาะสมในการแปรรูปดอกไม้ มณฑลยูนนานจึงมีเขตอุสาหกรรมดอกไม้ที่สำคัญครอบคลุม
16 เมืองใน ประกอบด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ ได้แก่ ดอกไม้เขตร้อน กึ่งเขตร้อน เขตอบอุ่น ดอกไม้เมือง
หนาวและดอกไม้อื่นๆ

2. ประเภทของดอกไม้
มณฑลยูนนานมีดอกไม้ที่หลากหลาย และมีความสมบูรณ์ทางด้านสายพันธุ์ ประเภทดอกไม้ที่
สำคัญของมณฑลยูนนาน ได้แก่ ดอกกุหลาบ คาเนชั่น ดอกลิลลี่ ดอกไลเซนทัส ดอกเยอบีร่า และดอก
ไฮเดรนเยีย เป็นต้น ในจำนวนนี้ ผลผลิตดอกกุหลาบคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของปริมาณการผลิต
ดอกไม้ทั้งหมดของมณฑลยูนนาน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของปริมาณการผลิตดอกกุหลาบทั่ว
ประเทศจีน อีกทั้งดอกคาเนชั่นของมณฑลยูนนานก็มีปริมาณการผลิตที่มากเช่นเดียวกัน คิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตดอกไม้ของมณฑลยูนนาน หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของ
ปริมาณการผลิตดอกคาเนชั่นทั่วประเทศจีน ส่วนดอกไม้ประเภทอื่นๆ มีปริมาณการผลิตคิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 20 นอกจากมณฑลยูนนานจะมีความโดดเด่นในด้านการผลิตไม้ตัดดอก ในขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่ง
แหล่งเพาะปลูกไม้กระถางและพืชอวบน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน

3.มูลค่าการนำเข้า – ส่งออก
สถานการณ์การนำเข้า – ส่งออกดอกไม้ระหว่างมณฑลยูนนาน – ทั่วโลก
จากสถิติ Global Trade Atlas การค้าดอกไม้ระหว ่างประเทศของมณฑลยูนนาน เดือนมกราคม –
กันยายน 2566 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 61.78ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 63.84แบ่งออกเป็น มูลค่าการส่งออก
52.99 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.94 และมูลค่าการนำเข้า 8.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.52
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

4.ตลาดสำคัญ (ตลาดโต่วหนาน)
ตลาดดอกไม้โต ่วหนานเป็นตลาดดอกไม้ระดับนานาชาติแห ่งเดียวของประเทศจีน และเป็น
ศูนย์การค้าดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศจีนและเอเชีย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดดอกไม้
โต่วหนานผลักดันการเพาะปลูกดอกไม้ครอบคลุมเกษตรกร 290,000 รายใน 38 อำเภอ รวมถึงดอกไม้
ของมณฑลยูนนานและประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าร้อยละ 80 ได้วางจำหน่ายอยู่ในตลาดแห่งนี้ ไม่เพียงแต่
ในแต่ละปีจะมีวางจำหน่ายดอกไม้ 117 ประเภท 1,600 กว่าสายพันธุ์ แต่ยังมีสินค้าอื่นๆ เช่น ดอกไม้สด
ดอกไม้แปรรูป ของตกแต ่งดอกไม้ ดอกไม้แห้ง น้ำมันหอมระเหย แจกันดอกไม้และอาหารที ่ทำจาก
ดอกไม้ นอกจากนี้ สินค้าเหล่านี้ยังมีการส่งออกไปยังต่างประเทศรวม 50 กว่าประเทศอีกด้วย
ตลาดดอกไม้โต ่วหนานให้บริการด้านดอกไม้ครบวงจร ประกอบด้วย 5 ศูนย์สำคัญ ได้แก่
ศูนย์การค้าดอกไม้ศูนย์โลจิสติกส์ศูนย์จัดแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ศูนย์ให้บริการทางการ
เงิน และศูนย์Big Data สินค้าดอกไม้เรียกได้ว่าา ตลาดดอกไม้โต่วหนานดูแลธุรกิจด้านดอกไม้ตั้งแต่
ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ ครอบคลุมเกษตกรทั้งหมด 80,000 ราย ทั้งนี้สินค้าดอกไม้ของมณฑลยูนนานที่วาง
จำหน่ายในตลาดแหล่งนี้ส่วนใหญ่มาจากแหล่งผลิตที่สำคัญ เช่น เมืองคุนหมิง ยวี่ซีฉู่ฉง หงเหอ และฉู่จิ้ง
เป็นต้น ตลาดดอกไม้โต่วหนานชื ่อมโยงและมีการส่งจำหน ่ายต ่อให้กับร้านค้าปลีกทั่วประเทศจีนกว่า
250,000 ร้าน ก่อให้เกิดห่วงโซ่อุตสาหกรรมดอกไม้ครบวงจร
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดดอกไม้โต่วหนานมีมูลค่าการค้าดอกไม้มากกว่า 10,000 ล้านหยวน
โดยจากข้อมูลพบว่า ในปี2565 มีปริมาณการค้าดอกไม้รวมทั้งสิ้น 11,036 ล้านดอก เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6
คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 12,147 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 สำหรับตัวเลขในปี2566 พบว่า ครึ่งปีแรกของ
ปี2566 ตลาดโต่วหนานมีปริการค้าดอกไม้รวม 7,169 ล้านดอก รวมมูลค่า 8,303 ล้านหยวน

