หน้าแรกTrade insightเกษตรอื่นๆ > สถานการณ์ตลาดดอกไม้ในมณฑลยูนนาน และโอกาสของกล้วยไม้ไทย สคต.คุนหมิง

สถานการณ์ตลาดดอกไม้ในมณฑลยูนนาน และโอกาสของกล้วยไม้ไทย สคต.คุนหมิง

1.วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมดอกไม้ในมณฑลยูนนาน

นับตั้งแต่มีการใช้ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีนฉบับที่ 13” มณฑลยูนนานครองอันดับ 1 ของจีนในแง่ของปริมาณการผลิตและประเภทพันธุ์ของดอกไม้ พันธุ์ของไม้ตัดดอกในมณฑล     ยูนนานที่ได้จดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณไม้ตัดดอกทั่วประเทศจีน และมีกาผลักดันการประชาสัมพันธ์ดอกไม้ยูนนานอีก 800 กว่าประเภท

1.ภาพรวมของอุตสาหกรรมดอกไม้ในมณฑลยูนนาน

1.1 พื้นที่เพาะปลูกดอกไม้

ยูนนานเป็นมณฑลที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมดอกไม้มาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของสมาคมดอกไม้จีน สหพันธ์อุตสาหกรรมดอกไม้ยูนนาน กรมวิชาการเกษตรและกิจการชนบทแห่งมณฑลยูนนาน พบว่า ตั้งแต่ปี 2554 – 2565 พื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ในมณฑลยูนนานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.16-84.60 ของสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ทั่วประเทศไทย โดยในปี 2563 พื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ในมณฑลยูนนานมีมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งมณฑลยูนนานทำสถิติสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าร้อยละ 80 ติดต่อกัน 3 ปี

1.2 พื้นที่ผลิตไม้ตัดดอก

มณฑลยูนนานเป็นอันดับ 1 ของจีนในแง่ของพื้นที่ปลูกไม้ตัดดอกสด และเป็นมณฑลที่มี         การเพาะปลูกไม้ตัดดอกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดอกไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ดอกกุหลาบ ดอกคาร์เนชัน ดอกลิลลี่ ดอกไลเซนทัส ดอกเยอบีร่า และดอกไฮเดรนเยีย ทั้งนี้ ดอกกุหลาบคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของปริมาณการผลิตไม้ตัดดอกทั้งปีของมณฑลยูนนาน และคิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณดอกกุหลาบทั่วประเทศจีน ส่วนดอกคาร์เนชันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตไม้ตัดดอกทั้งปีของมณฑล     ยูนนาน และคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณการผลิตไม้ตัดดอกคาร์เนชันทั่วประเทศจีน นอกจากนี้ ไม้ตัดดอกประเภทอื่น ๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของปริมาณการผลิตไม้ตัดดอกทั่วมณฑลยูนนาน ในขณะเดียวกัน ยูนนานยังเป็นหนึ่งมณฑลที่เป็นฐานการผลิตไม้กระถางและพืชอาบน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนอีกด้วย

3.มูลค่าการนำเข้า – ส่งออกดอกไม้ของมณฑลยูนนาน

  • สถิติการนำเข้า – ส่งออก ระหว่าง มณฑลยูนนาน – ทั่วโลก

จากสถิติ Global Trade Atlas การค้าดอกไม้ระหว่างประเทศของมณฑลยูนนาน – ทั่วโลก เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2566 มีมูลค่ารวม 75.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.60 แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 64.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.16 และมูลค่าการนำเข้า 10.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.50 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

  • สถิติการนำเข้า – ส่งออก ระหว่าง มณฑลยูนนาน – ไทย

จากสถิติ Global Trade Atlas การค้าดอกไม้ระหว่างประเทศของมณฑลยูนนาน – ทั่วโลก เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2566 มีมูลค่ารวม 75.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.60 แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 64.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.16 และมูลค่าการนำเข้า 10.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.50 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

4.โอกาสของดอกกล้วยไม้ไทยในมณฑลยูนนาน

– มณฑลยูนนานเป็นแหล่งเพาะปลูกกล้วยไม้ที่สำคัญของจีน โดยเฉพาะสกุลซิมบิเดียม มีการปลูกกล้วยไม้ประมาณ 133 สายพันธุ์ รวม  684 ชนิด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.18 ของประเทศจีน ทั้งนี้     สายพันธุ์ดอกกล้วยไม้ยูนนานส่วนใหญ่มีสีสันที่ไม่ฉูดฉาดและดอกเล็กกว่าสายพันธุ์กล้วยไม้ของไทย ทำให้มีความแตกต่างกับดอกกล้วยไม้ไทยที่มีสีสันและดอกที่สวยงาม ส่งผลให้ดอกกล้วยไม้ไทยมีโอกาสในตลาดจีน รวมถึงตลาดมณฑลยูนนาน และมีความต้องการนำเข้าดอกกล้วยไม้จากไทยอย่างต่อเนื่อง

