หน้าแรกTrade insight > สถานการณ์ตลาดสินค้าแม่และเด็กของประเทศเมียนมา

สถานการณ์ตลาดสินค้าแม่และเด็กของประเทศเมียนมา

สถานการณ์ตลาดสินค้าแม่และเด็กของประเทศเมียนมา

1.ภาพรวมสถานการณ์

1.1 สถานการณ์ตลาดและแนวโน้มการบริโภค

จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ขอประชากรทำให้ความต้องการในการบริโภคสินค้าแม่และเด็กมีแนวโน้มดีขึ้นในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 40% จากปีก่อนหน้าในตลาดเมียนมา สินค้าแม่และเด็กส่วนใหญ่ที่วางจำหน่ายในประเทศเมียนมานำเข้ามาจาก ประเทศไทย มาเลเซีย จีน อังกฤษ และญี่ปุ่น เป็นหลัก ในประเทศเมียนมาเองยังมีการผลิตสินค้าของเล่นเด็กและอาหารเสริม ในปี 2565 การบริโภคสินค้าแม่และเด็กของเมียนมามีมูลค่าสูงถึง 79.07 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการนำเข้าอาหารเด็กจากประเทศไทยมากที่สุด รองลงมา คือ มาเลเซีย สินค้าของเล่นสำหรับเด็กส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน ทั้งนี้ สินค้าของเล่นเพื่อการศึกษามีการนำเข้าจากประเทศอังกฤษ ในปี 2566 คาดว่าตลาดสินค้าแม่และเด็กของเมียนมายังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

1.2 โครงสร้างตลาดสินค้าแม่และเด็กของเมียนมา

หากพิจารณาจากโครงสร้างสัดส่วนสินค้าแม่และเด็ก 3 อันดับแรก ของปี 2565 ในประเทศเมียนมา เรียงลำดับได้ดังนี้

1) สินค้าประเภทเสื้อผ้ารองเท้าหมวก คิดเป็นร้อยละ 27.00

2 )สินค้าอาหารเสริม คิดเป็นร้อยละ 25.70

3) สินค้านมผง คิดเป็นร้อยละ 23.60

จากการยกระดับคุณภาพชีวิตและความคิดของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สัดส่วนของสินค้าอาหารเสริมสำหรับเด็กทารกในประเทศเมียนมามีแนวโน้มเติบโตอย่างมากในอนาคต

2.แนวโน้มตลาดสินค้าแม่และเด็กของเมียนมา

ในประเทศเมียนมาผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าแม่และเด็กตามความนิยม ราคา และ ประสิทธิภาพ ในเมียนมามีการนำเข้าสินค้าแม่และเด็กจากต่างประเทศมากมาย เช่น ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศจีน เป็นต้น ในปี 2565 ผู้บริโภคเมียนมาส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าออฟไลน์เนื่องจากการระบาดโรคโควิด-19 ผู้บริโภคสินค้าแม่และเด็กของเมียนมาเลือกเสื้อผ้าที่นำเข้ามาจากประเทศไทยเป็นหลักเพราะเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ส่วนแบรนด์สินค้าอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมในประเทศเมียนมา ได้แก่ Nestle Cerelac, Heinz Cereal, Milna เป็นต้น สำหรับผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก แบรนด์ที่ได้รับความนิยม คือ Baby Mild, Pigeon, Kodomo ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมสั่งซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านช่องทางออนไลน์จาก Kyar Lay Online Store และ City Mall Myanmar เป็นต้น

เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคสินค้าแม่และเด็กมีความต้องการสินค้าที่หลากหลายส่งผลให้ตลาดสินค้าดังกล่าวสามารถเติบโตได้อีกมาก ผู้ประกอบการแต่ละแบรนด์ได้นำความต้องการที่หลากหลายของงผู้บริโภคมาปรับกลยุทธ์และสร้างแบรนด์สินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ผู้บริโภคสินค้าแม่และเด็กของเมียนมามีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพ     ความปลอดภัย และราคาของสินค้ามากขึ้น ในปัจจุบัน ผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าแม่และเด็กราคาปานกลาง – สูง   เพิ่มมากขึ้นและยินดีที่จะจับจ่ายสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์สวยงามมากขึ้น

ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าแม่และเด็ก แบ่งได้เป็น 2 ช่องทาง คือ ช่องทาง Online และห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าชั้นนำของประเทศเมียนมา

