หน้าแรกTrade insightเกษตรอื่นๆ > สินค้าบริโภคถือเป็นตัวการหลักที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

สินค้าบริโภคถือเป็นตัวการหลักที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

ร้าน Supermarket ในเยอรมนีกำลังแข่งขันเพื่อแย่งลูกค้าด้วยการใช้ยุทธวิธีลดราคาสินค้าบริโภคลง ยกตัวอย่างเช่น ร้าน Netto ได้ออกมาประกาศผ่านสื่อโฆษณาต่าง ๆ ว่า “ได้ลดราคาสินค้าไปกว่า 2000 รายการ” ด้านร้าน Aldi ออกมาแจ้งว่า ได้ลดราคาสินค้าไปกว่า 2,100 รายการ ในขณะที่ Edeka และ Kaufland แจ้งว่า ได้ลดราคาสินค้าเช่นกัน กว่า 2,300 รายการ เมื่อฟังดูข้อความก็ดูเหมือนว่าจะมีรายการที่สินค้าที่เข้าคิวลดราคาจำนวนมาก แต่จริง ๆ แล้วสินค้าที่นำมาลดราคานี้เป็นเพียงส่วนน้อย (จากทั้งหมด) เท่านั้น โดยในแอพพลิเคชั่น Smhaggle รายงานว่า สินค้าอาหารปรับลดราคาลงจากปีที่แล้ว มีประมาณ 4.3% เท่านั้น แต่มีสินค้าถึงกว่า 54.1% ของสินค้าทั้งหมด ที่ปรับราคาขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา (สำหรับการลดลงราคานั้น จริง ๆ เป็นการลดราคาในส่วนที่เคยปรับเพิ่มขึ้นนั่นเอง) ด้านนาย Sven Reuter ผู้บริหารของ Smhaggle เปิดเผยว่า การลดราคาจะอยู่ระหว่าง 20 – 50% ของราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น (ซึ่งในที่สุด ก็หมายความว่า ผู้บริโภคยังคงจ่ายเงินซื้อสินค้าแพงกว่าปีที่ผ่านมาอยู่ดี) ยกตัวอย่างเช่น ชีส Gouda ที่ปัจจุบันราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2.79 ยูโร จะปรับลดราคากว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 0.70 ยูโร แต่ก็ถือว่าแพงกว่าที่ผู้บริโภคเคยซื้อเมื่อตอนก่อนที่จะมีสงครามยูเครน – รัสเซียประมาณ 0.80 ยูโร และหากมาคำนวณดูแล้ว ชีส Gouda แพงขึ้นกว่า 40% อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ เส้นพาสต้า Fusilli ลดราคาลง แต่ก็ยังแพงขึ้นกว่าช่วงเดือนมกราคม 2022 กว่า 20% สรุปง่าย ๆ ก็คือ ปัจจุบันผู้บริโภคต้องใช้เงินมากขึ้นในการชำระค่าสินค้าอุปโภค – บริโภค เนื่องจากผู้ผลิตและร้านค้าต่าง ๆ กำลังเผชิญหน้ากับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และสงครามในยูเครน ดังนั้นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ห้างร้านต้องแบกรับจึงถูกผลักไปยัง็ยัผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

 

สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2023 ลดลงเหลือ 3.8% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 แต่ราคาของสินค้าบริโภคก็ยังคงสูงอยู่ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงทั้งหมด เนื่องจากในปีที่ผ่านมามีการปรับราคาสินค้าบริโภคให้สูงขึ้นมาก และจากรายงานของหนังสือพิมพ์ Handelsblatt ที่เปรียบเทียบค่าครองชีพปัจจุบันกับช่วงต้นปี 2022 ปรากฏว่า  อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันเป็นไปในลักษณะใด

 

