หน้าแรกTrade insightธุรกิจ Logistics > สถานการณ์การพัฒนาธุรกิจ E-commerce ของจีนในช่วง 9 เดือนแรก

สถานการณ์การพัฒนาธุรกิจ E-commerce ของจีนในช่วง 9 เดือนแรก

สถานการณ์การพัฒนาธุรกิจ E-commerce ของจีนในช่วง 9 เดือนแรก

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 กระทรวงพาณิชย์ของประเทศจีน รายงานข้อมูลสถานการณ์การพัฒนาธุรกิจ E-commerce ของจีนในช่วง 9 เดือนแรกว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 การค้า E-commerce มีบทบาทที่สำคัญมากในการขยายอุปสงค์ภายในประเทศ การพัฒนาการค้าต่างประเทศ และการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 4 ข้อหลักๆ ดังนี้

การขายปลีกทางออนไลน์ขับเคลื่อนให้การบริโภคเติบโตอย่างเห็นได้ชัดแจน ช่วง 9 เดือนแรก ประเทศจีนจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายผ่านทางออนไลน์มากกว่า 100 ครั้งเพื่อดึงดูดการบริโภคอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้การขายปลีกทางออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว จากช้อมูลของกรมสถิติ พบว่าช่วง  9 เดือนแรก มูลค่าขายปลีกทางออกไลน์ของทั้งประเทศจีนอยู่ที่ 10.8 ล้านล้านหยวน เติบโตร้อยละ 11.6 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของมูลค่าขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคทางสังคม ร้อยละ 4.8 นอกจากนี้ ยังทำให้สินค้าหลายประเภทได้รับความนิยมทางออนไลน์ อาทิ สินค้าอัญมณี เครื่องประดับเงินและทองคำ เครื่องอุปกรณ์สื่อสาร สินค้าประเภทสุรา เป็นต้น ยอกจากนี้ ยังทำให้ธุรกิจบริการทางออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่งเสริมให้มูลค่าการจำหน่ายบริการการท่องเที่ยวและการบันเทิงผ่านทางช่องทางออนไลน์เติบโตร้อยละ 241.1 และ 94.9 ตามลำดับ รวมถึงธุรกิจบริการอาหารเติบโตกว่าร้อยละ 27.4

ธุรกิจไลฟ์สด E-commerce มีแนวโน้มพัฒนาอย่างแข็งแกร่ง ประเทศจีนมีการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจไลฟ์สด และคลิปวีดีโอในรูปแบบ E-commerce อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยประโยชน์จากศูนย์สาธิต E-commerce ระดับประเทศและบริษัทนำร่องของแต่ละมณฑล กล่าวคือ ปัจจุบัน ประเทศจีนมีศูนย์สาธิต E-commerce ระดับประเทศทั้งหมด 170 แห่ง โดยมี 151 แห่งได้จัดตั้งสถานีไลฟ์สด ช่วง 9 เดือนแรก มูลค่าการจำหน่ายสินค้าผ่านไลฟ์สดของทั้งประเทศจีนสูงถึง 1.98 ล้านล้านหยวน เติบโตร้อยละ 60.6 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.3 ของมูลค่าขายปลีกทางออนไลน์ นอกจากนี้ การพัฒนาธุรกิจไลฟ์สดดังกล่าวยังส่งเสริมการประกอบธุรกิจและประกอบอาชีพของสังคมจีนด้วย ซึ่ง KOL ที่มีอยู่ในธุรกิจไลฟ์สดใน E-commerce จำนวน 3.374 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 164.3 โดยเฉพาะในเมืองโดดเด่น เช่น เมืองอี้วูของมณฑลเจ้อเจียงมีบริษัทที่ขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจ E-commerce ใหม่ที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของจำนวนบริษัทขึ้นทะเบียนทั้งหมด เมืองผู่เจียงของมณฑลเสฉวน ได้สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมธุรกิจไลฟ์สด E-commerce สำหรับสินค้าเกษตร โดยได้ดึงดูด 3 หมื่นคนมาประกอบอาชีพ จากประชากร 2.8 แสนคน นอกจากนี้ ไลฟ์สด E-commerce ยังได้ส่งเสริมการยกระดับการพัฒนาของธุรกิจด้วย เช่น บริษัทสามารถไลฟ์สดเอง โดยไม่จ้าง KOL มีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 และรูปแบบการไลฟ์สดจากปกติอยู่ในห้องที่จัดเตรียมไว้ เป็นการไลฟ์สดที่ร้านค้าจำหน่าย โรงงาน หรือการไลฟ์การเดินไปทางตลาด และสถานที่ต่างๆ เป็นต้น รวมถึงทำให้แบรนด์ดั้งเดิมของจีนเริ่มหันมาทดลองใช้รูปแบบไลฟ์สดในการขยายช่องทางการจำหน่าย

