หน้าแรกTrade insight > เจาะลึกตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในจีน

เจาะลึกตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในจีน

1.วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

         อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศจีนเริ่มต้นพร้อมกับการปฏิรูปและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจีน ตั้งแต่ปี 1982 – 1993 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ในช่วงเริ่มต้นพัฒนา ต่อมาตั้งแต่ปี 2536 – 2546 ภายใต้นโยบายการปฏิรูปตลาดทองคำ ทำให้มีแบรนด์เครื่องประดับชั้นนำหลายแบรนด์เข้าสู่ตลาดจีนมากขึ้น เช่น Chow Sang Sang และ Chow Tai Fook ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาของอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างก้าวกระโดด จนกระทั่งในปี 2546 ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับมีความหลากหลายและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งได้เข้าสู่การพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนเป็นตลาดใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

2. มูลค่าตลาด

ในปี 2564 จีนมีมูลค่าตลาดอัญมณีและเครื่องประดับรวมทั้งสิ้น 720,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปี 2563 และในปี 2565 มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 800,000 ล้านหยวน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.11 เมื่อเทียบกับปี 2564 ในแง่ของแบรนด์ แบรนด์ท้องถิ่น เช่น Lao Feng Xiang (เหล่า เฟิ่ง เสียง), Chow Sang Sang และ Chow Tai Fook ขึ้นชื่อในด้านเครื่องประดับที่ทำจากทอง ส่วนแบรนด์หรูหราอื่น ๆ เช่น BVLGARI และ Tiffany เน้นเครื่องประดับคลาสสิก ครองสัดส่วนตลาดไฮเอนด์ได้ค่อนข้างสูง

       จากข้อมูล พบว่า ในปี 2565 สินค้าเครื่องประดับที่ทำจากทองคำคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของตลาด    อัญมณีและเครื่องประดับในประเทศจีน รองลงมาได้แก่ เครื่องประดับที่ทำจากเพชร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22 และเครื่องประดับที่ทำจากหยก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8

3. การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในจีน

3.1 ข้อมูลในปี 2565 พบว่า บริษัทธุรกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับในประเทศจีนส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยเฉพาะในเมืองเซินเจิ้น กวางโจวและตงกว่าน ล้วนแต่มีธุรกิจสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีชื่อเสียง ยกตัวอย่างเมืองเซินเจิ้น มีบริษัทที่ทำธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่ขึ้นชื่อรวมทั้งสิ้น 21 บริษัท ซึ่งป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น

3.2 เครื่องประดับทองคำขาว ทวีปแอฟริกาเป็นแหล่งผลิตทองคำขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยจีนมีปริมาณทองคำขาวค่อนข้างน้อย และต้องพึ่งพาการนำเข้า ซึ่งจีนเป็นตลาดการบริโภคทองคำขาวขนาดใหญ่และมีความต้องการจำนวนมาก โดยในปี 2565 จีนมีมูลค่าการนำเข้าทองคำขาวอยู่ที่ 7,654.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง     ร้อยละ 23.55 โดยมีประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ แอฟริกาใต้ รัสเซีย ญี่ปุ่น เยอรมันและเบลเยี่ยม เป็นต้น ทั้งนี้     หากพิจารณาด้านคุณค่าแล้ว ทองคำขาวจะมีมูลค่าและคุณค่าน้อยกว่าทองคำ ซึ่งเป็นเหตุผลหลักในการเลือกซื้อเครื่องประดับต่อผู้บริโภคเช่นกัน

3.3 เครื่องประดับเพชร ปัจจุบันจีนเป็นผู้ผลิตเพชรที่ปลูกรายใหญ่ที่สุด ตามสถิติที่ในปี 2565 การผลิตเพชรในจีนมีปริมาณจะอยู่ที่ 82,000 ล้านกะรัต

3.4 เครื่องประดับจากหยก จีนเป็นผู้บริโภคหยกรายใหญ่ ประกอบกับความกว้างขวางและมีทรัพยากรที่หลากหลาย โดยหยกแต่ละชนิดต่างมีแหล่งกำเนินที่ต่างกัน เช่น 1) หยกเหอเถียน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในมณฑลซินเจียงส่วนใหญ่เป็นหยกสีขาว สีไพลิน และหยกสีแจสเปอร์ มีความโปร่งแสง 2) หยกหลานเถียน มีแหล่งกำเนิดในมณฑลส่านซี เป็นแหล่งกำเนิดหยกที่มีอายุยาวนานกว่า 5,000 ปี ส่วนใหญ่เป็นหยกสีขาวเขียวปน 3) หยกตู่ซาน เป็นหยกที่มีชื่อเสียงมีแหล่งกำเนิดในมณฑลเหอหนาน ส่วนใหญ่เป็นสีม่วง, สีดำ, สีฟ้า, สีเขียว, สีฟ้า, สีแดงและสีผสม และ 4) หยกซิ่วหยาน มีแหล่องกำเนิดจากมณฑลเหลียว ส่วนใหญ่เป็นสีเขียวทะเลสาบและสีเขียวเข้ม

4. แบรนด์สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน

5. มูลค่าการนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ

5.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ระหว่างจีนทั่วโลก

มูลค่าการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของทั่วโลกมายังจีน (.. – .. 66)

ลำดับ

ประเภทสินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญ) เปลี่ยนแปลง (%)
2564 2565 2565

(..-..)