  1. การที่สินค้าบริโภคมีราคาถูกลง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากที่ร้านค้าพยายามปรับลดราคาสินค้าลงในสอดคล้องกับต้นทุนที่ลดลงนั้น Aldi Nord & Aldi Süd เพิ่งจะลดราคาสินค้าแช่แข็งและชีสลง ในขณะที่ Lidl และ Kaufland ลดราคาไส้กรอก แป้งและมะเขือเทศ ลงเมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ร้านของ Schwarz Group ได้มีการลดราคาของอาหาร Vegan ลง โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่ปรับลดราคาลงนั้นมักเป็นสินค้าที่มีราคาถูกอยู่แล้วและเป็น Private Label ด้านบริษัทการตลาด GfK แจ้งว่า ถึงจะดูเหมือนว่าการลดราคานี้จะไม่เยอะแต่มูลค่าโดยรวมนั้นนับเป็น 3 ใน 10 ของรายได้ของบริษัทเลยทีเดียว สาเหตุหลักก็คือ ผู้ค้าปลีกสามารถควบคุมราคาสินค้าของตนเอง (Private label) ได้มากกว่าสินค้าทั่วไป เพราะสามารถควบคุมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตสินค้า เมื่อค่าใช้จ่ายการผลิตลดลงก็ทำให้ราคาสินค้าปรับลดลงได้เร็วมากขึ้น ตัวอย่างคือ แป้งข้าวสาลีมีราคาถูกลง จากหน้าแอพพลิเคชั่น Smhaggle แสดงให้เห็นว่าราคาต่อหนึ่งห่ออยู่ที่ 0.65 ยูโร ซึ่งถูกกว่าปีที่ผ่านมา 14 ยูโร แต่ก็ยังแพงกว่าช่วงก่อนที่จะมีสงครามยูเครนถึง 0.20 ยูโร สินค้า Fish Finger แพงขึ้น 60% เมื่อเทียบกับต้นปี 2022 นอกจากนี้ อุปทานของน้ำมันพืชปรุงอาหารเรพซีดยังคงน้อยอย่างต่อเนื่อง เพราะยูเครนที่เป็นประเทศส่งออกหลัก ซึ่งขณะนี้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถจัดหาน้ำมันได้ ในขณะที่ราคาน้ำมันปรุงอาหารปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 67% ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2022 และปัจจุบันแพงมากขึ้น 7% ในขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของราคาของวัตถุดิบต่าง ๆ ได้มีการชะลอตัวลงแล้ว ร้านค้าจึงสามารถลดราคาได้หลังจากเจรจากับผู้ผลิต ด้านนาย Hermann Sievers จากบริษัท SMK Consult อธิบายว่า “ในบางกรณี ร้านค้าอาจยอมเสียผลประโยชน์บางอย่างเพื่อกลยุทธ์ทางการค้าก็ได้” เนื่องจากการลดราคาสินค้าจะทำให้ผู้บริโภคมองร้านในภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น และเนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผู้บริโภคจึงซื้อสินค้าบริโภคน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ราคาที่ลดลงมาแล้ว นั้นทำให้ผู้ค้าปลีกต่าง ๆ ทำกำไรได้แค่เทียบเท่ากับปี 2015 เท่านั้นเอง ในขณะที่ร้าน Netto ยอมรับว่าผลประกอบการและกำไรจะน้อยลงจากการลดราคา และ Rewe ลงทุนหลายล้านยูโรเพื่อลดราคาสินค้า
  2. สินค้า Private Label ของร้านค้าปลีกต่างก็ปรับราคาสูงขึ้นหรือบางทีก็แพงกว่าสินค้ามียี่ห้อในร้านอีกต่างหาก เพราะกำไรที่ได้จาก Private Label นั้นน้อยกว่าสินค้าทั่วไป ตัวอย่างเช่นน้ำดื่มตรา Volvic Naturelle (1.5L แพ็ค 6 ขวด) มีราคาอยู่ที่ 6.90 ยูโร ซึ่งมีราคาสูงขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสงครามยูเครน ในขณะเดียวกัน Private Label ของร้านค้ากลับมีราคาแพงขึ้น 42% หรือประมาณ 62 ยูโร สมาคมอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้นมาก ซึ่งนอกจากค่าพลังงานที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีต้นทุนบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก PET อีที่สูงขึ้นกว่า 40% และ Carbonic Acid (ใช้ทำความซ่า) ก็แพงขึ้น 90% ด้านนาย Jürgen Reichle ผู้บริหารสมาคมบ่อน้ำแร่เยอรมัน เปิดเผยว่า “นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีก นั่นก็คือ ค่าแรงและเงินเดือนที่ปรับให้สูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ” ราคาของเนยเพิ่มขึ้นหลายครั้ง โดยปรับเพิ่มจากเดินที่ 0.79 ยูโร ไปเป็น 0.89, 0.99 และปัจจุบันไปอยู่ที่ 1.19 ยูโร ในปัจจุบันนับว่าแพงขึ้นประมาณครึ่งเท่าตัว และน้ำตาลแพงกว่าเดิม 89%
  3. สินค้าทั่วไปที่ไม่ใช่ Private Label มีโอกาสปรับราคาเพิ่มขึ้นไปอีก โดยนาย Kai Hudetz ผู้บริหาร IFH Köln กล่าวว่า “การที่สินค้าบริโภคลดราคาลงนั้น ตัวการหลักเป็นเพราะผู้ค้าปลีกทั้งหลายต้งการทำแต้มกับลูกค้า” ด้าน Aldi, Lidl, Rewe, และ Edeka ต่างก็ออกมาสนับสนุนว่า “ในส่วนของสินค้าราคาถูกนั้นร้าน Supermarket จะยื้อหรือสู้แรงกดดันจากร้าน Discounter ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องลดราคาสินค้าลงตามร้าน Discounter” การวิเคราะห์ของ Smhaggle ยืนยันว่า ตั้งแต่ต้นปี 2023 ทั้ง Supermarket และ Discounter ได้ลดราคาของสินค้าลงไปแล้วมากกว่า 2,100 – 2,300 รายการ แต่ผู้บริโภคจะสังเกตเห็นได้มากกว่าในร้าน Discounter โดยสินค้ามากกว่า 84% นั้นมีราคาถูกลง ส่วนใน Supermarket อย่าง Rewe และ Edeka มีจำนวนสินค้าที่มีราคาถูกลงแค่ 9% เท่านั้น เหตุผลก็คือ Supermarket ส่วนใหญ่มีสินค้ามากกว่า 25,000 รายการ ซึ่งถือว่ามากกว่า Discounter อย่าง Aldi และ Lidl ประมาณ 10 เท่าตัว นอกจากนี้สินค้าส่วนใหญ่ในร้านของ Supermarket ยังคงเป็นสินค้ามียี่ห้อที่การปรับราคาสูงขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ขจัดกลิ่นกายยี่ห้อ Axe ราคาเพิ่มขึ้น 47% จากก่อนช่วงสงครามยูเครน และเมื่อเทียบกับ Private Label ของ Retailer ที่มีราคาเพิ่มขึ้นแค่ 24% บริษัท Unilever บริษัทผู้ผลิต Axe อธิบายว่า “ต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการลงทุนทำสูตรให้ดีขึ้น ใช้วัตถุดิบดีขึ้น และกิจกรรมด้าน Marketing ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ราคาสินค้าของเราแพงขึ้น” ในขณะที่บิสกิตของ Leibniz เองก็ราคาสูงขึ้นจาก 99 ยูโร ไปอยู่ที่ 1.89 ยูโร ซึ่งนับได้ว่าแพงขึ้น 91% หลังจากปี 2022 คุกกี้ Private Label นั้น ถึงแม้จะมีราคาสูงขึ้น 58% หรือ 1.89 ยูโร แต่ก็ยังคงมีปริมาณมากกว่าคุกกี้ของ Leibniz เป็นเท่าตัว ด้านนาย Alexander Kühnen ผู้บริหารของ Bahlsen ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ Handelsblatt ไว้ว่า “99 เซ็นต์ สำหรับขนมบิสกิตนั้นถูกมาก เพราะถ้าเกิดนับรวมทั้งค่าแรง ค่าพลังงาน และวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้ว กำไรแทบจะไม่มีเลย”