ช่องทางออนไลน์

ลำดับ

Website

รูปภาพ

1

www.sbbabyshop.com

2

www.citymall.com.mm
3 www.kyarlay.com

4

www.shop.com.mm
5 www.alibaba.com

ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าชั้นนำ

ลำดับ

ห้างสรรพสินค้า/ร้านขาย

รูปภาพ

1

Happiness Baby store
2

Lucky Baby Myanmar

3

Yangon Baby

4

City Mart Shopping Center

5

Sein Gay Har Shopping Center

ในปี 2565 ผู้บริโภคเมียนมาเลือกการซื้อสินค้าแม่และเด็กทางออนไลน์มากขึ้นผู้ประกอบการแบรนด์สามารถให้การตอบสนองที่เกี่ยวกับการอัปเดตผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยอิงจากความชื่นชอบของผู้บริโภคออนไลน์ นอกจากนี้ ร้านค้าออฟไลน์ก็เป็นแหล่งจำหน่ายสาคัญของแบรนด์สินค้าแม่และเด็ก โดยร้านค้าออฟไลน์จะเน้นให้บริการแบบสัมผัสประสบการณ์การเลือกซื้อสินค้าเป็นหลัก นอกจากนี้ ตลาดออฟไลน์มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากขึ้น

สถิติปัจจุบันและการคาดการณ์การบริโภคสินค้าแม่และเด็กทางออนไลน์และออฟไลน์ตั้งแต่ปี 2559-2568

ในปี 2565 ห้างสรรพสินค้าและร้านจำหน่ายสินค้าแม่และเด็ก ยังเป็นช่องทางการจำหน่ายหลักสำหรับสินค้าแม่และเด็ก ทั้งนี้ ผู้บริโภคเลือกการซื้อสินค้าแม่และเด็กผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทาให้ผู้บริโภคหันไปใช้การบริโภคออนไลน์มากขึ้น ทำให้ขนาดตลาดของการบริโภคสินค้าแม่และเด็กออนไลน์เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นในอนาคต และคาดว่าภายในปี 2568 สัดส่วนการบริโภคออนไลน์ของสินค้าแม่และเด็กในประเทศเมียนมาจะสูงถึงร้อยละ 40.0

  1. ตัวอย่างแบรนด์สินค้าแม่และเด็กในตลาดเมียนมา

ลำดับ

แบรนด์ สินค้า

รูปภาพ

1

Baby Mild ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก

2

Johnson ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก

3

Pigeon ขวดนมและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก

4

Two Babies

Body Shaper สำหรับแม่

5

Nestle Cereal อาหารเสริม

6

Philips Avent เครื่องปั๊มนม

7

Similac

นมผง

8

Mamy Poko

Diaper สำหรับเด็ก

9

Sweet Star

ผ้าอ้อมสำหรับเด็ก

สินค้าของเล่นเด็ก

ในปัจจุบันสินค้าของเล่นเด็กของประเทศเมียนมาส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีนและผลิตในประเทศ และผู้ปกครองชาวเมียนมานิยมเลือกของเล่นที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะความสามารถของเด็ก เมื่อเด็กมีอายุเพิ่มขึ้นการเลือกซื้อของเล่นก็เปลี่ยนตามไปด้วย เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 9 ขวบ ผู้ปกครองจะเลือกซื้อของเล่นเพื่อพัฒนาสมองเป็นหลัก และสำหรับเด็กโตจะซื้อของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ พ่อแม่ชาวเมียนมายังนิยมพาบุตรหลานไปเที่ยวร้านของเล่นเพื่อรับประสบการณ์ตรง จึงทำให้ร้านของเล่นเติบโตอย่างรวดเร็วในเมียนมา สำหรับผู้ปกครองที่เป็นชนชั้นล่าง จะเลือกซื้อของเล่นที่มีความทนทานและมีราคาที่ไม่สุงมากนัก

ตัวอย่างแบรนด์สินค้าของเล่นเด็กในตลาดเมียนมา

ลำดับ

แบรนด์ สินค้า

ตัวอย่างสินค้า

1

Toys and Beyond

ของเล่นอุปกรณ์สำหรับเด็ก

2

Vip Kids Collection

ของเล่นเด็ก เครื่องน้อนเด็ก เสื้อผ้าเด็ก

3

Best One Educational Toy Store

ของเล่นอุปกรณ์สำหรับเด็ก

4

Grace Educational Toy Store

ของเล่นอุปกรณ์สำหรับเด็ก

5

Baby Cele

ผ้าอ้อม นมผง เสื้อผ้าเด็ก ของเล่น

กลยุทธ์เจาะตลาดและแผนการผลักดัน

การส่งออกสินค้าความงามมายังตลาดเมียนมา ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าโดยผ่ายตัวแทนจำหน่ายชาวเมียนมาที่มีความสามารถในการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าและดำเนินการขออนุญาตต่างๆ และกระจายสินค้าไปทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็นห้าง modern trade หรือ traditional trade แบบร้านขายส่ง/ปลีกทั่วประเทศ โดยมีช่องทางการกระจายสินค้าในเมียนมาที่สำคัญ 3 ช่องทาง ได้แก่

