หน้าแรกTrade insightการค้าระหว่างประเทศ > รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนสิงหาคม 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนสิงหาคม 2566

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 มีฝนตกหนักในบริเวณถนนสายเอเชียเมียวดี-กอกอเร็ก ทำให้เกิดดินโคลนถล่มถนนจนถนนถูกตัดขาด ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าหลักจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผ่านทางเมืองเมียวดีมายังกรุงย่างกุ้ง ทำให้การขนส่งและการเดินทางสัญจรผ่านเส้นทางดังกล่าวล่าช้ากว่าปกติ ปัจจุบันเส้นทางดังกล่าวได้ถูกซ่อมแซมและกลับมาสัญจรได้เป็นปกติแล้วเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนกรกฎาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 76,323.426 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,429.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.97 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ

ในช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2566 ของปีงบประมาณ 2023-24 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 12,582.757 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.99% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในด้านของการส่งออกมีมูลค่า 5,930.936 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.02 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 6,651.821 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม 2566 เมียนมาเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 720.885 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49 อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ของเมียนมา มีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 6.81เพิ่มขึ้นจากปี 2565 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,228.54เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ดังตาราง

ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

ที่สำคัญ

ปี 2017 ปี 2018

 

ปี 2019

 

ปี 2020

 

ปี 2021

 

ปี 2022 ปี 2023

(คาดการณ์)

GDP Growth (%) 5.8 6.4 6.8 3.2 -17.9 -0.06 2.49
GDP (billions of US$) 61.27 66.7 68.8 81.26 66.74 63.05 66.59
GDP per Capita (US$) 1,180 1,270 1,300 1,530 1,250 1,170.09 1,228.54
Inflation (%) 4.62 5.94 8.63 5.73 3.64 6.47 6.81

ที่มา: IMF  https://www.imf.org/en/Countries/MMR#countrydata

       1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ ส.ค. 65 และ ส.ค. 66

ประเทศ/สหภาพ สกุลเงิน อัตรา

สิ้นเดือน ส.ค. 65

อัตรา

สิ้นเดือน ส.ค. 66

USA 1 USD 2,100 MMK 2,100.00 MMK
Euro 1 EUR 2,096.0 MMK 2,287.30 MMK
Singapore 1 SGD 1,501.00 MMK 1,552.60 MMK
Thailand 1 THB 57.534 MMK 59.846 MMK

ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินสกุลท้องถิ่นเมียนมาจ๊าตมีความผันผวน ในช่วงเดือนกรกฎาคมของปี 2566 เงินจ๊าตอ่อนค่าลงต่อทุกสกุลเงินเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยค่าเงินจ๊าตอยู่ที่อัตรา 2,100 MMK ต่อ 1 USD เนื่องจากการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางเมียนมา ทั้งนี้ ตลาดแลกเงินนอกระบบมีอัตราที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลาง โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ผระมาณ 3,600 จ๊าตต่อ 1 USD

กราฟแสดงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมียนมาจ๊าต (MMK) ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ช่วงเดือนสิงหาคม 2566

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อยู่ที่ 2,100 MMK ต่อ 1 USD เพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตราที่แท้จริงในตลาดแลกเงินท้องถิ่น และเป็นอัตราคงที่ สําหรับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,100 จ๊าต ต่อ 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเมียนมาจะออกประกาศเพิ่มเติม หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง

 1.3 ภาวะการลงทุน

1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ

ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนกรกฎาคม 2566 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 467.793 เหรียญสหรัฐ ดังตาราง

ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – กรกฎาคม 2566

อันดับ ประเทศ มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.-ก.ค. 66

สัดส่วน (%)
1 สิงคโปร์ 335.162 71.65%
2 จีน 124.079 26.52%
3 ฮ่องกง 3.159 0.68%
4 ไต้หวัน 2.200 0.47%
5 ซามัว 1.00 0.21%
6 อังกฤษ 0.717 0.15%
7 อินเดีย 0.600 0.13%
8 สหรัฐอเมริกา 0.376 0.08%
9 เกาหลีใต้ 0.500 0.11%
รวม 467.793 100%