– มณฑลยูนนานมีตลาดกลางค้าดอกไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ภายใต้ชื่อตลาดดอกไม้โต่วหนาน โดยมีผู้เข้ามาทำการซื้อขายดอกไม้ในตลาดประมาณ 20,000 คน/วัน ทั้งการประมูล การค้าส่งและ       ค้าปลีกในปัจจุบันตลาดดอกไม้โต่วหนานมีการจำหน่ายดอกไม้มากกว่า 100 ชนิด และจะมีการส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ มากกว่า 40 ประเทศ นอกจากนี้ยังจำหน่ายไปยังเมืองต่าง ๆ ภายในประเทศจีน เช่น กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ นครหางโจว เมืองเซินเจิ้น นครเสินหยาง นครอู่ฮั่น นครอูหลูมู่ฉี นคร       จี่หนาน และนครเจิ้งโจว โดยภาพรวมตลาดโต่วหนานจะมีปริมาณการซื้อขายดอกไม้เฉลี่ยสูงถึง 2 ล้านดอก/วัน และมีร้านค้าส่งดอกไม้ขนาดใหญ่จากทั่วประเทศจีนรวม 1,800 ราย เข้ามาดำเนินทำธุรกิจในตลาดดอกไม้โต่วหนาน ด้วยเหตุนี้ ทำให้เป็นช่องทางและโอกาสของผู้ส่งออกสินค้าดอกกล้วยไม้ที่จะสามารถเข้ามาทำตลาดในประเทศจีนผ่านด่านนำเข้าในมณฑลยูนนาน

– เนื่องจากมณฑลยูนนานมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับประเทศไทย ทำให้การขนส่งมี      ความสะดวก กล้วยไม้ไทยขนส่งไปยังมณฑลยูนนานทั้งทางอากาศและทางบก ด้วยเส้นทางกรุงเทพ-    คุนหมิง (R3A) ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งทางบกระหว่างชายแดนไทยกับชายแดนจีนที่ใกล้ที่สุด และสะดวกรวดเร็ว รวมถึงเป็นตลาดการค้ากล้วยไม้ที่เชื่อมสู่มณฑลในภาคตะวันตกของจีนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

– ชาวยูนนานมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น สามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีความแตกต่างหรือมีราคาสูงกว่าสินค้าท้องถิ่น ทำให้กล้วยไม้ไทยมีโอกาสที่จะเข้ามาเจาะตลาดจีน โดยปกติแล้วผู้บริโภคชาวยูนนานเลือกซื้อกล้วยไม้ไทย เพื่อใช้ในงานรื่นเริง

– ปัจจุบันพันธุ์กล้วยไม้ไทยในตลาดจีนที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Dendrobium, Phalaenopsis, Oncidium และ Vanda เนื่องจากมีสีสันสดใสและสวยงาม

– ชาวยูนนานนิยมนำดอกกล้วยไม้มาตกแต่ง เพื่อความสวยงามเป็นหลัก เช่น สนามบิน โรงแรม ภัตาคารและร้านอาหาร เป็นต้น

– ชาวยูนนานนิยมนำดอกกล้วยไม้มอบเป็นของขวัญในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่         วันปีใหม่ เป็นต้น

 

ความคิดเห็น สคต.

          เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศของมณฑลยูนนาน ทำให้มณฑลยูนนานเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะดอกไม้ที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์เป็นอย่างมาก นับว่าเป็นมณฑลที่รวมดอกไม้ตัดดอกที่ใหญ่ที่สุดในจีนและเอเชีย อย่างไรก็ตาม สินค้าดอกไม้บางชนิดเช่นดอกกล้วยไม้ของมณฑลยูนนานมีความแตกต่างจากดอกกล้วยไม้ของไทยเป็นอย่างมาก ชาวจีนมักนิยมเลือกซื้อดอกกล้วยไม้ของไทยมากกว่า เนื่องจากมีสีสันและดอกที่สวยงาม     มีจุดแข็งในด้านอายุการใช้งาน และที่สำคัญแม้ว่ามณฑลยูนนานจะสามารถปลูกกล้วยไมได้หลายชนิด      แต่ก็ยังไม่สามารถปลูกกล้วยไม้สายพันธุ์แบบไทยได้ ทำให้ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าดอกกล้วยไม้จากไทยอยู่ นอกจากนี้ มณฑลยูนนานมีศูนย์ประมูลดอกไม้นานาชาติแห่งใหญ่ จึงเป็นโอกาสที่สำคัญในการขยายตลาดกล้วยไม้ไทยมายังมณฑลยูนนานและขยายต่อไปทั่วประเทศจีน ซึ่งจีนเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยด้วยกำลังการซื้อที่กำลังเติบโต

อย่างไรก็ตาม ตลาดกล้วยไม้ของจีนเป็นที่สนใจของประเทศผู้ส่งออกกล้วยไม้รายอื่น ๆ ผู้ส่งออกจึงต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากกล้วยไม้ของประเทศคู่แข่งขันและกล้วยไม้ของจีนเอง ผู้ส่งออกจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านสายพันธุ์ คุณภาพ ราคา การเพิ่มมูลค่ากล้วยไม้ เพื่อแบ่งชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูก      ดอกกล้วยไม้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าตั้งแต่ระดับต้นน้ำ ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสายพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ

 

*****************************************

แหล่งที่มา : https://baijiahao.baidu.com/s?id=1775168928669993281&wfr=spider&for=pc

สคต. คุนหมิง

อ่านข่าวฉบับเต็ม : สถานการณ์ตลาดดอกไม้ในมณฑลยูนนาน และโอกาสของกล้วยไม้ไทย สคต.คุนหมิง

Login