หน้าแรกTrade insightไก่ > สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงในสปป. ลาว

สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงในสปป. ลาว

สถานการณ์การตลาด

ปัจจุบันพบว่าการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อความเพลิดเพลินของสปป. ลาว มีความนิยมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และสัตว์มีที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ประเภทสุนัข แมว ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุนัขและแมวเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุด ในขณะเดียวกันพฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ฟันแทะ มีจำนวนน้อย เป็นกลุ่มเฉพาะ ยกเว้นสัตว์น้ำ มีการเลี้ยงเพื่อประดับให้เกิดความสวยงาม เช่น ปลาหางนกยูง ปลาทอง ปลาคาร์ฟ เป็นต้น

ปี 2565 ที่ผ่านมา สปป. ลาว มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง จากประเทศไทย มูลค่ารวม 2,295.01 ล้านบาท โดยมีรูปแบบการนำเข้าดังนี้

  1. ผู้นำเข้าในสปป. ลาว ซื้อสินค้าผ่านบริษัทตัวแทนนำเข้าสินค้า
  2. ผู้นำเข้าในสปป. ลาว ซื้อสินค้าโดยตรงกับบริษัท/ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย
  3. ผู้นำเข้าและผู้บริโภคในสปป. ลาว นิยมข้ามไปฝั่งประเทศไทยเพื่อจัดซื้อสินค้าเอง เช่น ตลาดจัตุรัส จังหวัดกรุงเทพฯ

สัตว์เลี้ยงที่นิยมแบ่งออกได้ 7 ประเภท

  1. สุนัข ได้แก่ บีเกิ้ล ปอมเมอเรเนียน โกลเด้น รีทริฟเวอร์ เป็นต้น
  2. แมว ได้แก่ แมวพันธุ์ไทย และแมวพันธุ์ต่างประเทศ
  3. นกสวยงาม ได้แก่ นกเลิฟเบิร์ด นกค็อกคาเทล นกกรงหัวจุก เป็นต้น
  4. ไก่ ได้แก่ ไก่แจ้ และไก่พื้นเมือง เป็นต้น
  5. ปลาสวยงาม ได้แก่ ปลากัด ปลาหางนกยูง ปลาเงินปลาทอง ปลาคราฟ เป็นต้น
  6. กระต่าย ได้แก่ กระต่ายสายพันธุ์ไทย และต่างประเทศ
  7. สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ งู เต่า กบ เป็นต้น
  8. สัตว์ประเภทอื่น ๆ ได้แก่ ม้า วัว เป็นต้น

แบรนด์สินค้าที่ได้รับความนิยม

  1. อาหารสุนัข ได้แก่ Smart heart, LuvCare, Pedigree, Jerhigh, Oliver, Royal Canin เป็นต้น

                 

  1. อาหารแมว ได้แก่ Nekko, Me-O, Toro, Kaniva, Ostec, Monchou เป็นต้น
  2. อาหารปลา ได้แก่ SAKURA, Optimun เป็นต้น
  3. อาหารสัตว์อื่น ๆ ได้แก่ Petheng, Bok dok เป็นต้น

       

ช่องทางการจัดจำหน่ายในสปป. ลาว

  1. ช่องทางซื้อสินค้าหน้าร้าน เช่น
    • ร้านมินิมาร์ท ได้แก่ คูเวียงเซ็นเตอร์, นิรันดร์

       

  • ซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ Rimping, J-mart laos, Kmart
  1. คลินิกรักษาสัตว์ เช่น
    • Lao-Viet VET Clinic
    • คลินิกสัตวแพทย์ ลาว-เวียด
    • keopasert veterinary clinic
    • MYVET ANIMAL CLINIC
    • IVET International Animal Hospital

  1. ช่องทางออนไลน์ เช่น
    • ร้านอาหารสัตว์เลี้ยงเจเจ
    • ร้านวุดดี้ ขายอาหารสัตว์เลี้ยง และอุปกรณ์ปลีกและส่ง
    • Moutoon Pet Shop

ปัญหาและอุปสรรค

  1. เนื่องจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายในประเทศทำให้ราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้นและราคา ณ จุด ขายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  2. สินค้ากลุ่มของใช้สัตว์เลี้ยง นิยมนำเข้าจากจีน เนื่องจากมีสินค้าที่หลากหลายและราคาสินค้าที่ถูกกว่า