2566

(..-..)

1 ทองคำ ยังไม่ได้ขึ้นรูป หรืออยู่ในลักษณะกึ่งสำเร็จรูปหรือเป็นผง (71081200) 10,974.08 46,379.95 10,607.44 14,661.90 38.22
2 เพชร (71023900) 5,626.97 9,372.69 1,036.83 834.32 -19.53
3 หยก (71039910) 100.06 1,024.49 26.12 471.73 1,705.88
4 โรเดียม ยังไม่ได้ขึ้นรูป (71103100) 2,447.28 4,003.88 504,92 249.94 -50.50
5 แพลทินัม ยังไม่ได้ขึ้นรูป (71101100) 1,695.13 3,115.54 133.75 240.30 79.66
อื่น ๆ 56,580.36 39,805.98 1,971.52 1,431.30 -27.40
รวม 77,423.88 103,702.53 14,280.58 17,889.49

25.27

ที่มา: Global Trade Atlas

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของจีนไปทั่วโลก (.. – .. 66)

ลำดับ

ประเภทสินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญ) เปลี่ยนแปลง (%)
2564 2565 2565

(..-..)

2566

(..-..)

1 เครื่องเพชรพลอยและส่วนประกอบของทองคำ (71131919) 5,227.10 8,726.21 532.67 1,113.08 108.96
2 เครื่องเพชรพลอยและส่วนประกอบของทองคำ และเพชร (71131911) 5,472.20 4,985.87 512.18 622.22 21.48
3 เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม (71171900) 3,078.27 3,272.66 450.31 511.86 13.67
4 เครื่องเงิน ที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป (71069110) 3,656.50 2,739.12 264.64 391.23 47.83
5 เพชร ที่ไม่ใช้ในทางอุตสาหกรรม (71023900) 1,011.32 2,141.49 291.13 171.99 -40.92
อื่น ๆ 10,886.86 8,277.98 1,164.11 790.73 -32.07
รวม 29,332.25 30,143.33 3,215.04 3,601.11

12.01

ที่มา: Global Trade Atlas

 5.2 มูลค่าการนำเข้า  ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ระหว่างจีน ไทย

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยมายังจีน (.. – .. 66)

ลำดับ

ประเภทสินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญ) เปลี่ยนแปลง (%)
2564 2565 2565

(..-..)

2566

(..-..)

1 ทับทิม แซปไฟร์และมรกต (71039100) 85.17 51.58 5.24 6.17 17.67
2 เครื่องเพชรพลอยและส่วนประกอบของเงิน (71131190) 89.87 74.87 11.44 4.90 -57.17
3 เพชร ที่ไม่ใช้ในอุตสาหกรรม (71023900) 29.01 24.94 4.38 3.23 -26.19
4 รัตนชาติและกึ่งรัตนชาติ (71039990) 24.03 20.01 2.57 3.08 19.90
5 เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม (71171900) 48.47 36.83 7.01 2.78 -60.67
อื่น ๆ 111.08 93.52 10.19 8.62 -15.411
รวม 387.63 301.75 40.83 28.78

-29.51

ที่มา: Global Trade Atlas

มูลค่าการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของจีนมายังไทย (.. – .. 66)

ลำดับ

ประเภทสินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญ) เปลี่ยนแปลง (%)
2564 2565 2565

(..-..)

2566

(..-..)

1 เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม (71171900) 43.23 44.33 5.64 7.75 37.40
2 เครื่องเพชรพลอยและส่วนประกอบของเงิน (71131190) 13.15 15.76 0.56 1.57 181.40
3 เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม ชุบด้วยโลหะ (71179000) 5.35 7.20 0.73 0.94 22.47
4 ของอื่น ๆ ทำด้วยโลหะ (71159010) 5.13 7.35 0.83 0.67 -19.59
5 ฝุ่นหรือผงของเพชร (71051020) 5.00 3.76 0.85 0.59 -30.41
อื่น ๆ 14.72 60.58 9.62 2.38 -75.26
รวม 86.58 138.98 18.23 13.31

