หน้าแรกTrade insightเครื่องดื่ม > สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มแข็งแกร่งขึ้นในเวียดนามโดยเฉพาะในตลาดระดับล่าง

สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มแข็งแกร่งขึ้นในเวียดนามโดยเฉพาะในตลาดระดับล่าง

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเครืออาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ต่างประเทศในเวียดนาม
ทำให้ตลาดในประเทศแข็งแกร่งขึ้น แม้ว่ามีแนวโน้มการใช้จ่ายที่เข้มงวดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

เมื่อเร็วๆนี้ เครือร้านไอศกรีมสดและชาจีน Mixue ที่เน้นตลาดระดับล่างและ กลุ่ม Gen Z ประกาศว่าได้ขยายสาขาถึง 1,000 แห่งผ่านแฟรนไชส์หลังจากเปิดดำเนินการมาเกือบ 5 ปีในเวียดนาม ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่เคยมีแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มไหนทำได้มาก่อน

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว แต่แบรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่ติดอันดับต้นๆ
ก็ขยายเครือข่ายหลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในเดือนกุมภาพันธ์ Highland Coffee ธุรกิจร้านกาแฟขนาดใหญในเวียดนาม มีร้านประมาณ 600 สาขา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 63.5 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2564 Trung Nguyen E-Coffee ธุรกิจร้านกาแฟในเวียดนาม เพิ่มสาขาเกือบสองเท่าจาก 308 สาขา ในเดือนมีนาคม 2564 เป็น 620 สาขา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 Phuc Long ธุรกิจร้านชาและกาแฟสัญชาติเวียดนามหลังจากได้รับทุนจาก Masan Group ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค ก็ได้ขยายสาขาอย่างรวดเร็วจนมีร้านค้ามากกว่า 900 สาขา ซึ่งรวมถึงร้านเรือธง 132 ร้านและสาขาย่อยมากกว่า 770 ร้านที่ร้านสะดวกซิ้อ WinMart ซึ่งเป็นร้านภายในเครือ Masan Group เทียบกับในเดือนมีนาคม 2564 ที่มีร้านค้าเพียง 80 สาขา

ตามรายงานเกี่ยวกับตลาดอาหารและเครื่องดื่มโดยเว็บไซต์ iPOS ตลาดอาหารและเครื่องดื่มฟื้นตัวอย่างมากหลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยทำรายได้ถึง 610 ล้านล้านดองในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 139 ตลาดคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 18 ในปีนี้และแตะ 1 พันล้านดองในปี 2569 รายงานยังชี้ให้เห็นว่ามีร้านอาหารและร้านกาแฟประมาณ 338,600 แห่งในเวียดนามในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 จากปี 2564 ตลาดในปีนี้จะเห็นว่า การแข่งขันที่รุนแรงระหว่างเครือข่ายรายใหญ่เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ในขณะที่ธุรกิจรายเล็กกลับมีความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น

ภายในตลาดประเภทอาหารและเครื่องดื่มยังมีการขยายตัวของแบรนด์ใหม่ เช่น เพลา
คาตินัท ไซง่อนคาเฟ่ และ ชีสคอฟฟี่ ตามรายงานของบริษัท Viet Dragon Securities Company อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะแข็งแกร่งมากขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี2566 ทางบริษัทยังชี้ให้เห็นด้วยว่าผู้บริโภคชาวเวียดนามสามารถใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มต่อไปโดยมีแนวโน้มที่จะเลือกสินค้าที่มีราคาสมเหตุสมผลมากขึ้น การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจะช่วยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มด้วย

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นแนวโน้มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งเห็นได้ชัดการระบาดของโรคโควิด-19 การสำรวจของ เว็บไซต์ iPOS พบว่าร้อยละ 82.8 ของบริษัทอาหารและเครื่องดื่มเริ่มเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่การใช้ซอฟต์แวร์การจัดการการขาย นาย Do Huu Hung ประธานกรรมการบริหารของบริษัท ACCESSTRADE ในประเทศเวียดนาม ผู้ให้บริการระบบการตลาดออนไลน์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลสร้างโอกาสให้องค์กรต่าง ๆ ได้มองย้อนกลับไปถึงการพัฒนารูปแบบธุรกิจและทิศทางของตนเอง การแปลงเป็นดิจิทัลจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

จัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์

วิเคราะห์ผลกระทบ

แนวโน้มการเติบโตของร้านอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) เพิ่มขึ้นอย่างมาก เกิดจากปัจจัยทั้ง
การระบาดของโรคโควิด-19 และเศรษฐกิจของเวียดนามที่เติบโตขึ้น รายได้ต่อหัวของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ สามารถใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างต่อเนื่องจนทำให้ตลาดอาหารและเครื่องดื่มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแม้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แต่ผู้บริโภตชาวเวียดนามก็มีแนวโน้มที่จะเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ส่งผลแบรนด์ที่ดำเนินการตลาดระดับล่างหรือจำหน่ายสินค้าในราคาถูกและเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่หรือ Gen Z เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่เข้ามาส่งเสริมให้แต่ละแบรนด์ได้เปรียบทางการแข่งขันมากขึ้นอีกด้วย

นำเสนอโอกาส/แนวทาง

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดอาหารและเครื่องดื่มจากต่างประเทศในเวียดนามเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มจากประเทศไทยจะเข้ามาเปิดตลาดและแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดระดับล่างที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตลาดนี้แข็งแกร่งขึ้น เนื่องด้วยประเทศเวียดนามเองผู้บริโภคมีรสนิยมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มใกล้เคียงกับผู้บริโภคชาวไทย ผู้ประกอบการสามารถใช้โอกาสนี้พัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับผู้บริโภคมากขึ้นก่อนเข้าสู่ตลาดเวียดนาม โดยเฉพาะแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ร้านคาเฟ่ ขนมหวาน ไอศกรีม ที่มีราคาสมเหตุสมผล มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอีกมากในประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตาม พบว่าจากแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามที่ชะลอลงในไตรมาสแรกปี 2566 ทำให้ผู้บริโภคเน้นการบริโภคสินค้าที่มีราคาประหยัดมากขึ้น

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login