5. สถานการณ์บริษัทเพาะปลูกดอกไม้
วันที่ 11 สิงหาคม 2566 ประเทศจีนมีบริษัทที ่ดำเนินกิจการที ่เกี ่ยวข้องกับการปลูกดอกไม้
1,842,666 บริษัท ในจำนวนนี้เป็นบริษัทของมณฑลยูนนาน 106,378 บริษัท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.77
ของจำนวนบริษัทเพาะปลูกดอกไม้ทั่วประเทศจีน สำหรับในมณฑลยูนนาน บริษัทเพาะปลูกดอกไม้ที่มี
ศักยภาพจะกระจายอยู่ในเมืองคุนหมิง ยวี่ซีและฉู่จิ้ง

หากมองในด้านเงินทุนจดทะเบียนพบว่า บริษัทเพาะปลูกดอกไม้ของมณฑลยูนนานส่วนใหญ่เป็น
บริษัทขนาดเล็ก โดยเป็นบริษัทที่มีเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 หยวนมากที่สุด มีจำนวน 72,188
บริษัท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.85 ของบริษัททั้งหมด สำหรับบริษัทที่มีเงินทุนจดทะเบียนอยู่ระหว่าง
1,000,000 – 2,000,000 หยวน มีจำนวน 15,457 บริษัท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.53 และที่มีเงินทุน
จดทะเบียนยอยู่ระหว่าง 2,000,000 – 5,000,000 หยวน มีจำนวน 7,209 บริษัท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
6.78

ความคิดเห็นสคต.
เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านที ่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศของมณฑลยูนนาน ทำให้
มณฑลยูนนานเป็นแหล ่งทรัยากรทางธรรมชาติที ่อ ุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะสินค้าดอกไม้ที ่มี
ความหลากหลายของสายพันธุ์เป็นอย่างมาก นับว่าเป็นมณฑลที่รวมดอกไม้ตัดดอกที่ใหญ่ที่สุดในจีนและ เอเชีย อีกทั้งมีศูนย์ประมูลดอกไม้นานาชาติแห่งใหญ่ จึงเป็นโอกาสที่สำคัญในการขยายตลาดกล้วยไม้ไทย
ไปยังตลาดจีน ซึ่งจีนเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยด้วยกำลังการซื้อที่กำลังเติบโต และดอก
กล้วยไม้ก็เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศไทย มีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก กล้วยไม้ไทยมีจุด
แข็งมากมาย เช่น อายุการปักแจกันยาวนาน สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์มีหลากหลายพันธุ์ หลายสี
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจีนจะสามารถเพาะปลูกกล้วยไม้ได้หลายชนิด แต่ยังไม่สามารถปลูกกล้วยไม้สายพันธุ์
แบบไทยได้ทั้งนี้ผู้ส่งออกควรเพิ่มประเภทพันธุ์กล้วยไม้ตัดดอกหรือกล้วยไม้สีแปลกใหม่ที่ส่งออกมายัง
ประเทศจีน เช่น Dendrobium, Cataleeya, Oncidium, Vanda, และ Ascocenda เพื่อให้ผู้ซื้อ/ผู้นำ
เข้ามีทางเลือกมากขึ้น ที่สำคัญผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
ทั้งด้านสายพันธุ์คุณภาพ ราคา การเพิ่มมูลค่ากล้วยไม้เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้น
*****************************************
แหล่งที่มา : https://baijiahao.baidu.com/s?id=1775168928669993281&wfr=spider&for=pc
สคต. คุนหมิง

อ่านข่าวฉบับเต็ม : เจาะลึกอุตสาหกรรมดอกไม้มณฑลยูนนาน

Login