“วัฒนธรรมเสื้อผ้ามือสอง” กำลังได้รับความนิยม ในหมู่คนหนุ่มสาว ส่งผลให้ราคาซื้อขายเสื้อผ้ามือสองพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากอุปทานของสินค้าไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ในขณะที่การแข่งขันในการจัดซื้อเพิ่มสูงขึ้น และเส้นทางการหมุนเวียนที่ซับซ้อนของการจำหน่าย เผยให้เห็นถึงความยากลำบาก ของการนำเสื้อผ้ากลับมาใช้ใหม่
คนหนุ่มสาวสวมแจ็กเก็ตทรงหลวมและกางเกงยีนส์ขาด เป็นภาพปกติทั่วไปที่พบได้ในเขตชิโมคิตะซาวะ ซึ่งจะคึกคักในช่วงบ่ายของวันธรรมดา แม้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จำนวนร้านเสื้อผ้ามือสองก็เพิ่มขึ้นจาก 40 แห่ง เป็น 50 แห่ง และขณะนี้มีร้านค้าเกือบ 200 แห่ง
ปริมาณเสื้อผ้าใช้แล้วนำเข้าในปี 2022 สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาเกิน 10,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้ามือสองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับความนิยม Tsutomu Iizuka ประธานร้านขายเสื้อผ้ามือสอง “ฮาราจูกุชิคาโก” กล่าวว่า “ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายในประเทศมีลักษณะเหมือนและคล้ายกันมากขึ้น ในทางกลับกันก็มีผลให้สูญเสียความน่าดึงดูด ผู้คนที่กำลังมองหาแฟชั่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก็หันมาเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าของพวกเขาแทน”
การแข่งขันด้านการจัดซื้อมีความรุนแรงขึ้น โดยราคาการจัดซื้อนั้นสูงขึ้น เมื่อคำนวณจากสถิติการค้า ราคานำเข้าต่อกิโลกรัมในปี 2022 เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว แม้จะพิจารณาจากค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งไม่รวมผลกระทบของเงินเยนที่อ่อนค่า “ฉันรู้สึกว่าราคาได้เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 20 ในช่วงสี่ถึงห้าปีที่ผ่านมา” มิชิโอะ ซูซูกิ ประธานร้านเสื้อผ้ามือสอง Desert Snow กล่าว โดยสินค้าวินเทจ เช่น จากปี 1940 และ 1950 อาจมีราคาสูงถึง 10 ล้านเยน
เสื้อผ้ามือสองกำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก มีผู้จัดซื้อจากหลายชาติทั้งจากยุโรปและจีนเข้ามาร่วมวงเพิ่มมากขึ้น “แม้ว่าราคาของเสื้อผ้ามือสองในตลาดโลกจะสูงขึ้น แต่ก็ยังยากที่จะส่งต่อราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ไปยังราคาร้านค้าในญี่ปุ่น ส่งผลให้ผู้จัดหาสินค้าไม่สามารถแข่งขันการจัดซื้อกับบริษัทในยุโรปที่สามารถเพิ่มราคาขายปลีกได้อย่างรวดเร็ว” (ประธานซูซูกิ) ในทางกลับกันส่วนหนึ่งต้องขอบคุณเงินเยนที่อ่อนค่า ทำให้ผู้ซื้อชาวยุโรปเดินทางมาญี่ปุ่นเพื่อซื้อสินค้าจำนวนมาก ที่ชิโมคิตะซาว่า
เสื้อผ้ามือสอง จากผู้ผลิตในประเทศซึ่งเชื่อว่ามีปริมาณการจำหน่ายจำนวนมาก ก็มีราคาสูงขึ้นตามความนิยมเช่นกัน จากข้อมูลของ Aucfan ซึ่งดำเนินการเครื่องมือวิเคราะห์ราคา ราคาประมูลที่สำเร็จโดยเฉลี่ยในการประมูลออนไลน์อยู่ที่ 6,347 เยนสำหรับเสื้อผ้าผู้ชาย (การสำรวจเดือนกันยายน) ซึ่งสูงกว่าเมื่อห้าปีที่แล้วประมาณร้อยละ 10 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19
สาเหตุของการขึ้นราคา ก็เนื่องมาจากเหตุผลด้านอุปทานเช่นกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องกล่าวว่าในปี 2023 “เสื้อผ้ามือสองมีจำนวนลดลงทั้งในโลกและในญี่ปุ่น” ดูเหมือนว่าครัวเรือนมักจะขายเสื้อผ้ามือสอง หลังจากซื้อไปแล้วสองถึงสามปี ดูเหมือนว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อการซื้อสินค้าใหม่ในช่วงก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม เสื้อผ้ามือสองที่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นซื้อ คิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของจำนวนเสื้อผ้าทั้งหมดที่มีการผลิตขึ้น แม้ว่าแนวโน้มการนำกลับมาใช้ใหม่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น แต่การจำหน่ายเสื้อผ้ามือสอง จะมีการจำหน่ายในเสื้อผ้ายอดนิยมและอยู่ในสภาพดีเพียงบางรายการเท่านั้น การแพร่กระจายของฟาสต์แฟชั่นได้เพิ่มอุปทานของสินค้ามือสองเพิ่มก็ตาม โดยมีจำนวนผู้ที่นำเสื้อผ้ามือสองมาจำหน่ายเพิ่มขึ้น แต่เสื้อผ้าดังกล่าวมักจำหน่ายไม่ได้ราคา” เจ้าหน้าที่ร้านรีไซเคิลกล่าว
เดิมทีแล้ว การจำหน่ายเสื้อผ้าใช้แล้วเป็นธุรกิจที่มุ่งเป้าไปที่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเสื้อผ้าใช้แล้วจากในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ครั้งหนึ่งมักจะเคยถูกส่งออกไปยังมาเลเซียและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อทำการคัดแยกกองเสื้อผ้าเหล่านั้นด้วยมือ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ โดยประเทศเหล่านั้นได้เปรียบ เนื่องจากมีค่าแรงต่ำ ทำให้สามารถจ้างคนงานมาคัดแยกได้ในราคาต่ำ
ขนาดของตลาดเสื้อผ้าใช้แล้วในประเทศญี่ปุ่นยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าปริมาณการส่งออกในปี 2022 ที่มีจำนวนมากถึง220,000 ตัน จะสูงกว่าปริมาณการนำเข้าอย่างมีนัยสำคัญที่ ยิ่งไปกว่านั้น เสื้อผ้าที่ใช้แล้วส่วนใหญ่ ที่ไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่กำลังมองหาเสื้อผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะถูกส่งไปจำหน่ายในประเทศกำลังพัฒนาในราคาที่ต่ำกว่า
ที่มาข่าวและรูปภาพ : เข้าถึง วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566
https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUB201340Q3A021C2000000/
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)