1) ตลาดดั้งเดิมทั่วไป (Traditional Trade) หรือ ร้านค้าปลีกท้องถิ่น ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุด และครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งผู้บริโภคชาวเมียนมาโดยส่วนใหญ่เลือกใช้บริการกับร้านโชห่วยเป็นส่วนมาก เพราะสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งราคาของสินค้าไม่สูงมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ของชาวเมียนมา

2) ห้าง Modern Trade โดยในปัจจุบันการจำหน่ายสินค้าผ่าน Modern trade ซึ่งมีการขยายตัวทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ เมียนมาเริ่มมีร้านขายปลีกเฉพาะกลุ่มสำหรับสินค้าสุขภาพและความงาม ได้แก่ ร้าน Beauty Diary ซึ่งเริ่มมีการขยายสาขาเป็นจำนวนมากในย่างกุ้ง และเมืองรองสำคัญอื่นๆ เช่น มัณฑะเลย์ และตองจี และ ร้าน Medicare

3) ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) โดยการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อในเมียนมาเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกพื้นที่ รวมทั้งเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

4)  E-Commerce ปัจจุบันการขายของผ่านระบบออนไลน์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมี platform ที่น่าเชื่อถือในเมียนมา เช่น Shop.com.mm BarLoLo และ spree.com.mm เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องมีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งทีวี นิตยสาร การจัดโปรโมชั่น หรือการจัดอีเวนท์ ส่วนแบรนด์ขนาดเล็กอาจใช้ช่องทางการตลาดผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือ รวมทั้งการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มือชื่อเสียง (Celebrities) และ Net Idol ผ่าน Social Media เช่น Facebook ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

แผนผลักดัน

1) การเชิญผู้นำเข้าเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาการค้าออนไลน์ต่างๆ เช่น Online Business Matching/ Mirror & Mirror Matching และ Virtual Exhibition ของกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องที่จัดขึ้นในประเทศไทย

2) การจัดกิจกรรม Instore Promotion ร่วมกับห้าง Modern Trade รายใหญ่ เพื่อให้สินค้าสุขภาพและความงามไทยรายใหม่ๆ ได้เข้าสู่ตลาดเมียนมาได้มากขึ้น

3) การประชาสัมพันธ์ช่องทางการซื้อขายสินค้าไทยบน E-commerce platform อาทิ Thaitrade.com โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก E-Commerce Platform เนื่องจากปัจจุบันการขายของผ่านระบบออนไลน์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในเมียนมา และสามารถช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในหลายๆด้าน

4) การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าอาหารผ่านสื่อต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ผ่าน social media รวมทั้งการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มือชื่อเสียง (Celebrities) และ Net Idol

5) การจัดงานแสดงสินค้า เช่น Top Thai Brands (ควบคู่กับ M&M) และ Thailand Week /Mini Thailand Week ทั้งในเมืองหลักและเจาะเมืองรอง หลังจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย เพื่อโปรโมทให้สินค้าสุขภาพและความงามเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น

6) การสนับสนุนผู้ประกอบการร่วมออกงานแสดงสินค้าสุขภาพและความงาม ที่จัดโดยภาคเอกชน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการ SMEs Proactive เพื่อให้ผู้ส่งออกได้ใช้สิทธิประโยชน์จากโครงการต่อไป

ข้อเสนอแนะ / ประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง

– การติดตามสถานการณ์ COVID19 เพื่อปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะตลาด และสถานการณ์เศรษฐกิจ เช่น การศึกษาช่องทางขายสินค้าผ่าน E-commerce platform และการทำ digital marketing โดยควรเน้นการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ผ่าน Social Media โดยเฉพาะ Facebook ซึ่งเป็นสื่อที่ชาวเมียนมาใช้เป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมาก และมีต้นทุนที่ไม่สูงอีกด้วย

– ผู้ประกอบการไทยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการสร้างแบรนด์ ประกอบกับการกำหนดราคา ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อของชาวเมียนมา

– การศึกษากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น การขอรับรอง FDA และการจัดทำฉลากเป็นภาษาเมียนมา ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากรัฐบาลเมียนมามีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด หากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามอาจมีโทษทั้งจำและปรับ และสินค้าอาจถูกห้ามไม่ให้ขายในเมียนมา

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login