เมื่อไม่นานมานี้อุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ดในแอฟริกาใต้ได้ขยายตัวอย่างมาก และมีการแข่งขันกันสูง แต่ขณะนี้ พบว่าแบรนด์ฟาสฟู้ดหลายแบรนด์ได้หายไปจากแอฟริกาใต้แล้ว เช่น สกู๊ตเตอร์พิซซ่า (Scooters Pizza) โดมิโนพิซซ่า (Domino’s Pizza) ซับเวย์ (Subway) ดังกิ้นโดนัท (Dunkin’ Donuts) บาสกิน รอบบินส์ (Baskin Robbins) เวคาเบอร์รี่ (Wakaberry – โยเกิร์ตแช่แข็ง)
สาเหตุสำคัญที่แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดได้ออกจากแอฟริกาใต้ เช่น สกู๊ตเตอร์พิซซ่าไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งโดยเฉพาะแบรนด์เดอโบแนร์ (Debonairs) ซับเวย์ขาดความแตกต่างด้านการตลาด ทำเลร้านไม่ค่อยดี รวมทั้งสินค้าที่จำหน่ายมีราคาสูง ดังกิ้นโดนัทไม่สามารถแข่งขันกับกาแฟและขนมในท้องถิ่นได้ บาสกินรอบบินส์เผชิญความท้าทายจากไอศกรีมแบรนด์ท้องถิ่น โดมิโนพิซซ่าประสบปัญหาด้านซัพพลายเชนและไม่สามารถแข่งขันกับ คู่แข่งในท้องถิ่นได้ เวคาเบอร์รี่ประสบปัญหาการบริหารจัดการการเงินภายใน
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท แฟมัสแบรนด์ จำกัด (Famous Brands) ซึ่งเป็นเจ้าของฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดัง ในแอฟริกาใต้ อาทิ สเตียร์ (Steers) เดอโบแนร์ (Debonairs Pizza) มักก์แอนด์บีน (Mugg & Bean) ฟิชอเวย์ (Fishaways) วิมปี้ (Wimpy) ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เดอโบแนร์ สเตียร์ วิมปี้ ได้ปิดร้านรวมทั้งสิ้น 41 ร้าน สาเหตุหลัก เช่น เงินเฟ้อทำให้ราคาอาหารเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการทานอาหารเปลี่ยนไปโดยหันมาทานที่บ้านเพิ่มขึ้น การแข่งขันระหว่างร้านฟาสต์ฟู้ดและร้านอาหารทั่วไปทำให้แย่งลูกค้า ร้านกาแฟและร้านอาหารกล่องขนาดเล็กเพิ่มขึ้น ร้านค้าปลีกหันมาขายอาหารฟาสต์ฟู้ดเพิ่มขึ้น
สำหรับ 10 แบรนด์ฟาส์ฟู้ตที่ได้รับความนิยมอันดับต้นในแอฟริกาใต้ ได้แก่ เคเอฟซี (KFC) แมคโดนัลด์ (McDonald’s) ชิ้คเก้นลิคเค้น (Chicken Licken) เดอโบแนร์ (Debonairs) ฮังกรี้ไลออน (Hungry Lion) เบอร์เกอร์คิง (Burger King) สเปอร์ (Spur) สเตียร์ (Steers) นานโด้ส์ (Nando’s) วิมปี้ (Wimpy)
รายงานการวิจัยตลาดจาก เอ้ทตี้ทเว้นตี้ (ww.Eighty20.co.za) ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ผู้บริโภคแอฟริกาใต้เลือกร้านอาหาร ประกอบด้วย ปัจจัยหลัก: อาหารมีคุณภาพดี คุ้มค่าเงิน ปริมาณอาหาร และ ปัจจัยรอง : การบริการลูกค้าดี ทำเลสะดวก นอกจากนี้ ท่ามฟาสต์ฟู้ดเมนูต่างๆ พบว่า เมนูที่ทำจากเนื้อเป็นได้รับความนิยมสูงที่สุด รองลงมาคือเมนูที่ทำจากไก่
ข้อมูลเพิ่มเติมและความเห็นของสำนักงานฯ : ธุรกิจร้านอาหารในแอฟริกาใต้มีการแข่งขันสูงมาก ทั้งจากจำนวนร้านอาหารที่มีอยู่และข้อจำกัดด้านรายได้ของผู้บริโภคอันเกิดจากอัตราเงินเฟ้อสูง และความท้าทายของเศรษฐกิจในประเทศ
สำหรับร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นร้านขนาดเล็ก-กลาง และส่วนใหญ่เจ้าของเป็นคนไทยที่เป็นผู้พำนักถาวรในแอฟริกาใต้(permanent residents) วัตถุดิบสำหรับทำอาหารมาจากท้องถิ่น ส่วนเครื่องปรุงรส/เครื่องแกงนำเข้าจากประเทศไทย ปัจจุบัน แอฟริกาใต้ไม่อนุญาตให้เชฟสัญชาติไทยถือวีซ่าทำงานร้านอาหาร เนื่องจากแอฟริกาใต้กำหนดให้ชาวต่างชาติที่จะขอวีซ่าทำงานในแอฟริกาใต้ต้องเป็นสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนในแอฟริกาใต้เท่านั้น ซึ่งวิชาชีพด้านอาหารไม่ได้ขาดแคลน ปัจจุบัน เชฟในร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้จึงเป็นคนไทยแต่เป็นผู้พำนักถาวรในแอฟริกาใต้ หรือเชฟที่ไม่ใช่คนไทยแต่ผ่านการอบรมทำอาหารไทย สำหรับเมนูที่นิยมในแอฟริกาใต้ เช่น ผัดไทย และต้มยำกุ้ง เป็นต้น ขณะนี้ แนวโน้มว่า เครื่องปรุงไทยขยายตัวเนื่องจากความต้องการของร้านอาหารไทย/ร้านอาหารเอเชีย รวมทั้งผู้บริโภคนิยมทำอาหารไทยเพิ่มขึ้น
ที่มาข่าว : www.businesstech.co.za และ www.ecr.co.za
เครดิตภาพ : www.businesstech.co.za
ประมวลโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพริทอเรีย
main@thaitradeofficesa.co.za
อ่านข่าวฉบับเต็ม : ส่องตลาดแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดในแอฟริกาใต้