KK Group Company Holdings Ltd. (https://www.kkgroup.cn/kkv) เป็นกลุ่มบริษัทผู้ค้าปลีกสินค้าความงามและไลฟ์สไตล์ทันสมัยสัญชาติจีน ที่ใช้กลยุทธ์รวบรวมหลากหลายแบรนด์ทั้งจากในจีนและต่างประเทศมุ่งเน้นความสวยงามและความคิดสร้างสรร ปัจจุบัน บริษัท KK Group มี 4 แบรนด์หลักในเครือ ได้แก่ KKV (ร้านค้าปลีกไลฟ์สไตล์) , The Colorist (ร้านค้าปลีกเฉพาะด้านความงาม) , X11 (ร้านค้าปลีกเฉพาะทางแนวป๊อปสมัยใหม่ระดับโลก ) และ KK Guan (ไลฟ์สไตล์มินิมาร์ท) ซึ่งมีร้านค้ารวมทั้งหมด 696 แห่ง ครอบคลุม 31 เขตปกครองตนเองต่า งๆ และมณฑล ทั่วประเทศจีน และ อีก 22 เมืองในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีร้านแบรนด์ KKV 402 แห่ง ร้านแบรนด์ The Colorist 198 แห่ง ร้านแบรนด์ X11 47 แห่ง และร้านแบรนด์ KK Guan 49 แห่ง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลรายได้ของบริษัท โดยในปี 2565 บริษัทมีได้รายรวมอยู่ที่ 3,551 ล้านหยวน และในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 มีรายได้อยู่ที่ 1,446 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.85 YoY มีผลกำไรจากการดำเนินงาน 131 ล้านหยวน และผลกำไรสุทธิ 86 ล้านหยวน
แบรนด์ในเครืออย่าง KKV และ The Colorist ได้กลายเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินธุรกิจหลักของ บริษัท KK Group ที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทถึงร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท จำนวนร้าน KKV 402 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 57.8 ของจำนวนร้านทั้งหมด ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 แบรนด์สามารถสร้างรายได้ถึง 1,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 650 ล้านหยวน และ แบรนด์ The Colorist ที่นำเสนอสินค้าด้านความงามที่ได้รวบรวมแบรนด์ในประเทศกว่า 230 แบรนด์ และแบรนด์จากต่างประเทศกว่า 178 แบรนด์ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ออกสู่ตลาด มีการจำแนกประเทศสินค้าถึง 2,200 SKU โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 แบรนด์สร้างรายได้สูงถึง 236 ล้ายหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.5 YoY นอกจากนี้ แบรนด์อายุน้อยที่สุดในเครือ KK Group อย่าง X11 ก็มีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 แบรนด์สามารถสร้างยอดขายได้ 88.9 ล้านหยวน อัตราการขาดทุนลดลงเหลือ -7.9 % เชื่อว่าอีกไม่นานแบรนด์จะสามารถสร้างกำไรกลับมาตามแบรนด์รุ่นพี่เช่นกัน
ร้านแบรนด์ The Colorist ร้านแบรนด์ X11
แบรนด์ชั้นนำของ KK Group อย่าง KKV และ The Colorist มีการดำเนินงานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้ง ตลอดไปจนถึงการเลือกสินค้าและการจัดแต่งร้านค้า ทำให้แบรนด์เริ่มได้การยอมรับมากขึ้นในตลาด บริษัทมีการวางแผนแบรนด์ต่าง ๆ ให้มีความเข้าใจถึงกลยุทธ์ของการค้าปลีกสินค้าแฟชั่นเป็นอย่างดี โดยมีการเน้นทำการตลาดในสามด้านหลัก ดังนี้
- การสร้างคุณค่าของแบรนด์ ยุคใหม่ของการบริโภค ค่านิยมของแบรนด์จะสามารถเป็นเสียงสะท้อนความเป็นตัวตนของแบรนด์ และขยายไปยังพลังของการตลาดแบบปากต่อปากได้อย่างดีที่สุด จากการสำรวจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา KK Group มีการศึกษาและเข้าใจความต้องการกลุ่มคนหนุ่มสาวอย่างลึกซึ้ง บริษัทมีการนำเสนอแบรนด์อย่างกระตือรือร้น ที่เพิ่มขีดความสามารถในการยึดเหนี่ยวทางอารมณ์ของกลุ่มเป้าหมาย และการทำงานร่วมกันแบบโต้ตอบกับลูกค้า เพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าของแบรนด์อย่างลึกซึ้ง
- ให้ความสำคัญกับรูปแบบธุรกิจ บริษัทมีจากการจัดวางตำแหน่งของแต่ละแบรนด์ที่แตกต่างกัน ทำให้การมุ้นเน้นการดำเนินงานของแบรนด์มีความโดนเด่นที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและแฟชั่นแบบร่วมสมัย จากรูปแบบการว่างตำแหน่งที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสาร การรับรู้ ฉาก และประสบการณ์ที่แตกต่าง ทำให้ KK Group สามารถดึงดูกกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมิติผ่านข้อเสอนที่แต่กต่างกัน อาทิ ความงาม ไลฟ์สไตล์แฟชัน และความสนุกเพลิดเพลิน เป็นต้น
- พิถีพิถันในการเลือกผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ในร้านค้าของแบรดน์ภายใต้ KK Group ไม่เพียงแต่เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมทั่วไป แต่จะต้องเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เต็มไปด้วยคุณค่า สามารถนำความรู้สึก “ว้าว” มาสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญในการออกแบบพื้นที่ ฉาก และสีในร้านค้าให้สอดรับกับผลิตภัณฑ์มากที่สุด ปัจจุบัน แบรนด์ KKV มีการพัฒนาจากร้านยุค 1.0 เป็น 3.0 และแบรนด์ยังมีการวางแผนพัฒนารูปแบบร้านให้เข้ากับยุคสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น
จากการขยายตัวของธุรกิจ ทำให้บริษัทเริ่มกลับมาใช้กลยุทธ์การขยายสาขาอีกครั้งในปี 2566 หลังจากบริษัทหยุดขยายสาขาไปในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด บริษัทได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานการเปิดร้านโดยพิจารณาจากกระแสของลูกค้าที่มีอยู่ ในเดือนกรกฎาคม 2566 บริษัทได้เปิดตัวร้าน KKV 3.0 เพิ่มอีก 4 สาขาใหม่ในเมืองชางชุน มณฑลซานตง เมืองชื่อเฟิง เขตปกครองพิเศษมองโกเลียใน เมืองหูโจว มณฑลเจ้อเจียง และเมืองเซากวาง มณฑลกว่างตง ตัวอย่างร้าน KKV ที่สาขาเมืองหูโจว ก่อนเปิดร้านค้าอย่างเป็นทางการ มีลูกค้าเข้าเยี่ยมชมกว่า 3 หมื่นคน ในขณะเดียวกัน บริษัทก็วางแผนขยายร้านแบรนด์ The Colorist ไปสู่เมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน รวมถึงขยายครอบคลุมไปยังเมืองระดับสองและสาม โดยบริษัทวางแผนขยายเปิดสาขาใหม่อีก 250-300 แห่ง ในปี 2566 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 บริษัทกลับมาสร้างผลกำไรได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง หลังจากบริษัทได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งเป็นการตอกย้ำความสำเร็จด้านแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทได้เป็นอย่างดี
ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : ปัจจุบัน จากการแข่งขันของร้านค้าปลีก (Stores Retailing) ที่เพิ่มมากขึ้น หลายธุรกิจจึงต้องเริ่มหารูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบใหม่เพิ่มมากขึ้น สร้างความความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น รูปแบบร้านค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ เป็นอีกโมเดลธุรกิจที่น่าจับตามองสำหรับผู้ประกอบการ อย่าง KK Group ที่มีจำหน่ายครอบคลุมสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงอาหารเครื่องดื่ม ของกินเล่น และของใช้/อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง เรียกได้ว่า เป็นแหล่ง One Stop Service ของชาว GenZ ถูกจริตพฤติกรรมผู้บริโภคที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย และจากภาพลักษณ์ของแบรนด์ ยังสามารถส่งเสริมให้สินค้าดูมีระดับมากขึ้น เนื่องจากร้านค้าสามารถสร้างการรับรู้ด้านการคัดสรรสินค้าและบริการที่ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างพิถีพิถันแก่ผู้บริโภคโดยตรง รูปแบบแบรนด์ร้านค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ จึงเป็นอีกช่องทางการกระจายสินค้าได้อย่างหลากหลายมิติ ที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญ การนำแบรนด์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในร้านค้าจะเป็นส่วนช่วยในการกระจายสินค้า เสริมสร้างการรับรู้ด้านภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์สินค้า
https://mp.weixin.qq.com/s/p2rFcKqZJhHmpx7wQ0n1kw
เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
11 สิงหาคม 2566
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)