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนกรกฎาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,261.615 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,609.573 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.47 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 154 โครงการ

ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนกรกฎาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 76,323.426 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,429.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.97 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ

 ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ

ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2023 – 2024 ในเดือนมิถุนายน 2566 ได้แก่ ธุรกิจการผลิต สัดส่วนร้อยละ 92.65 และธุรกิจเกษตรกรรม สัดส่วนร้อยละ 7.35 รายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ปีงบประมาณ 2022-2023 (เม.ย. – ก.ค. 66)

อันดับ ประเภทธุรกิจ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.65 – มี.ค. 66

มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย. – ก.ค. 66

สัดส่วน (%)
1 Power 820.270 317.718 67.92%
2 Transport&Communication 77.820 16.64%
3 Services 504.123
4 Manufacturing 271.806 48.745 10.42%
5 Real Estate 29.00
6 Mining 7.00
7 Agriculture 3.50 1.00 0.21%
8 Livestock& Fisheries 2.168 23.050 4.93%
9 Hotel&Tourism 2.80
  รวม 1,640.667 467.793 100%

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 27.39 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 21.18 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.28

ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

ตารางที่ 8 – สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

 

  1. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา

      2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา

ตารางที่ 9 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – สิงหาคม 2566)

เปรียบเทียบระหว่าง ปีงบประมาณ 2022-23 และ ปีงบประมาณ 2023-24

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Export Import Trade Volume
2023-2024 2022-2023 % 2023-2024 2022-2023 % 2023-2024 2022-2023 %
(18-8-2023) (18-8-2022) change (18-8-2023) (18-8-2022) change (18-8-2023) (18-8-2022) change
5,930.936 6,571.772 -9.02% 6,651.821 6,399.764 3.93 12,582.757 12,971.536 -2.99%

ในช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2566 ของปีงบประมาณ 2023-24 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 12,582.757 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.99% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในด้านของการส่งออกมีมูลค่า 5,930.936 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.02 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 6,651.821 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม 2566 เมียนมาเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 720.885 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา

      ตารางที่ 10 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (สิงหาคม 2566) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 MANUFACTURING GOODS 3,711.892 62.59%
2 AGRICULTURAL PRODUCTS 1,230.434 20.75%
3 MARINE PRODUCTS 125.702 2.12%
4 MINERALS 214.420 3.62%
5 FOREST PRODUCTS 27.494 0.46%
6 ANIMAL PRODUCTS 3.137 0.05%
7 OTHER PRODUCTS 617.857 10.42%
รวม 5,930.936 100.0%

2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา

ตารางที่ 11 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (สิงหาคม 2566)

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 สินค้า Commercial Raw material 3,216.361 48.35%
2 สินค้า Investment Goods 1,417.568 21.31%
3 สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) 1,059.478 15.93%
4 อื่นๆ (CMP: Cutting, Making, Packing) 958.714 14.41%
รวม 6,651.821 100%

2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา

ตารางที่ 12 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

สถิติการค้าระหว่างไทย-เมียนมา

รายการ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%)
2565 2565

(ม.ค.-ก.ค.)

2566

(ม.ค.-ก.ค.)

2565 2565

(ม.ค.-ก.ค.)

2566

(ม.ค.-ก.ค.)

2565 2565

(ม.ค.-ก.ค.)

2566

(ม.ค.-ก.ค.)

มูลค่าการค้า 8,227.45 5,011.69 4,702.11 15.18 22.20 -6.18 1.39 1.42 1.40
การส่งออก 4,696.58 2,908.04 2,751.43 8.72 20.56 -5.39 1.64 1.68 1.68
การนำเข้า 3,530.87 2,103.65 1,950.69 25.06 24.55 -7.27 1.16 1.17 1.14
ดุลการค้า 1,165.71 804.39 800.74 -22.10 11.24 -0.45

ที่มา : OPS กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย ณ วันที่ 31 ส.ค. 66

ปี 2566 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาตั้งแต่เดือนมกราคม –  กรกฎาคม 2566       มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,702.11 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.18 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 2,751.43 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.39 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการชะลอของเศรษฐกิจโลก สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 1,950.69 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.27 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 800.74 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ  ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

3.สถานการณ์สำคัญ

3.1 พบเครื่องสำอางกว่า 15 รายการไม่ได้จดทะเบียนกับ FDA ในตลาดเมียนมา

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขเมียนมา พบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้จดทะเบียน 15 รายการ รวมถึงเครื่องสำอางที่มีสารเคมีต้องห้ามในตลาด

ผู้ตรวจสอบของแผนกเครื่องสำอาง แจ้งผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนให้ประชาชนทราบ หลังจากได้ตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่พบสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยทาง FDA ได้ประกาศให้ประชาชนห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ข้างต้นแล้ว

ตามประกาศของ FDA สารเคมีที่เป็นอันตรายที่พบในผลิตภัณฑ์ 15 รายการดังกล่าวสามารถนำไปสู่อาการคัน อักเสบ ผื่น กล้ามเนื้อชา กล้ามเนื้อสั่น เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ซึมเศร้า ไตวาย และโรคอื่นๆ

ข้อมูลของ FDA ระบุว่า ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2566 ถึงเมษายน 2566 มีการอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องสำอางนำเข้ามากกว่า 1,500 รายการในเมียนมา

บริษัทที่นำเข้าเครื่องสำอาง ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกควรปฏิบัติตามจรรยาบรรณอุตสาหกรรม และงดเว้นการขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและสารเคมีที่ FDA ไม่อนุญาตให้ใช้ หากมีผู้ใดที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้นสามารถถูกฟ้องร้องได้ภายใต้ข้อ (3) ข้อ (3) (d) ของกฎหมายการสาธารณสุขเมียนมา

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.2 สหพันธ์ข้าวเมียนมาเสนอขายข้าวสำรองราคาต่ำกว่าราคาตลาด

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 สหพันธ์ข้าวเมียนมาประกาศว่า จะขายข้าวสำรองที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือของบริษัทส่งออกและโครงการอื่นๆ ให้กับตลาดท้องถิ่นโดยเร็วที่สุดเพื่อควบคุมราคาที่พุ่งสูงขึ้น โดยสหพันธ์ข้าวเมียนมาประกาศให้ขายข้าวสายพันธุ์ Emahta (ข้าวขาวหักร้อยละ 25 ขัดสีและคัดแยก) ในอัตราต่ำกว่า 60,000 จ๊าตต่อ 1 ถุงในระยะแรก

ในระยะแรก จะขายข้าวประมาณ 50,000 ถุง ถุงละ 50 กิโลกรัม (ข้าวหักร้อยละ 25 ขัดสีและคัดแยก) และปริมาณข้าวจะเพิ่มขึ้นหากมีความจำเป็น

ภายใต้คำแนะนำของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา  สหพันธ์ข้าวเมียนมาได้พยายามและมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดข้าว การลงทะเบียนจัดเก็บข้าวอย่างเป็นระบบ ตลาดที่มีความยุติธรรม และความมีเสถียรภาพของราคาโดยการนำของภาคเอกชน

เมียนมาประสบความสำเร็จในการปลูกข้าวด้วยตนเองและมีเพียงข้าวส่วนเกินเท่านั้นที่จะถูกส่งออกอย่างเป็นระบบ ปัจจุบันนี้ การเพาะปลูกข้าวจะเป็นการเพาะปลูกในเขตพะโคตะวันตกและภาคกลางของเมียนมา โรงสีข้าวสามารถดำเนินการผลิตได้อย่างเต็มที่เนื่องจากได้รับการสนับสนุนเกี่ยวกับการจ่ายกระแสไฟฟ้า ดังนั้นการผลิตจึงเพียงพอต่อการบริโภค อย่างไรก็ตาม มีผู้กำลังแพร่กระจายข่าวลือในแง่ลบและข่าวปลอมเพื่อกระตุ้นความกังวลของผู้บริโภคและสร้างความตื่นตะหนกในการกักตุนสินค้า สหพันธ์ฯ จึงขอให้ผู้บริโภคหยุดการกักตุนสินค้า ซื้อสินค้าเมื่อมีความต้องการเท่านั้น

