การส่งมอบสมาร์ทโฟนที่ประกอบในประเทศเคนยาเป็นครั้งแรกที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลได้เปิดตัวออกสู่ตลาดแล้ว เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ในสนนราคาขายปลีกเครื่องละ 40 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6,000 เคนยาชิลลิ่ง
อย่างไรก็ตาม ทางผู้ผลิตได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลจำเพาะของโทรศัพท์ และจำนวนเครื่องโทรศัพท์ที่จะออกวางจำหน่ายในรอบแรก เดิมทีการวางจำหน่ายได้ถูกกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ก่อนที่จะถูกเลื่อนออกไปถึงสองเดือน ซึ่งทางรัฐมนตรีกระทรวงการสารสนเทศ การสื่อสาร และเศรษฐกิจดิจิทัลของเคนยา ก็ได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อยี่ห้อ หรือร้านค้าที่วางจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนดังกล่าวเกิดจากการร่วมมือกันของหุ้นส่วน 3 ฝ่าย คือ ผู้แทนจำหน่ายชาวจีนอย่าง บริษัท Shenzhen TeleOne Technology, Safaricom PLC และ Jamii Telecommunications โดยมีโรงงานผลิตตั้งอยู่ที่ Konza Technopolis เมืองแห่งเทคโนโลยีที่มีตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ห่างจากไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนยาประมาณ 70 กิโลเมตร นับเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่นำโดยรัฐบาลเคนยาเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงและการรวมระบบดิจิทัลในประเทศเข้าไว้ด้วยกันในที่แห่งเดียวตามแนวคิดเรื่อง Slicon Valley ของสหรัฐฯ
แผนการผลิตสมาร์ทโฟนนี้ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกโดยประธานาธิบดี วิลเลี่ยม รูโต้ ในเดือนธันวาคม ปี 2565 โดยเป็นส่วนหนึ่งของวาระแห่งขาติของการบริหารงานของรัฐบาลที่ได้ประกาศในตอนเข้ารับตำแหน่งปลายปี 2565 ที่ผ่านมา โดยทีมงานบริหารภายตัรัฐบาลของนาย วิลเลี่ยม รูโต้ มีความต้องการที่จะปฏิวัติเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศนั้น ประกาศว่า การส่งมอบสมาร์ทโฟนราคาย่อมเยาว์จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 8-12 เดือน หากประสบความสำเร็จจริงจะถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต้นทุนในการเข้าถึงตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศครั้งสำคัญของเคนยาเลยทีเดียว เนื่องจากที่ผ่านมา ราคาโทรศัพท์ของเคนยามีราคาค่อนข้างสูงกว่าร้อยละ 30-40 จากราคาในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้เข้าถึงสมาร์ทโฟนในเคนยาเพียง 30.2 ล้านคน จากประชากรจำนวน 55 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่ไม่รองรับเทคโนโลยี หรือ App ใหม่ๆ เนื่องจากการเข้าถึงเครื่องคุณภาพสูงนั้นมีต้นทุนที่มีราคาสูง
ความเห็นของ สคต.
การที่เคนยา พยายามจะพัฒนาที่จะยกระดับภาคการผลิตอุปกรณือิเล็กทรอนิกส์เช่น โทรศัพท์มือถือ ตามข่าวดังกล่าวนั้น แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะพัฒนาและสร้างอุตสาหกรรมในประเทศให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ทางหนึ่งเพื่อยกระดับให้ต่างชาติเห็นถึงความสามารถของภาคการผลิตของตนเอง ทางหนึ่งหากคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ง่ายขึ้นและมีต้นทุนในการเข้าถึงมากขึ้น ก็จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอตุสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้เร็วมากยิ่ง เช่น ธุรกิจ e-Commerce, ธุรกิจการพัฒนาชอฟแวร์, บริการด้านการขนส่งและการเงิน เป็นต้น ซึ่งจะมีผลให้การพัฒนาในด้านนี้ของประเทศ มีการพัฒนาที่รวดเร็วมากขึ้น เพราะหากคนมีประสบการณ์ที่ดี และมีต้นทุนในการดำรงชีวิตได้ง่ายขึ้น ก็จะทำให้มีเวลาและมีกำลังชื้อที่จะเอาไปทำการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ได้มากขึ้น ตามไปด้วย
สคต. เห็นว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบไทยที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หลายรายการที่อาจถูกนำไปใช้ในการพัฒนาสินค้าดังกล่าวในประเทศเคนยา ซึ่งผู้ประกอบที่เกี่ยวข้องควรศึกษาและติดตามผลที่ได้จากโครงการนี้ เพื่อนำไปต่อยอดทางการตลาดให้สามารถเปิดตลาดสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเคนยาได้มากขึ้น และอาจนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอนาคต จนนำมาสู่การขยายการค้าและการลงทุนในเคนยาต่อไป
ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา : The EastAfrican
อ่านข่าวฉบับเต็ม : สมาร์ทโฟนที่ผลิตในประเทศเคนยา (Made in Kenya) เตรียมออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการในปลายปี 2566 นี้