หน้าแรกTrade insight > สภาพอากาศที่ร้อนทั่วประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ราคาผักพุ่งสูง

สภาพอากาศที่ร้อนทั่วประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ราคาผักพุ่งสูง

ข้อเท็จจริง

ราคาผักในประเทศญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้น เป็นผลพวงจากสภาพอากาศที่ร้อนทั่วประเทศ ส่งผลให้ผลผลิตลดลงและเกิดปัญหาในการเพาะปลูกพืชผัก ราคาขายส่งของแครอทสูงกว่าปกติถึง ร้อยละ 70 เช่นเดียวกับราคาหัวไชเท้าที่สูงกว่าปกติ ร้อยละ50 ยิ่งไปกว่านั้น ว่ากันว่าคุณภาพของสินค้าก็ไม่ค่อยสู้ดีนัก มีการถูกเก็บทิ้งหรือเรียกเก็บคืนสินค้าจากที่ร้านค้ามากกว่าปกติ เนื่องจากสภาพสินค้าไม่ดี

ราคาขายส่งแครอทในตลาดโตเกียวเมื่อวันที่ 19 กันยายน อยู่ที่ 251 เยนต่อกิโลกรัม สูงกว่าปกติถึง ร้อยละ 74 (เฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา) หัวไชเท้า ราคากิโลกรัมละ 162 เยน สูงกว่าปกติถึง ร้อยละ 49

พื้นที่การผลิตหลักสำหรับผักทั้งสองชนิด คือ ภูมิภาคโทโฮคุและเกาะฮอกไกโด ที่ JA Furano (เมืองฟุราโนะ ฮอกไกโด) แครอท “มีขนาดเล็กอย่างเห็นได้ชัด และผลผลิตก็ลดลง” JA Yotei (เมืองคุตจัง ฮอกไกโด) กล่าวว่า “เนื่องจากอุณหภูมิสูงและมีฝนตกต่ำ การขนส่งหัวไชเท้าในพื้นที่ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมจึงลดลงสองในสามของการคาดการณ์”

ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตในโตเกียว ปัจจุบันราคาแครอทจำหน่ายในราคาประมาณ 320 เยนต่อถุง (แพ็ค 4 หัว) และหัวไชเท้ามีราคาต่อหัวประมาณ 320 เยน โดยตัวแทนของซูเปอร์มาร์เก็ตกล่าวว่า มีราคาสูงกว่าปีปกติประมาณ ร้อยละ 50

ราคาจำหน่ายมะเขือเทศก็ปรับตัวขึ้นในช่วง 10 วันที่ผ่านมาเช่นกัน โดยราคาขายส่งในวันที่ 19 สูงกว่าปกติถึง ร้อยละ 78 ในพื้นที่ผลิตมะเขือเทศในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง มีปริมาณการขนส่งลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามของช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว” (JA Biratori เมือง Biratori ฮอกไกโด)        นอกจากนี้ ยังมีหลายกรณีที่มะเขือเทศไม่บานเนื่องจากความร้อน และการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศที่ปลูกในจังหวัดชิบะ ซึ่งมีการขนส่งเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของทุกปีเป็นต้นไป ก็มีจำนวนลดลงเนื่องจากอุณหภูมิสูง

พริกเขียวซึ่งปลูกกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดอิวาเตะ กำลังประสบปัญหาความเสียหาย เช่น ผลถูกแดดเผาและเปลี่ยนสี ราคาขายส่งพริเขียวกสูงกว่าปกติถึง ร้อยละ 43 JA อิวาเตะ ฟุรุซาโตะ (เมืองโอชู จังหวัดอิวาเตะ) กล่าวว่า “แม้กระทั่งหลังจากปลายเดือนสิงหาคม ผักที่เก็บเกี่ยวได้ถึง ร้อยละ 60 ก็จะถูกทิ้งเมื่อไปถึงตลาด เนื่องจากไม่ได้คุณภาพ”

ฮิโรมิจิ อากิบะ ประธานเครือซูเปอร์มาร์เก็ตอากิได (เนริมะ โตเกียว) กล่าวว่า “แม้ว่าเราจะพยายามเปลี่ยนพื้นที่การผลิต แต่ก็ยังคงได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิสูงทั่วประเทศ” จากข้อมูลของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยของญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2441 คาดว่าอุณหภูมิจะสูงกว่าปกติในเดือนกันยายนเช่นกัน

มีความกังวลว่าผลกระทบจากความร้อนจัดจะคงอยู่เป็นเวลานาน โดยปกติจะมีการหว่านเมล็ด ในเดือนกันยายนและเก็บเกี่ยว ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป เช่น ผักโขม และผักกาดเขียว แต่พื้นที่ปลูกบางแห่งกลับชะลอการหว่านเนื่องจากอุณหภูมิพื้นดินสูงเกินไป ผู้ค้าส่งผักและผลไม้ในตลาดโอตะ (โอตะ โตเกียว) กล่าวว่า “สถานการณ์ราคาที่สูงจะไม่สงบลงในเร็วๆ นี้”

ที่มา :

https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUB1176P0R10C23A9000000/

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา  ระหว่างวันที่ 24 – 30 กันยายน 2566

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login