-27.01

ที่มา: Global Trade Atlas

6. การแข่งขันทางการตลาด

การแข่งขันในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสามรรถแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ทุนต่างประเทศ 2) ทุนจีน และ 3) ทุนฮ่องกง ในจำนวนนี้ บริษัทอัญมณีและเครื่องประดับจากต่างประเทศส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์สากลที่มีชื่อเสียงในตลาดโลก ส่วนบริษัทของจีนมุ่งเน้นตลาดกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและระดับสูง เรียกได้ว่า สินค้าเครื่องประดับของจีนและฮ่องกงจะเข้าถึงผู้บริโภคได้หลายกลุ่มมากกว่า

7.การผู้บริโภค

ผู้บริโภคในเมืองระดับ 1 และเมืองระดับ 3/4 จะมีความแตกต่างกัน โดยอัตราส่วนของการเลือกซื้อทองคำและเพชรในเมืองระดับ 1 ยังคงสูงสุด ส่วนการเลือกซื้อทองคำและเพชรของผู้บริโภคในเมืองระดับ 3 และ 4 ก็ยังมากกว่าผู้บริโภคในเมืองระดับ 2 นอกจากนี้ จะสังเกตได้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่่ผ่านมานี้ ผู้บริโภคในเมืองระดับ 1 มีความต้องการสินค้าที่มีความไฮเอนด์มากขึ้น นิยมเลือกซื้อเพชรและแพลตินัมเพิ่มขึ้น ส่วนผู้บริโภคในเมืองระดับ 3 และ 4 ยังคงนิยมเลือกซื้อทองคำกันอยู่ นอกจากนี้ หากแบ่งตามประเภทของเครื่องประดับ จะพบว่า    ชาวจีนมีความนิยมในเครื่องประดับที่แตกต่างกันดังนี้

  • ทองคำ : จากการพัฒนาของเศษฐกิจ และนวัตกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ทำให้ การออกแบบและผลิตทองคำ มีแบบที่สวยงามและทันสมัยมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนนิยมซื้อทองและสะสมทองมากขึ้น เป็นอับดับ 1 ทั้งนี้ เนื้อทองที่นิยมของชาวยูนนาน เป็นทอง 24K, ทองบริสุทธิ์ 9 และ 99.99 (เครื่องประดับทองคำจัดเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเป็นอย่างมาก โดยในปี 2565 มีปริมาณการใช้ทองคำรวมทั้งสิ้น 1,001.74 ตัน)
  • เพชร : ผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่จะซื้อเพชร ในโอกาสสำคัญ เช่น งานแต่งงาน หรือให้เป็นของขวัญ เป็นต้น
  • หยก : หยกเป็นเครื่องประดับที่มีคุณค่าและมีความหมายมากกว่าทองคำ โดยผู้บริโภคชาวจีนมักจะนำหยกเก็บไว้เป็นของสะสมที่สามารถส่งต่อแบบรุ่นสู่รุ่น
  • พลอยสี : พลอยสีที่เป็นที่ได้รับนิยมส่วนใหญ่ ได้แก่ พลอยสีน้ำเงิน สีเขียว สีแดง สีม่วง และสีเหลือง ตามลำดับ ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็นต่างหู สร้อย และแหวน โดยเครื่องประดับพลอยเป็นเครื่องประดับที่ต้องมีการผสมผสานกับอื่นๆ เช่น เครื่องเงิน และเพชร เป็นต้น จึงจะสามารถสร้างความโดดเด่นได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสีสันที่สวยงามและมีราคาที่ไม่สูงมากเท่ากับเพชร จึงทำให้พลอยสียังคงสามารถคลองตลาดเครื่องประดับในจีนได้อยู่
  • เครื่องเงิน : เครื่องประดับเงินเป็นเครื่องประดับที่มีราคาถูกกว่าเครื่องประดับประเภทอื่นๆ โดยชาวจีนนิยมนำเครื่องเงินมาผสมผสานกับพลอยสี เพื่อสร้างสีสันและเพิ่มความสวยงามให้แก่เครื่องเงิน

ความคิดเห็น สคต.

        ประเทศจีนถือเป็นตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งสามารถสะท้อนถึงฐานะทางการเงินและสร้างหน้าตาทางสังคมของชาวจีน ทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับยังคงเป็นที่ต้องการและยังมีช่องวางในการขยายตัวอยู่มาก โดยในเบื้องต้นผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขยายตลาดสินค้าดังกล่าวในตลาดจีน สามารถทดลองจำหน่ายสินค้าด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการสร้างโอกาสและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาตลาด เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคชาวจีน อีกทั้งการทำตลาด Marketing Online โดยใช้ KOL ที่มีชื่อเสียงของจีน ก็สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้อีกด้วย

ที่มา :

https://zhuanlan.zhihu.com/p/611973912?utm_id=0https://baijiahao.baidu.com/s?id=1750431245793151338&wfr=spider&for=pc

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login