รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประจำเดือนสิงหาคม 2566
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย
- สรุปภาพรวมทั่วไปในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ด้านเศรษฐกิจ
- บริษัทจัดการการลงทุน VinaCapital ระบุว่า การฟื้นตัวของการส่งออกจะผลักดันการเติบโตของ GDP ของเวียดนามจากประมาณร้อยละ 5 ในปี 2566 เป็นร้อยละ 6.5 ในปี 2567 สถานการณ์การส่งออกของเวียดนามที่ลดลงล่าสุดได้มาถึงจุดต่ำสุดแล้ว และการส่งออกอาจดีขึ้นตั้งแต่สิ้นปีนี้ คาดว่า กิจกรรมการผลิตและการส่งออกของเวียดนามจะฟื้นตัวเต็มที่ในปีหน้า โดยจะเติบโตร้อยละ 8-9 ส่งผลให้การเติบโตของ GDP ฟื้นตัวในปี 2567 การส่งออกของเวียดนามไปยังสหรัฐอเมริกาดีขึ้นอย่างมากจากการลดลงที่ร้อยละ 26 ในเดือนมิถุนายน 2566 เป็นลดลงร้อยละ 14 ในเดือนกรกฎาคม 2566 ซึ่งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกรวมของเวียดนามฟื้นตัว บริษัท Samsung กล่าวว่า ยอดขายสมาร์ทโฟนลดลงร้อยละ 12 ในไตรมาสที่สองของปี 2566 แต่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีด้วยการเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่ แม้ว่าโทรศัพท์รุ่นใหม่จะไม่ได้ผลิตในเวียดนาม แต่ส่วนประกอบจำนวนมากที่ใช้สำหรับโทรศัพท์รุ่นใหม่จะผลิตในเวียดนามโดย Foxxconn, Luxshare, Goertek และซัพพลายเออร์อื่นๆ คำสั่งซื้อส่งออกที่ลดลงมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ในเดือนกรกฎาคม 2566 ช่วยผลักดันดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนามเพิ่มขึ้นจาก 46.2 ในเดือนมิถุนายน เป็น 48.7 ในเดือนกรกฎาคม 2566
- สำนักงานรัฐบาลออกประกาศฉบับที่ 332/TB-VPCP ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2566 เพื่อสรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการประจำของรัฐบาลเกี่ยวกับภารกิจและแนวทางแก้ไขที่สำคัญเพื่อสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ มหภาค ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ส่งเสริมการเติบโตและสร้างความสมดุลที่สำคัญของเศรษฐกิจในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2566 โดยระบุว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2566 เศรษฐกิจมหภาคยังคงมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้ออยู่ภายใต้การควบคุม การเติบโตทางเศรษฐกิจได้รับการส่งเสริมในบริบทของสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ยากลำบาก และการเติบโตที่ชะลอตัวในหลายประเทศ สำหรับนโยบายด้านการเงิน คณะกรรมาธิการประจำของรัฐบาลขอให้ธนาคารแห่งชาติศึกษาความต้องการของตลาด รับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการและประชาชนเพื่อหาวิธีแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทันทีและมีประสิทธิภาพส่งเสริมการเติบโตของสินเชื่อ ช่วยให้ผู้ประกอบการและประชาชนเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น กำกับธนาคารพาณิชย์ให้ลดต้นทุนและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อไป และสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อผู้ประกอบการและประชาชน
- ในวันที่ 14 สิงหาคม 2566 ธนาคารกลางเวียดนามส่งหนังสือเลขที่ 6385/NHNN-CSTT ไปยังธนาคารและสถาบันสินเชื่อต่างๆ ขอให้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 1.5 – 2 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการและประชาชนในการฟื้นฟูและพัฒนาการผลิตและธุรกิจ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารหลายแห่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยของธนาคารต่างๆ เช่น Agribank, BIDV, VietinBank และ Vietcombank ระยะเวลา 12 เดือนร้อยละ 5.5 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะเวลา 13 เดือนเป็นต้นไปเพียงร้อยละ 5.5 ต่อปี ลดลงร้อยละ 0.5
- สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) ระบุว่า ในเดือนสิงหาคม 2566 วิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีจำนวนกว่า 14,000 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยมีทุนจดทะเบียน 135.3 ล้านล้านด่ง (199,710 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2565 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 จำนวนวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีจำนวน 103,700 ราย (+2.3%) ภาคธุรกิจบริการมีจำนวนวิสาหกิจที่จัดตั้งใหม่มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 รองมาเป็นภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 23.9 ภาคการเกษตรและป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 1.1 เป็นต้น วิสาหกิจ 113,299 รายในเวียดนามลงทะเบียนหยุดดำเนินการ
ที่มา: https://www.gso.gov.vn/
- ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) ในเดือนสิงหาคม 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากเดือนก่อน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 ลดลงร้อยละ 0.4 จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้าในช่วงเดือนแรกๆ ของปี 2566 จากนโยบายการเงินที่ตึงตัวในหลายประเทศ ทำให้อุปสงค์การบริโภคของประเทศคู่ค้าหลักของเวียดนามลดลง ส่งผลให้คำสั่งซื้อผลิตลดลงและมูลค่าการส่งออกลดลง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตลดลงร้อยละ 0.6 การผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 การจัดการและบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 2.5
ที่มา: https://www.gso.gov.vn/
- ในเดือนสิงหาคม 2566 ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 ยอดขายปลีกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 โดยรายได้จากการขายปลีกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 รายได้จากที่พักและบริการรับประทานอาหารนอกบ้าน (+15.6%) และรายได้จากบริการการท่องเที่ยว (+47%)
ที่มา: https://www.gso.gov.vn/
- ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ของเวียดนามในเดือนสิงหาคม 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.88 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน กลุ่มสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เช่น ธุรกิจร้านอาหารและบริการจัดเลี้ยง และกลุ่มวัฒนธรรม บันเทิง และการท่องเที่ยว และกลุ่มสินค้าที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ส่วนกลุ่มสินค้าที่ราคาลดลง คือ กลุ่มโทรคมนาคมและไปรษณีย์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 CPI ของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565
- อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนสิงหาคม 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.32 จากเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565
ตาราง 1 เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ | อัตราการเติบโต
(%) |
– ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม | -0.4 |
– ยอดค้าปลีกของสินค้าและบริการ | +10 |
– ดัชนีราคาผู้บริโภค | +3.1 |
– อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน | +4.75 |
– มูลค่าการส่งออก | -9.8 |
– มูลค่าการนำเข้า | -15.9 |
ที่มา: https://www.gso.gov.vn/
ด้านการลงทุน
- ในปัจจุบัน เวียดนามมีโครงการลงทุนจากต่างชาติ 38,084 โครงการ ด้วยทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 453,257ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่าเงินทุนจดทะเบียน 83,059 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองมาเป็นสิงคโปร์มูลค่าเงินทุนจดทะเบียน 72,695 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถัดไปเป็นญี่ปุ่นมูลค่า 71,027 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตาราง 2 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาตินับถึงเดือนสิงหาคม 2566 จำแนกตามรายประเทศ
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ประเทศ | จำนวนโครงการ | เงินทุนจดทะเบียนรวม |
เกาหลีใต้ | 9,756 | 83,059 |
สิงคโปร์ | 3,343 | 72,695 |
ญี่ปุ่น | 5,168 | 71,027 |
ไต้หวัน | 3,031 | 37,625 |
ฮ่องกง | 2,331 | 30,968 |
จีน | 3,949 | 25,808 |
หมู่เกาะเวอร์จิน | 904 | 22,701 |
เนเธอร์แลนด์ | 430 | 14,164 |
ไทย | 710 | 13,590 |
มาเลเซีย | 727 | 13,088 |
อื่นๆ | 7,735 | 68,532 |
รวม | 38,084 | 453,257 |
ที่มา: กรมการลงทุนจากต่างชาติ
ตาราง 3 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาตินับถึงเดือนสิงหาคม 2566 จำแนกตามรายจังหวัด
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
จังหวัด | จำนวนโครงการ | เงินทุนจดทะเบียนรวม |
Ho Chi Minh | 11,988 | 57,068 |
Binh Duong | 4,133 | 40,080 |
Ha Noi | 7,200 | 39,270 |
Dong Nai | 1,856 | 35,997 |
Ba Ria-Vung Tau | 541 | 33,384 |
Hai Phong | 1,043 | 27,305 |
Bac Ninh | 1,977 | 24,264 |
Thanh Hoa | 186 | 14,989 |
Long An | 1,340 | 13,422 |
Ha Tinh | 82 | 12,018 |
อื่นๆ | 7,493 | 154,903 |
รวม | 37,839 | 452,670 |
ที่มา: กรมการลงทุนจากต่างชาติ
- การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 รวม 1,924 โครงการใหม่ ด้วยเงินทุน จดทะเบียน 8,872 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินทุนจดทะเบียนรวมทั้งโครงการลงทุนใหม่ โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุน และซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนามรวม 18,146 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+8.2%) โครงการลงทุนจากต่างชาติมีการเบิกจ่ายเงินทุนประมาณ 13,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+1.3%) ประเทศที่มีการลงทุนมากที่สุดในเวียดนาม ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และจีน ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 10 โดยมี 30 โครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 346 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตาราง 4 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 จำแนกตามรายประเทศ
