หลายปีที่ผ่านมา มณฑลกวางตุ้งเป็นมณฑลแนวหน้าของจีนที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดด้วยตัวเลข GDP สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายปี ทั้งนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจของมณฑลกวางตุ้งส่วนใหญ่ มาจากเมืองในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง อาทิ กว่างโจว เซินเจิ้น จูไห่ ฝอซาน ตงก่วนและจงซาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องวัดการค้าต่างประเทศของจีนมาโดยตลอด โดยส่วนแบ่งการค้าต่างประเทศของเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงตลอดทั้งปี ยังคงอยู่ที่ประมาณ 20% ต่อการค้าต่างประเทศทั้งหมดของประเทศจีน และอัตราส่วนการค้าต่างประเทศรวมตลอดทั้งปีของมณฑลกวางตุ้งยังคงอยู่ที่ประมาณ 95% ดังนั้น การค้าต่างประเทศของจีน ส่วนใหญ่มาจากมณฑลกวางตุ้ง และส่วนใหญ่ก็มาจากเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ซึ่งมาจากสี่เมืองหลักในมณฑลกวางตุ้ง ได้แก่ เมืองกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองฝอซาน และเมืองตงกวน ซึ่งปริมาณการค้าต่างประเทศรวมของ 4 เมืองดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของปริมาณการค้าต่างประเทศของ 9 เมืองในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ผนวกกับสถานการณ์ระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง ส่งผลกระทบโดยรวมต่อการนำเข้าและส่งออกเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานเศรษฐกิจรายครึ่งปีที่เผยแพร่โดยเมืองทั้ง 9 แห่งในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง แสดงให้เห็นว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 การค้าระหว่างประเทศในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ในแต่ละเมืองมีแนวโน้มที่ต่างกัน โดยครึ่งแรกของปี 2566 ในช่วงครึ่งแรกของปี มูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมของเมืองกว่างโจวอยู่ที่ 5.45 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้น 8.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีอัตราการเติบโตสูงกว่าไตรมาสแรก 11.1 % โดยในจำนวนนี้ มีการส่งออกอยู่ที่ 3.27 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้น 17.9% ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 2.17 แสนล้านหยวน ซึ่งลดตัวลง 2.5% ส่วนการนำเข้าและส่งออกการค้าทั่วไปมีแนวโน้มอัตราการเติบโตที่ดี โดยเพิ่มขึ้น 25.8% คิดเป็น คิดเป็นร้อยละ 70.2 ของมูลค่านำเข้าและส่งออกทั้งหมด ในขณะที่การนำเข้าและส่งออกสะสมของเมืองเซินเจิ้นอยู่ที่ 1.68 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในจำนวนนี้ การส่งออกอยู่ที่ 1.05 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 14.4% การนำเข้าอยู่ที่ 628.49 พันล้านหยวน ลดตัวลง 10.3% และปริมาณการนำเข้าและส่งออกการค้าต่างประเทศทั้งหมดของเมืองฮุ่ยโจว อยู่ที่ 1.51 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีอัตราการเติบโตสูงกว่าไตรมาสแรก 3.1% ในจำนวนนี้ การส่งออกการค้าต่างประเทศอยู่ที่ 9.76 หมื่นล้านหยวน ลดลง 2.7% การนำเข้าอยู่ที่ 5.37 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.8% และมีอัตราการเติบโตสูงกว่าไตรมาสแรก 10.9 % นอกจากสามเมืองนี้แล้ว เมืองอื่นๆ แสดงอัตราการเติบโตที่ลดลง
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูล 10 อันดับแรกของเมืองที่มีการค้าต่างประเทศของจีน ในปี 2565 พบว่า แม้ว่า 3 เมืองของเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ได้แก่ กว่างโจว เซินเจิ้น และตงกวน จะติดอันดับ 10 อันดับแรก แต่เมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโต พบว่า มีเพียงเมืองกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น และเมืองฮุ่ยโจวเป็นเมืองในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ที่มีการเติบโตของการค้าต่างประเทศในเชิงบวก ส่วนเมืองที่เป็นเมืองการค้าต่างประเทศที่สำคัญของมณฑลกวางตุ้ง เช่น เมืองฝอซานและเมืองตงกวน ต่างก็ประสบปัญหาการเติบโตติดลบ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากข้อมูลการนำเข้าและส่งออกของเมืองตงก่วนยังคงครองอันดับสองของเมืองที่มีการค้าต่างประเทศมากที่สุดในมณฑลกวางตุ้ง ส่วนเมืองการเติบโตของการนำเข้าและส่งออกไปยังอาเซียนนั้น เป็นที่น่าจับตามองอย่างมาก โดยในช่วงครึ่งแรกของปี การนำเข้าและส่งออกของเมืองฝอซาน ไปยังอาเซียนอยู่ที่ 8.92 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้น 27.3% ซึ่งมีส่วนผลักดันการเติบโตของการค้าต่างประเทศของเมืองฝอซาน 5.4 % ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อมูล พบว่า ช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เมืองฝอซานมีมูลค่าการค้าต่างประเทศกับประเทศในอาเซียนมากที่สุด ซึ่งก็ชี้ให้เห็นว่าในปีนี้ การค้านำเข้าและส่งออกในประเทศอาเซียนมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางที่ดี และคาดว่าการนำเข้าส่งออกประเทศในอาเซียนจะมีโอกาสการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อไป
ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย และแนวทางการปรับตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย
หลายปีที่ผ่านมา มณฑลกวางตุ้งเป็นหนึ่งในมณฑลที่มีศักยภาพการค้าต่างประเทศมากที่สุดและมีค่า GDP สูงนานติดต่อกันหลายปี ในขณะเดียวกันมณฑลกวางตุ้งก็ได้เป็นหนึ่งมณฑลที่มีการค้าต่างประเทศกับไทยมากที่สุด โดยตามสถิติของกรมศุลกากรของมณฑลกวางตุ้ง ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มณฑลกวางตุ้งมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกจากไทย อยู่ที่ 441,494 ล้านหยวน (64,117.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งลดตัวลงร้อยละ 5.2 ซึ่งในจำนวนนี้ มีการส่งออกสินค้าไปไทย 264,037 ล้านหยวน (38,349.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขยายตัวร้อยละ 0.4 และมีการนำเข้าสินค้าจากไทย 177,457 ล้านหยวน (25,767.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดตัวลงร้อยละ 12.5 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการค้ามากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร ผลไม้ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทองแดงและชองทำด้วยทองแดง ไม้และของทำด้วยไม้ ถ่านไม้
แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรก การค้าระหว่างไทยและการค้าต่างประเทศกับหลายเมืองของมณฑลกวางตุ้ง จะมีแนวโน้มที่ลดตัวลง แต่ก็ยังคงรักษาสิบอันดับแรกของเมืองที่มีการค้าระหว่างประเทศสูงสุดของจีนไว้ได้ แสดงให้เห็นว่ามณฑลกวางตุ้งมีศักยภาพในการค้าและสามารรับมือกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปได้ และคาดว่าในระยะยาวจะสามารถฟื้นตัวและรักษาการเติบโตต่อไป ทั้งนี้ในระยะสั้น ผู้ประกอบการที่ต้องการทำการค้าในจีน ควรติดตามสถานการณ์ทางการค้าของจีน โดยเฉพาะมณฑลกวางตุ้ง เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ทางการค้าที่เปลี่ยนแปลง และปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าต่างประเทศของมณฑลกวางตุ้งได้ต่อไป
http://pc.nfapp.southcn.com/39/7970457.html
จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)