E-commerce ของจีนส่งเสริมให้อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมมีการยกระดับมากยิ่งขึ้น

ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเกษตรยกระดับไปสู่ความเป็นดิจิทัล โดยรัฐบาลจีนมีการสนับสนุนจัดกิจกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรด้วยดิจิทัล ผ่านธุรกิจ E-commerce ในมณฑลที่เน้นการพัฒนาเกษตรเป็นหลัก และมณฑลที่ยังไม่ค่อยมีการพัฒนา เช่น มณฑลเจียงซีและมณฑลกุ้ยโจว ขับเคลื่อนให้การผลิตสินค้าเกษตรได้เป็นมาตรฐานและเป็นขนาด ช่วง 9 เดือนแรก มูลค่าขายปลีกผ่านทางออนไลน์ในชนบทของทั้งประเทศจีนอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านหยวน เติบโตร้อยละ 12.2 โดยมีตัวอย่างที่โดดเด่นคือ เกษตรกรของเมืองม่าวหมิง มณฑกวางตุ้ง ที่สามารถจำหน่ายลิ้นจี่ผ่านช่องทาง            E-commerce ที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลท้องถิ่น มีมูลค่าการค้าสูงถึง 23,500 ล้านหยวน

ส่งเสริมให้ธุรกิจ E-commerce และภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้พัฒนาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เหล็กกล้า และวัสดุก่อสร้าง มีการวางจำหน่ายผ่านแพลดฟอร์ม E-commerce และให้บริการทางออนไลน์แบบครบวงจร ซึ่งมีมูลค่าการจำหน่ายกว่า 1 พันล้านหยวน นอกจากนี้ ศูนย์สาธิต E-commerce ระดับประเทศยังช่วยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการจัดตั้งแถบอุตสาหกรรมความเป็นดิจิทัล จำนวนมากกว่า 10 แห่ง ในสาขาธุรกิจเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์

 E-commerce ข้ามพรมแดนของจีนเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของโลก

เป็นแรงขับเคลื่อนใหม่สำหรับการค้าทวิภาคี ในช่วง 9 เดือนแรก ประเทศจีนมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ E-commerce ทวิภาคีกับประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ซึ่งทำให้ประเทศคู่ค้า “เส้นทางสายไหม E-commerce” เพิ่มเป็น 30 ประเทศ และได้จัดกิจกรรมรวบรวมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เอเชียกลางบนคลาวด์ กิจกรรมจัดซื้อสินค้าดีเด่นของอาเซียน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้          ลงนามในข้อริเริ่มเสริมสร้างความร่วมมือ E-commerce ระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ศุลกากรเปิดเผยตัวเลขในช่วง 9 เดือนแรก มูลค่าการนำเข้าและส่งออกในรูปแบบ E-commerce ข้ามพรมแดนของจีนอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ส่วนมูลค่าการส่งออก กับ 30 ประเทศคู่ค้า “เส้นทางสายไหม E-commerce” คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 33

ประเทศจีนขยายโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกับประเทศต่างๆ โดยได้จัดสัมมนาบนดลาวด์โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิกเอเซียกลาง อาเซียน ยุโรป เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จในการใช้ E-commerce ของจีนและเสริมสร้างความร่วมมือการในสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยมีผู้เข้าร่วสัมมนาดังกล่าวกว่า 1,000 ราย นอกจากนี้ ยังได้จัดเสวนาเศรษฐกิจดิจิทัล BRICS และฟอรัมเส้นทางสายไหม E-commerce จีน – อาเซียน (China-ASEAN Silk Road E-commerce Forum) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับหน่วยงานวิสาหกิจ และช่วยประเทศคู่ค้าเสริมสร้างสิ่งอำนวยความพื้นฐานทางดิจิทัล และส่งเสริมให้บริษัท E-commerce ขยายไปตลาดต่างประเทศ กระตุ้นให้ภาคโลจิสติกส์ใช้ระบบสมาร์ท การชำระเงินเคลื่อนที่ การคำนวนบนคลาวด์ เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพในทุกห่วงโซ่อุตสาหกรรม

การเร่งสร้างความเข็มแข็งสําหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า เร่งสร้างพื้นที่นําร่องความร่วมมือ “เส้นทางสายไหม E-commerce” สํารวจวิถีนวัตกรรมกลไล และเร่งขยายให้ระเบียบการค้าเปิดกว้างมากขึ้น

ความเห็นสคต. E-commerce ของประเทศจีนได้มีพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพแบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นโอกาสและช่องทางการค้าในการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะรูปแบบขายปลีกผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce ที่ได้รับความนิยมในจีน อาทิ Taobao, Tmall, JD.com, Pinduoduo, vip.com, Douyin (Tiktok) เป็นต้น สำหรับสินค้าไทยในตลาดจีนหลายประเภทก็มีการจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวแล้ว อาทิ สินค้าอาหาร ขนมขบเคี้ยว ข้าว เครื่องปรุงรส เครื่องดื่ม ผลไม้สด ของใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น ซึ่งรูปแบบการจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce ในรูปแบบ Cross Border ในตลาดจีน  ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุน เวลา และกระบวนการบางขั้นตอนในการขายสู่ประเทศปลายทางได้ดีกว่าการขายในรูปแบบปกติ โดยบริษัทต่างชาติไม่จำเป็นต้องเข้ามาเปิดบริษัทในจีนก็สามารถขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคชาวจีน นอกจากนี้ ภาครัฐของจีนมีการส่งเสริมการค้า Cross-Border E-Commerce โดยได้จัดตั้งพื้นที่ทดลองการค้าข้ามพรมแดน (Cross-Border E-Commerce Pilot Zone) จำนวน 105 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และศุลกากรของจีนยังได้ร่วมมือกันปรับปรุงนโยบายการเก็บภาษีนำเข้าทาง E-Commerce ระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันผู้บริโภคชาวจีนที่สั่งซื้อสินค้านำเข้าผ่านรูปแบบ CBEC หากมีมูลค่าการสั่งซื้อไม่เกิน 5,000 หยวนต่อครั้งและไม่เกิน 26,000 หยวนต่อปี จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า โดยจะมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเพื่อการบริโภคเพียงร้อยละ 70 ของอัตราปกติที่เรียกเก็บ และยังมีการผ่อนปรนทางด้านใบอนุญาตทางสุขอนามัยสำหรับสินค้าบางประเภทด้วย จึงนับได้ว่าช่องทางการจำหน่ายสินค้าดังกล่าว ผู้ประกอบการไทยจะพิจารณาใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางการค้า รวมถึงได้มีการพัฒนาส่งเสริมการขายผ่านไลฟ์สด เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้ามากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจข้อมูลทางตลาด E-commerce ของจีนเพิ่มเดิม สามารถติดต่อ สคต.หนานหนิงทาง Email: thaitcnanning@ditp.go.th

ที่มา :

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง

 http://www.hn.chinanews.com.cn/news/2023/1020/481855.html

https://www.sohu.com/a/307716696_260616

Login