หน้าแรกTrade insightสับปะรด > สถานการณ์ตลาดผลไม้อบแห้งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สถานการณ์ตลาดผลไม้อบแห้งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ตามรายงานของ ResearchAndMarkets.com ระบุตลาดผลไม้อบแห้งทั่วโลกเติบโตจาก 6.34 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 เพิ่มเป็น 7.05 พันล้านเหรียญสรัฐฯ ในปี 2564 ที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 11.1  และภายในปี 2568 มูลค่าตลาดคาดว่าจะสูงถึง 9.50 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่อัตรา CAGR ร้อยละ 7.8 คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมผลไม้อบแห้งรวมทั้งถั่วระดับพรีเมียมในตลาดกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ (GCC) จะมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) มีผลไม้แห้งหลากหลายชนิดซึ่งเป็นที่นิยมและมีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ในประเทศ อาทิ (1) อินทผาลัม (Dates) เป็นผลไม้แห้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยูเออีและภูมิภาคนี้มีชื่อเสียงในด้านอินทผาลัมคุณภาพสูง มีหลากหลายพันธ์ เช่น Medjool, Deglet Noor, Khalas เป็นต้น (2) แอปริคอต (Apricots) เป็นอีกหนึ่งผลไม้แห้งที่พบได้ทั่วไปในประเทศ มีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยและมีสีส้มสดใส นิยมใช้เป็นน้ำผลไม้ดื่มช่วงเทศกาลถือศีลอด (3) มะเดื่อฝรั่ง (Figs) เป็นที่นิยมใน UAE โดยนิยมรับประทานเป็นของว่างหรือใช้ในอาหารและของหวานต่างๆ (4) ลูกเกด (Raisins) ซึ่งเป็นองุ่นแห้งมีจำหน่ายทั่วไป มีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น Thompson ไร้เมล็ดและ Sultana  และมักใช้ในการอบขนมและทำอาหาร  (5) ลูกพรุน (Prunes) มีรสหวาน ฝาดเล็กน้อย และมักนิยมรับประทานเป็นของว่างหรือใช้ในการปรุงอาหารและอบขนม (6) แอปเปิ้ล โดยทั่วไปแล้วมีรสหวานและเคี้ยวง่าย เป็นของว่างที่สะดวกและดีต่อสุขภาพ (7) มะม่วงอบแห้งฝานเป็นที่นิยมในยูเออี โดยเฉพาะสินค้าจากฟิลิปปินส์ (8) สับปะรดอบแห้งนิยมใช้ทำขนมหรือผสมโยเกิร์ตผลไม้ (9) มัลเบอร์รี่ (Mulberry) อบแห้งกำลังได้รับความนิยมในยูเออี ผลเบอร์รี่ที่มีรสหวานและเคี้ยวหนึบนี้เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และนิยมรับประทานเป็นของว่างเพื่อสุขภาพหรือใช้ในการปรุงอาหารต่างๆ

ปัจจุบันผลไม้อบแห้งได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากเป็นของทานเล่นที่มีประโยชน์ การจำหน่ายมีทั้งการตักขายตามน้ำหนักในซูเปอร์มาร์เก็ต และจำหน่ายตามร้านขายถั่วและขนมหวานในแหล่งชุมชน  ผู้บริโภคนิยมใช้ผลไม้อบแห้งเป็นของว่างเสริฟพร้อมถั่วต่างๆ รับประทานกับน้ำชา จัดเป็นชุดของขวัญมอบในโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเดือนถือศีลอด (Ramadan)

การนำเข้า

ยูเออีนำเข้าผลไม้อบแห้งจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคหลากหลายเชื้อชาติในประเทศ โดยมีมูลค่าการนำเข้าในช่วงปี 2562-2564 ดังนี้ ปี 2562 มูลค่า 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 2563 มูลค่า 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มเป็นมูลค่า 3.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 ส่วนช่องทางการจำหน่าย มีทั้งซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านชำ ร้านขายของเฉพาะ ร้านค้าในปั๊มน้ำมัน ร้านจำหน่าย สินค้าเพื่อสุขภาพ เป็นช่องทางหลัก ในขณะที่ช่องทางการจำหน่ายทางออนไลน์ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา

การส่งออกของไทย

ผลไม้แห้งที่ไทยส่งออกไปยูเออี เช่น  สับปะรดอบแห้ง  มะละกออบแห้ง กีวีอบแห้ง มะม่วงอบแห้ง  และส้มอบแห้ง เป็นต้น

การส่งออกของไทยไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างปี 2564-2566 (ม.ค.-มี.ค.)

ชื่อสินค้า ข้อมูล:ล้านบาท อัตราการขยายตัว (%) สัดส่วน (%)
  2564 2565 2566

(ม.ค.-มี.ค.)

2564 2565 2566

(ม.ค.-มี.ค.)

2564 2565 2566 (ม.ค.-มี.ค.)
1. สับปะรดแปรรูป 308.1 418.3 92.2 135.1 35.8 -17.0 60.08 68.5 65.35
2. ผลไม้แปรรูปอื่น ๆ 200.9 191.6 48.8 68.5 -4.7 36.8 39.18 31.37 34.63
3. ส้มแปรรูป 3.8 0.8 0.0 1134.4 -80.3 0.0 0.74 0.12 0.02
มูลค่ารวม 512.8 610.6 141.1 104.6 19.1 -3.9 100 100 100

ที่มา : กรมศุลกากร

 

     แนวโน้มตลาดและความเห็นของ สคต. ณ เมืองดูไบ

  1. ความต้องการอาหารว่างเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น: พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงสู่การกินเพื่อสุขภาพและให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการขนมขบเคี้ยวที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามธรรมชาติ ผลไม้แห้จึงถือเป็นทางเลือกที่สะดวกและมีประโยชน์ต่อสุขภาพและน่าสนใจสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ
  2. 2. ความหลากหลายของการเลือกซื้อผลไม้แห้งทั้งแบบดั้งเดิมและแปลกใหม่ ผู้นำเข้าและห้างค้าปลีก ได้ขยายกลุ่มสินค้าผลไม้ เช่น เบอร์รี่ มะม่วง สับปะรด ความหลากหลายนี้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหลากหลายเชื้อชาติในประเทศ
  3. 3. จากช่องทางการค้าปลีกที่หลากหลายนำไปสู่ความนิยมและการเข้าถึงผลไม้แห้งทำให้ปริมาณการค้าปลีกเพิ่มขึ้น นอกจากผลไม้แห้งมีจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าขายถั่วและขนมหวาน ยังมีแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ความสะดวกในการซื้อผลไม้แห้ง และเข้าถึงฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น
  4. 4. ปัจจุบันผู้บริโภคในยูเออีมักนิยมใช้ผลไม้แห้งเป็นของขวัญสำหรับเทศกาลและโอกาสพิเศษแทนช็อคโกแลตเพิ่มมากขึ้น

 

 

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login