ศูนย์ค้าส่งข้าวเมียนมา (วาดัน) รายงานว่า ราคาข้าวกำลังสูงขึ้น และราคาข้าวคุณภาพสูงสายพันธุ์ Pawsan จากพื้นที่ชเวโบ พุ่งสูงขึ้นเป็น 130,000 จ๊าตต่อถุง ราคาข้าวพันธุ์อื่นก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ราคาข้าวเก่าสายพันธุ์ Pawsan เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 จ๊าตต่อถุง ราคาพันธุ์ Kyarpyan สูงขึ้นเป็น 96,000 ถึง 97,000 จ๊าต ต่อถุง ราคาข้าวขึ้นอยู่กับพื้นที่การผลิต (เมียงเมีย ปะเต็น เปียพอน และภูมิภาคอื่นๆ) จากการรายงานของศูนย์ค้าส่งข้าวเมียนมา (วาดัน) ราคาข้าวพันธุ์ Kunni เพิ่มเป็น 86,000 จ๊าตต่อถุง  ราคาข้าวพันธุ์ Ngasein 65,000 จ๊าต ราคาข้าวพันธุ์ Pawkywe 86,000 จ๊าต ราคาข้าวที่ปลูกในระบบการปลูกพืชผสมผสาน ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 66,000 จ๊าต และ ข้าวใหม่พันธุ์ Pawsan ราคาเพิ่มเป็น 96,000 จ๊าต

สหพันธ์ข้าวเมียนมาพยายามรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวและควบคุมราคาในตลาดให้เหมาะสม สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาจะจับมือกับโรงสี ผู้ค้าข้าว และบริษัทต่างๆ อีกทั้ง สหพันธ์ข้าวเมียนมาเรียกร้องให้สร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ระยะสั้นและระยะยาวในการซื้อขายข้าว อ้างอิงจากประกาศของสหพันธ์ข้าวเมียนมา เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 สหพันธ์ข้าวเมียนมาประกาศว่า ผู้ที่เผยแพร่ข่าวลือที่สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมข้าวบนแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างความกังวลต่อผู้บริโภคและขึ้นราคาข้าว สหพันธ์จะส่งรายชื่อบุคคลเหล่านี้ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมควรที่จะร่วมมือกันในเรื่องดังกล่าว

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.3 โรงงานปูนซีเมนต์ในเมียนมา 11 แห่งจาก 19 แห่งดำเนินการตามปกติ

แม้ว่าความต้องการปูนซีเมนต์ในประเทศเมียนมาจะมีประมาณ 9,900,000 ตันต่อ 1 ปี แต่ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงาน 11 แห่งที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันสามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ ตามข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา

ในประเทศเมียนมา มีโรงงานปูนซีเมนต์ 19 แห่งที่ดำเนินการผ่านการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งมี 8 แห่งจาก 19 แห่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงเครื่องจักร ทำให้ปัจจุบัน มี 11 โรงงานที่สามารถดำเนินการได้

โรงงานเหล่านี้ผลิตปูนซีเมนต์ได้ถึง 8,123,570 ตันในปีงบประมาณ 2565-2566 และสามารถตอบสนองความต้องการปูนซีเมนต์ในประเทศเมียนมาได้ อ้างอิงจากองค์กรอุตสาหกรรมหนักแห่งที่ 2 โรงงานปูนซีเมนต์บางแห่งปิดชั่วคราวเนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานและการขยายอุปกรณ์ใหม่

ประเทศเมียนมา สามารถผลิตปูนซีเมนต์ได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ในบรรดาโรงงานปูนซีเมนต์ที่อยู่ในประเทศเมียนมา 19 แห่ง โรงงานบางแห่งมีเครื่องจักร 5 เครื่องที่สามารถผลิตปูนซีเมนต์ได้ตั้งแต่ 5,000 ตันขึ้นไป เครื่องจักร 9 เครื่องที่สามารถผลิตได้ระหว่าง 1,000 ถึง 5,000 ตัน และเครื่องจักร 13 เครื่องที่สามารถผลิตได้น้อยกว่า 1,000 ตัน

รัฐบาลมีโรงงานปูนซีเมนต์ 3 แห่ง โดยโรงงาน 2 แห่งหยุดการผลิตเนื่องจากการใช้พลังงานและ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันในตลาดลดลง

จากข้อมูลดังกล่าว ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะดำเนินการเพื่อให้โรงงานสองแห่งนี้สามารถดำเนินกิจการได้

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.4 ธนาคารเมียนมาอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและให้ใช้เงินบาทในการชำระเงิน

ธนาคารกลางเมียนมารายงานว่า ธนาคารที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางเมียนมาในการทำธุรกรรมการซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ (AD-licensed banks) จะสามารถให้บริการแลกเงินสกุลต่างประเทศตั้งแต่จำนวน 300 ถึง 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นคนที่กำลังเดินทางไปต่างประเทศได้

ธนาคาร CB, ธนาคาร A Bank และธนาคาร Tun Commercial ได้แจ้งผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียว่าบุคคลที่จะไปทำงาน ศึกษาต่อ หรือไปรักษาพยาบาลในต่างประเทศ สามารถแลกเงินสดเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้แล้ว ด้วยคำสั่งจากธนาคารกลางเมียนมา ธนาคารที่ได้รับใบอนุญาต AD สามารถให้ประชาชนแลกจำนวนเงินสด 300 ถึง 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ 1 คน (หรือเทียบเท่าในสกุลเงินต่างประเทศอื่น ๆ ) โดยขึ้นอยู่กับการยื่นเอกสารตามวัตถุประสงค์เฉพาะของการเดินทางไปต่างประเทศ

ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 มีการแลกเงินไปแล้วดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2566)

จำนวนเงินที่ให้แลก จำนวน (คน)
789,806 ดอลลาร์ 2,603
2,454,550 บาท 301
9,861 ดอลลาร์สิงคโปร์ 27
16,738 ริงกิตมาเลเซีย 20
1,450 ยูโร 5

ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนของการทำธุรกรรมแลกเงินอยู่ที่ 2,500 – 2,600 จ๊าตต่อ 1 ดอลลาร์ และ 75 – 85 จ๊าต ต่อบาทไทย อัตราเหล่านี้แตกต่างกันไปตามอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยรายวัน

ธนาคารที่รับแลกเงินสกุลต่างประเทศ ได้แก่ CB Bank PCL (CB), KBZ Bank, AYA Bank PCL (AYA), Ayeyawady Farmers Development Bank (A Bank), Myanma Apex Bank (MAB), Yoma Bank (YOMA), UAB Bank (UAB), Asia Green Development Bank (AGD), Myanmar Oriental Bank (MOB), Global Treasure Bank (GTB), Tun Commercial Bank (TCB), Shwe Bank, First Private Bank (FPB), Innwa Bank Limited (Innwa), and Myanmar Citizens Bank (MCB)

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2566 ธนาคารกลางเมียนมาได้อนุญาตให้ใช้เงินบาทในการชำระเงินระหว่างประเทศและการจัดการเรื่องบัญชี เพื่อให้การชำระเงินระหว่างประเทศและการจัดการเรื่องบัญชีทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ธนาคารที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางเมียนมาในการทำธุรกรรมการซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ หรือ Authorized Dealers (AD) จะได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการชำระเงินระหว่างประเทศและการจัดการเรื่องบัญชีด้วยสกุลเงินบาทได้

ที่มา:

Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง  สิงหาคม 2566

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login