  4. เนยราคาถูกลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่มีสงครามในยูเครน โดยสินค้าจำพวกนม และครีมสดแพงขึ้น แต่สำหรับเนยนั้นกลับพบว่าราคาถูกลง โดยเนยเป็นเพียงสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดที่มีราคาถูกลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนสงคราม สำหรับ เนย Private Label ครึ่งปอนด์มีราคาประมาณ 1.45 ยูโร ซึ่งลดลงมา 12% ในระหว่างที่ราคาเคยเพิ่มขึ้น 40% ไปที่ 2.29 ยูโร ส่วนเนยที่มียี่ห้ออย่าง Landliebe ราคาเพิ่มขึ้น 27% เหตุผลคือ ราคานมนั้นขยับตัวไม่หยุดตั้งแต่ในปีที่ผ่านมา และผลิตภัณฑ์จากนมอื่น ๆ เช่น เนย โยเกิร์ต และครีมสด นั้นยังคงมีราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงสมัยก่อนสงคราม โดยครีมสดชนิดมันน้อยแพงขึ้น 59% เมื่อเทียบกับต้นปี 2022 แต่เนยนั้นกลับกันตรงที่ว่า เนยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อตลอด เลยทำให้ราคาของเนยในตลาดไม่สามารถขยับตัวได้บ่อยนัก ด้าน Hudetz ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดได้ออกมาแจ้งว่า “บริษัทผู้ผลิตอาหารทั้งหลายรู้ว่าราคาควรอยู่ประมาณไหนและลดราคาให้ถูกต้องกับสถานการณ์แล้ว” และเมื่อมองดูในตลาด ผลิตภัณฑ์จากนมมีตัวเลือกมากมายจนผู้บริโภคไม่สามารถจะจำได้ว่าราคาที่ควรจะเป็นมันควรจะอยู่ประมาณไหน ด้านร้านค้าปลีกต่าง ๆ เองก็ลดราคาได้ไม่มากนักเช่นกัน
  5. ราคาสินค้าบริโภคจะถูกลงแต่ก็ยังคงแพงกว่าในช่วงก่อนที่จะมีสงครามในยูเครนอยู่ดี นี่เองจึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า เนยจะยังคงราคาถูกแบบนี้ได้อีกนานไหม โดยนาย Eckhard Heuser ผู้บริหารสมาคมนมเยอรมันได้แจ้งว่า “เนยจะราคาแพงขึ้นอีกครั้ง” เพราะราคานมถูกลงแต่ค่าผลิตนั้นแพงขึ้น ฟาร์มต่าง ๆ ก็เริ่มที่จะถอดใจกับสถานการณ์ปัจจุบันเพราะได้เงินน้อย แต่ในตลาดนั้นความต้องการของนมนั้นมีมากกว่าปริมาณนมที่หามาได้ ซึ่งเป็นไปได้สูงที่นมจะแพงขึ้น โดยรวมแล้ว Edeka มองว่า “ราคาจะตกไปอีกสักพัก” Rewe มองว่า “วัตถุดิบบางอย่างถูกลงแต่ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แพงขึ้น เช่น ค่าแรง ค่าขนส่ง หรือแม้กระทั้งค่าบรรจุภัณฑ์” Sievers ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของอุตสาหกรรมนี้ได้ประกาศว่า “สถานการณ์ในตลาดโลกปัจจุบันค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ยจนไม่สามารถคาดการณ์ใด ๆ ได้ ดังนั้น เราก็จะไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าราคาต้นทุนจะเป็นอย่างไร และร้านค้าต่าง ๆ ก็ต้องทำใจกับราคาต้นทุนที่สูงขึ้นได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามราคาจะไม่กลับไปถูกเหมือนตอนต้นปี 2022 อย่างแน่นอน”

 

จาก Handelsblatt 4 ธันวาคม 2566

อ่านข่าวฉบับเต็ม : สินค้าบริโภคถือเป็นตัวการหลักที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

Login