หน้าแรกTrade insightเกษตรอื่นๆ > สถานการณ์น้ำตาลในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ของจีน

สถานการณ์น้ำตาลในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ของจีน

น้ำตาลเป็นสินค้าทางการเกษตรที่สำคัญ ราคาน้ำตาลจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ข้อมูลจากเว็บไซต์ PPI (เว็บไซต์แหล่งให้ข้อมูลด้านสถานการณ์สินค้าโภคภัณฑ์ เศรษฐกิจ และแนวโน้มอุตสาหกรรมวัตถุดิบ) ระบุว่า ณ วันที่ 6 กันยายน 2566 ราคาน้ำตาลทรายขาวในประเทศจีนอยู่ที่ 7,390 หยวนต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อย 1.37 จากช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 สิงหาคม 2566) ซึ่งทะลุถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ซึ่งราคาใกล้เคียงกับสถิติสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2554 ที่ 7,830 หยวนต่อตัน รองคณบดีสถาบันวิจัยการลงทุน ของ Donggao (Guangdong) Technology กล่าวว่า ราคาน้ำตาลที่สูงขึ้น ได้รับผลกระทบมาจากปัจจัยหลายประการ อาทิ ความสมดุลที่ตึงตัวระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ที่คาดว่าจะยังยืดไปถึงช่วง 6 เดือนหลังของปี ราคาจะยังคงมีความผันผวน

นักวิเคราห์น้ำตาลจาก SCI99.COM กล่าวว่า ราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ มีสาเหตุหลักมาจากอุปทานที่เป็นบวก การลดลงของปริมาณการผลิตและการนำเข้าที่เข้มงวดทำให้อุปทานในตลาดตึงตัว ในด้านการผลิตน้ำตาลในประเทศ ในฤดูการผลิตช่วง 2565/66 อยู่ที่ 8.97 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 6.17 เมื่อเที่ยบกับช่วงฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจาก  สภาพอากาศแห้งแล้ง อุณหภูมิสูงและปริมาณน้ำฝนที่ต่ำส่งผลให้ผลผลิตในมณฑลเขตปกครองตนเองกว่างซีลดลง โดยมณฑลกว่างซีเป็นพื้นที่ผลิตน้ำตาลหลักในประเทศ คิดเป็นประมาณร้อยละ 66 ของพื้นที่การผลิตน้ำตาลทั้งหมดในประเทศ ผลผลิตน้ำตาลของกว่างซี ในฤดูกาลผลิตเหลือ 5.27 ล้านตัน ช่วง 2565/66 ลดลงร้อยละ 13.89 เมื่อเที่ยบกับช่วงฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา

รองคณบดีสถาบันวิจัย Donggao (Guangdong) Technology ยังกล่าวว่า ฤดูกาลบริโภคน้ำตาลมาถึง โดยเฉพาะความต้องการในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยด้านอุปทานที่เพิ่มขึ้น จะเป็นแรงผลักดันให้ราคาน้ำตาลยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากมุมมองของตลาดโลก อุปทานที่ตึงตัวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาน้ำตาลในต่างประเทศสูงขึ้น ประเทศบลาซิลหนึ่งในผู้ผลิตน้ำตาลหลักของโลกยังคงเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลทรายดิบให้สูงขึ้น อินเดียและไทย ยังคงมีความกังวลที่อาจส่งผลกระทบต่อการตัดอ้อยเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ผลิตไม่เพียงพอ อินเดียยังมีการประกาศระงับการส่งออกน้ำตาลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ที่สร้างความตื่นตระหนกในตลาด และยังเป็นแรงหนุนให้ราคาน้ำตาลในตลาด ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนน้ำตาลนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การนำเข้าลดลง ข้อมูลจากสำนักงานศุลกากร ระบุว่า ตั้งแต่มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม จีนนำเข้าน้ำตาลในฤดูการผลิตช่วง 2565/66 รวม 2.98 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 23 เมื่อเที่ยบกับช่วงฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา

จากการคาดการณ์ราคาน้ำตาลในอนาคต ขณะนี้ มีคลังสินค้าสำหรับโรงงานน้ำตาลไม่มากนัก ในทางกลับกัน ราคาน้ำตาลยังคงสูงขึ้น ยังคงมีการจำกัดโควต้าการนำเข้า คาดว่าอุปทานในตลาดจะยังคงตึงตัว ทั้งนี้ ราคาขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของตลาด คาดว่าราคาตลาดน้ำตาลจะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น ก่อนเริ่มฤดูผลิตใหม่ในเดือนตุลาคม ราคาน้ำตาลยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากสถานการณ์อุปทานที่ตึงตัวในไตรมาส 4 ผ่อนคลายลง ราคาน้ำตาลก็จะลดลง

ด้านผลประโชยน์ต่อบริษัทและสถานประกอบการ แรงหนุนจากราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทน้ำตาลหลายแห่งในตลาดหุ่น A-share มีผลประกอบการที่ดีในช่วงครึ่งปีแรก 2566 โดยมีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ A-share ที่เกี่ยวกับธุรกิจน้ำตาลจำนวน 8 บริษัท พบว่า 6 บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2566

COFCO Sugar บริษัทดำเนินธุรกิจด้านน้ำตาล กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทดำเนินการด้านน้ำตาลได้ตามปกติ ตั้งแต่ไตรมาสที่สามเป็นต้นมา ธุรกิจน้ำตาลของบริษัทพัฒนาได้ค่อนข้างน่าพอใจ เมื่อราคาในตลาดปรับตัวสูงขึ้น น้ำตาลของบริษัทก็ปรับสูงขึ้นตามราคาตลาดอย่างต่อเนื่อง สายการผลิตน้ำตาลบีทรูทกำลังเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ การดำเนินธุรกิจของบริษัทยังไม่ได้รับผลกระทบจากด้านราคา ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 จำนวนการสั่งสินค้า และการผลิตยังคงเพิ่มขึ้น

   ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : จีนมีนโยบายกำหนดการนำเข้าน้ำตาล โดยต้องสมัครขอโควต้านำเข้า ในปี 2565 และ 2566 มีจำนวนโควต้านำเข้าน้ำตาล ปีละ 1.945 ล้านตัน โดยร้อยละ 70 ได้จัดสรรให้แก่รัฐวิสาหกิจ น้ำตาลที่ต้องสมัครขอโควต้าการนำเข้า รวมทั้ง 7 ประเภท ได้แก่ น้ำตาลในพิกัด HS Code 17011200, 17011300, 17011400, 17019100, 17019910, 17019920, 17019990 โดยการนำเข้าภายในโควต้า จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 15 นอกโควต้าร้อยละ 50 และภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 13

ข้อมูลสถิติประมวลโดย Global Trade Atlas ระบุว่า เดือนมกราคม – กรกฎาคม ปี 2566 จีนนำเข้าน้ำตาล (HS Code 1701 : Cane Or Beet Sugar And Chemically Pure Sucrose, In Solid Form) รวมทั้งสิ้น 1.21 ล้านตัน (ลดลงร้อยละ 40.90 YoY) มีมูลค่า 596.48 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงร้อยละ 40.58 YoY) โดยจีนนำเข้าน้ำตาลจากประเทศบราซิลปริมาณสูงสุดที่ 782,641 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.77) รองลงมาคือ อินเดีย (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.44) เกาหลีใต้ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ5.99) และ ไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 4 มีปริมาณการนำเข้าที่ 48,103 ตัน (ลดลงร้อยละ 73.83) คิดเป็นมูลค่า 31.75 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงร้อยละ 66.67 YoY ) คิดเป็นร้อยละ 3.98 ของมูลค่าการนำเข้าน้ำตาลทั้งหมดของจีน โดยนำเข้าผ่านด่านปักกิ่งมากเป็นอันดับ 1 รองลงมา ได้แก่ มณฑลซานตง เจียงซู หูหนาน และ เหอเป่ย ตามลำดับ ทั้งนี้ ไทยยังเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญของจีนตลอดมา ผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษาข้อกำหนดและมาตรการการนำเข้า ช่องทางการจำหน่ายต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมในการบุกตลาดจีนที่เป็นผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

http://www.ce.cn/cysc/sp/info/202309/07/t20230907_38704641.shtml

www.100ppi.com

เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

22 กันยายน 2566

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login