หน้าแรกTrade insightวัสดุก่อสร้าง > อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างเวียดนามประสบปัญหา

อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างเวียดนามประสบปัญหา

การเร่งเบิกจ่ายเงินทุนภาครัฐและการทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้นฟูเป็นปัญหาเร่งด่วนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง

ในการประชุมเกี่ยวกับการแก้ปัญหาตลาดวัสดุก่อสร้าง โดยสถาบัน Việt Nam Institute for Building Materials และ Eurowindow ระบุว่า ตลาดวัสดุก่อสร้างประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจากการลงทุนภาครัฐและตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นภาคส่วนหลักสำหรับการบริโภควัสดุก่อสร้าง

นาย Lê Quang Hùng ประธาน Việt Nam Concrete Association กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์หยุดชะงัก เนื่องจากอุปสรรคทางกฎหมายและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูง ส่งผลกระทบต่อการซื้อบ้าน โดยวิกฤตอสังหาฯ ซึ่งเกิดจากกลุ่มพัฒนาอสังหาฯ ไม่สามารถขำระหนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่บั่นทอนอุปสงค์ และการปราบปรามการทุจริตของรัฐบาล

การลงทุนภาครัฐจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญ แต่การเบิกจ่ายในอัตราที่ต่ำ โดยระทรวงการคลังเผยอัตราการเบิกจ่ายปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 14.7 ซึ่งต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.48 จากแนวโน้มเศรษฐกิจในเวียดนามคงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566

นาย Đinh Quốc Thái รองประธาน Việt Nam Steel Association กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 2566 การผลิตและการจำหน่ายเหล็กลดลงอย่างมาก การผลิตเหล็กคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2-3 ในปี 2566 ในขณะที่ตลาดการบริโภคยังคงไม่แน่นอน

นาย Định Quang Huy ประธาน Việt Nam Building Ceramic Association ตั้งแต่ปี 2564 อุตสาหกรรมเซรามิกลดลงร้อยละ  30-35 และการผลิตเพียงร้อยละ 50-60 ของกำลังการผลิต  ตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นสาเหตุหลัก

นาย Lương Đức Long รองประธาน Việt Nam Cement Association กล่าวว่า การผลิตปูนซีเมนต์ลดลงตั้งแต่ปี 2564 และ อุตสาหกรรมซีเมนต์ยังเผชิญกับความท้าทาย รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาเชื้อเพลิง ค่าธรรมเนียมการขนส่ง และสินค้าคงคลัง สิ่งสำคัญคือต้องส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ โครงการที่อยู่อาศัยเพื่อสังคมในเมือง และโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เพื่อสนับสนุนตลาดวัสดุก่อสร้าง

สมาคมต่างๆ เห็นว่า การเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐเป็นทางออกที่สำคัญ และเรียกร้องให้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 2 ก่อนกำหนด และเร่งลดค่าธรรมเนียมที่ดินและการขอคืนภาษี

นาย Phạm Văn Bắc ผู้อำนวยการแผนกวัสดุก่อสร้างภายใต้กระทรวงการก่อสร้าง กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้การบริโภควัสดุก่อสร้างลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ผลผลิตในประเทศตาดว่าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10-30 และพร้อมส่งเสริมผู้ประกอบการต่างๆ ปรับแผนการผลิตตามความต้องการของตลาด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต่างๆ ควรใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

                                        (จาก https://vietnamnews.vn/)

ข้อคิดเห็น สคต

ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการวัสดุก่อสร้างได้พัฒนาอย่างมากในด้านปริมาณ และคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมือง และที่อยู่อาศัย เมื่อตลาดอสังหาฯ ประสบปัญหา อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็กและเหล็กกล้า ปูน เซรามิก ปูนซีเมนต์ เป็นต้น ได้รับผลกระทบไปด้วย นอกจากนี้ ปัญหาต่อเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อบ้านออกไป เนื่องจากบ้านเป็นสินค้าที่มีราคาสูง และต้องมีภาระหนี้ผูกพัน  ระยาว กำลังซื้อต่ำเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่จากหลายๆ ปัจจัย และเป็นปัญหาอสังหา 2566 ที่สำคัญ เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลงทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ขายบ้านได้ยากขึ้น โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ทั้งจากโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย อาคารพาณิช และโรงงาน ปัจจุบันอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างมีบริษัทประมาณร้อยละ 40 ที่หยุดดำเนินธุรกิจ และมีแนวโน้มว่าภายในสิ้นปี 2566 บริษัทจำนวนมากจะหยุดดำเนินธุรกิจมากขึ้น ในบริบทอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ และสินค้าคงคลังเป็นจำมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ผลิตวัสดุก่อสร้างไทย และผู้ผลิตในเวียดนาม

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login