โอกาสของสินค้าไทย

  1. แบรนด์ที่เติบโตใหม่จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่แข็งขึ้นเพื่อสร้างยอด engagement ให้คนลาวรู้จักมากขึ้น เพราะคนที่นี่นิยมใช้สินค้าที่เป็นที่รู้จักในตลาดมากกว่าที่จะทดลองสินค้าแบรนด์ใหม่ ๆ
  2. แบรนด์ใหม่ที่ต้องการเข้ามาทำการตลาดหรือลงทุนในสปป.ลาวจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการประชาสัมพันธ์และสร้างฐานลูกค้าทั้งในไทยหรือใน social media ให้เหนียวแน่นและไม่ให้สินค้าหายไปจากตลาด เมื่อมีฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นก็จะเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้สินค้าซื้อขายได้ง่ายขึ้นเมื่อสินค้าที่เข้าสู่ตลาดสปป.ลาว
  3. ผู้ประกอบการไทยรายใหม่ควรทำความเข้าใจและศึกษาตลาดให้ดีก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายคือประเภทไหน ต้องการสินค้าอะไร ควรพัฒนาแบรนด์ไปในทิศทางไหนเพื่อให้เหมาะสมกับตลาดสปป.ลาว
  4. เนื่องจากตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงใน สปป.ลาว นั้นยังมีผู้นำเข้าน้อยราย จึงเป็นช่องทางและโอกาสที่เหมาะสมและน่าสนใจที่ผู้นำเข้ารายใหม่จะเข้าสู่ตลาด แต่ในขณะเดียวกันปัญหาที่สำคัญของตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในสปป.ลาวนั้นคือการครองตลาดของผู้นำเข้ารายเดิมซึ่งนับเป็นรายใหญ่ในตลาดและขนาดตลาดนั้นยังมีขนาดเล็กอยู่

มุมมองจากผู้นำเข้าสู่ตลาดอาหารสัตว์ในลาว

บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป ภายใต้การดูแลของบริษัท C.P. LAOS ซึ่งผู้ผลิตและนำเข้าผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงรายใหญ่ใน สปป. ลาว ภายใต้แบรนด์ชั้นนำอย่าง Smart heart และ Me-o ทั้งนี้การผลิตและนำเข้าสินค้าใน สปป.ลาว

จากการสอบถามข้อมูลของผู้นำเข้าถึงสถานการณ์อาหารและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงใน สปป.ลาว นั้น จากเดิมยอดขายมีการนำเข้าสินค้าประมาณ 200 ตันต่อเดือนและมีแนวโน้มโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉลี่ยในปีที่ผ่านมามีการนำเข้าถึง 156 ตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างรุนแรงกลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงกลับมียอดขายที่สูงขึ้น เนื่องจากมาตรการการปิดเมืองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งทำให้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์และกำลังเลี้ยงสัตว์เกิดการกักตุนสินค้า แต่ในปัจจุบันยอดขายได้ลดลงถึง 20 % นับตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2566 เป็นต้นมา ยอดขายได้มีการลดลงจากเดิม โดยเลี้ยงที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ สุนัข รองลงมาคือ แมว ส่งผลให้การแบ่งสัดส่วนของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุนัขอยู่ที่ 56% และแมว 13 % นอกจากนี้ยังมีสินค้าประเภทอาหารสัตว์อื่น ๆ นอกจากอาหารสุนัข  และอาหารแมว อาทิ อาหารปลา Optimum, อาหารม้า Maxwin ส่วนของใช้สัตว์เลี้ยงยังไม่ที่นิยมมากนักเนื่องจากการแข่งขันของสินค้าจากประเทศจีน ที่มีต้นทุนและราคาสินค้าที่ถูกกว่ามาก ปัจจุบันขนาดของตลาดใน สปป.ลาว มีขนาดค่อนข้างเล็กลงเนื่องจากคนลดการเลี้ยงสัตว์และกักตุนสินค้าด้วยปัญหาทางด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ บริษัทฯ ยังได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีความผันผวนอย่างมาก รวมทั้ง ต้นทุนจากโรงงาน และค่าขนส่งที่เพิ่มเนื่องจากกฎระเบียบการขนส่งที่มีการเปลี่ยนถ่ายสินค้าในด่านชายแดน สปป.ลาว ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและยังส่งผลให้สินค้าบางส่วนได้รับความเสียหมาย

การจำหน่ายสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง มีการกระจายสินค้าตามแขวงต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยอดขายโดยรวมอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ มีการจัดส่งทั้งใน Supermarket, มินิมาร์ท, ร้านค้าปลีกค้าส่ง เช่น J-Mart, คูเวียงเซ็นเตอร์ เป็นต้น ทั้งยังมีการวางจำหน่ายบริเวณคลินิกและโรงพยาบาลรักษาสัตว์อีกด้วย

ทั้งนี้ การทำการตลาด โฆษณาสินค้า หรือการโปรโหมดสินค้า ยังเป็นที่ได้เปรียบสำหรับคู่แข่งรายใหม่ เนื่องจากคนลาวเสพสื่อ ดูละคร โฆษณา ติดตามบุคคลและนักแสดงที่มีชื่อเสียงจากประเทศไทย สินค้าของไทยจึงเป็นที่รู้จักและนิยมสำหรับคนลาว ทำให้ทางบริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องทำการตลาดหรือประชาสัมพันธ์มากนัก แต่ยังมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นการตลาดต่อไป

ข้อมูลโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login