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ประเทศ | จำนวนโครงการใหม่ | เงินทุน
จดทะเบียนใหม่ |
เงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น | มูลค่าซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนาม | เงินทุน
จดทะเบียนรวม |
สิงคโปร์ | 235 | 2,445 | 406 | 983 | 3,834 |
เกาหลีใต้ | 399 | 1,880 | 677 | 129 | 2,686 |
จีน | 192 | 555 | 230 | 1,797 | 2,583 |
ญี่ปุ่น | 308 | 459 | 1,723 | 276 | 2,458 |
ฮ่องกง | 174 | 1,150 | 252 | 113 | 1,516 |
ไต้หวัน | 126 | 700 | 251 | 256 | 1,207 |
เนเธอร์แลนด์ | 16 | 237 | 54 | 444 | 735 |
สหรัฐอเมริกา | 72 | 75 | 317 | 98 | 490 |
ซามัว | 18 | 85 | 140 | 204 | 429 |
ไทย | 30 | 346 | 27 | 31 | 404 |
อื่นๆ | 354 | 940 | 456
|
410 | 1,805 |
รวม | 1,924 | 8,872 | 4,532 | 4,742 | 18,146 |
- ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 นักลงทุนต่างชาติลงทุนใน 18 ภาคธุรกิจ โดยภาคการผลิตและแปรรูป มีมูลค่า 12,299 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+14.7%) รองลงมาคือ อสังหาริมทรัพย์ 1,761 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-47.2%) ธุรกิจการเงิน ธนาคารและประกัน มีการซื้อหุ้นมูลค่า 1,535 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+6,389%) วิทยาศาสตร์ และเทคโลโนยี 799 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+28.9%) เป็นต้น
- ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 การลงทุนจากประเทศไทยมี 30 โครงการใหม่ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 346 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับเพิ่มเงินทุน 27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนามด้วยมูลค่า 31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9 โดยมี 710 โครงการ ด้วยมูลค่าเงินทุนจดทะเบียนรวม 13,590 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นักลงทุนไทยส่วนใหญ่ลงทุนด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูป ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น นักลงทุนไทยรายใหญ่ที่ลงทุนในเวียดนาม เช่น TCC Group, Central Group, SCG, CP Vietnam, Hemaraj, ThaiBev, Amata, Grimm Power, Super Energy Corporation, Stark Coporation, Gunkul Engineering, Gulf Energy Development, J.S.T Vietnam เป็นต้น
- การค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566
ในเดือนสิงหาคม 2566 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามมีมูลค่า 62,083 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 32,761 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+9.0%) และมูลค่าการนำเข้า 29,322 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+2.4%) จากเดือนก่อน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 เวียดนามเกินดุลการค้า 9,652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้า 436,437 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 228,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-9.8%) และมูลค่าการนำเข้า 208,271 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-15.9%) เหตุผลที่การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 ลดลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงทั่วโลกทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าลดลง ซึ่งทำให้ การส่งออกสินค้าสำคัญๆ ของเวียดนามลดลง
ตาราง 7 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี 2565
(ม.ค -ธ.ค) |
อัตราการเติบโตปี 2565
(%) |
มกราคม-สิงหาคม 2565 | มกราคม-สิงหาคม 2566 | อัตราการเติบโต (ม.ค-ส.ค 2566)
(%) |
|
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ
+ มูลค่าการส่งออก + มูลค่าการนำเข้า |
730,206
371,304 358,902 |
9.1
10.5 7.8 |
434,496
252,951 247,697 |
436,437 228,166
208,271 |
-13.8
-9.8 -15.9 |
ที่มา: กรมศุลกากรเวียดนาม
- ตลาดส่งออกหลักของเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 สหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าเวียดนามรายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่า 62,118 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-3%) ตามด้วยจีน มูลค่า 36,615 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+2.4%) เกาหลีใต้ 15,526 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-3.9%) และญี่ปุ่น 15,249 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-3.9%)
- ตลาดนำเข้าหลักของเวียดนาม ได้แก่ จีน มูลค่า 68,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-16.2%) รองมาเป็นเกาหลีใต้ 33,362 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-23.3%) ญี่ปุ่น 13,910 (-13.1%) และสหรัฐอเมริกา 9,149 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-8%)
- สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบมีมูลค่า 35,938 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-2.1%) โทรศัพท์และส่วนประกอบมีมูลค่า 33,884 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-15.5%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 26,841 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-10.7%) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 22,512 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-14.4%) และรองเท้า 13,358 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-18.4%)
- สินค้านำเข้าหลักๆ ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบมีมูลค่า 54,225 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-5.3%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 26,769 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-12.7%) ผ้าทุกชนิด 8,478 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-17.8%) วัตถุดิบพลาสติก 6,326 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-28.9%) และโทรศัพท์และส่วนประกอบ 5,097 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-63.2%)
- การค้าระหว่างไทย – เวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566
จากสติถิของกรมศุลกากรเวียดนาม การค้าระหว่างไทย – เวียดนามในเดือนสิงหาคม 2566 มีมูลค่า 1,580 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.1 จากเดือนก่อน โดยแบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกไปเวียดนามที่ 972 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+2.5%) และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากเวียดนาม 653 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+4.9%) ในช่วง 8 เดือนแรก ของปี 2566 การค้าระหว่างไทย – เวียดนามมีมูลค่า 12,582 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกไปเวียดนาม 7,701 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-18.1%) และมูลค่าการนำเข้า 4,881 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-0.6%) ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 6 ของเวียดนาม
ตาราง 8 มูลค่าการค้าระหว่างไทย – เวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี 2565
(ม.ค -ธ.ค) |
อัตราการเติบโตปี 2565 (%) | มกราคม-สิงหาคม 2565 | มกราคม-สิงหาคม 2566 | อัตราการเติบโต (ม.ค-ส.ค 2566) (%) | |
มูลค่าการค้า
– มูลค่าการส่งออกไปเวียดนาม – มูลค่าการนำเข้าจากเวียดนาม |
21,568
14,092 7,476 |
15.1
12.0 21.5 |
14,317
9,408 4,909 |
12,582
7,701 4,881 |
-12.1
-18.1 -0.6 |
สินค้าหลักที่เวียดนามนำเข้าจากไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 เรียงลำดับตามสัดส่วนการนำเข้า ดังนี้
ตาราง 9 สินค้าหลักที่เวียดนามนำเข้าจากไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลำดับที่ | สินค้า | ปี 2565
(ม.ค -ธ.ค) |
อัตราการเติบโตปี 2565 (%) | มกราคม-สิงหาคม 2565 | มกราคม-สิงหาคม 2566 | อัตราการเติบโต (ม.ค-ส.ค 2566) (%) |
1 | ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ | 1,700.4 | 39.1 | 1,078 | 1,226 | 13.7 |
2 | รถยนต์ทุกชนิด | 1,429.9 | -5.2 | 749.3 | 825.2 | 10.1 |
3 | เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ | 1,039.8 | 12.0 | 692.5 | 592.3 | -14.5 |
4 | น้ำมันทุกประเภท | 1,158.3 | 57.8 | 877 | 486 | -44.6 |
5 | เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและส่วนประกอบ | 808.8 | 6.9 | 599.1 | 495.1 | -17.4 |
6 | ส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ | 1,009.7 | 20.5 | 628.9 | 419.7 | -33.3 |
7 | วัตถุดิบพลาสติก | 964.4 | 1.0 | 716 | 417.5 | -41.7 |
8 | สารเคมี | 562.6 | -2.7 | 415.1 | 261.9 | -36.9 |
9 | ผลิตภัณฑ์สารเคมี | 398.9 | 24.5 | 270.5 | 231.5 | -14.4 |
10 | วัตถุดิบสิ่งทอ เครื่องหนัง | 326.2 | 22.6 | 234 | 174.7 | -25.3 |
อื่นๆ | 4,693 | – | 3,148 | 2,571 | – | |
รวม | 14,092
|
12.0 | 9,408
|
7,701 | -18.1 |
สินค้าที่เวียดนามส่งออกไปไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 เรียงลำดับตามสัดส่วนการส่งออก ดังนี้
ตาราง 10 สินค้าหลักที่เวียดนามส่งออกไปไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลำดับที่ | สินค้า | ปี 2565
(ม.ค -ธ.ค) |
อัตราการเติบโต ปี 2565 (%) | มกราคม-สิงหาคม 2565 | มกราคม-สิงหาคม 2566 | อัตราการเติบโต (ม.ค-ส.ค 2566) (%) |
1 | โทรศัพท์และส่วนประกอบ | 1,007.5 | 7.3 | 661.1 | 704.2 | 6.5 |
2 | เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ | 964.8 | 77.4 | 599.6 | 649 | 8.2 |
3 | น้ำมันดิบ | 880.4 | 54.1 | 525.2 | 534.1 | 1.7 |
4 | ยานยนต์และชิ้นส่วน | 636.7 | 33.5 | 395.3 | 505.8 | 28 |
5 | ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ | 524.2 | 3.6 | 364.3 | 395.8 | 8.6 |
6 | เหล็ก เหล็กกล้า | 281.7 | -30.7 | 205.3 | 194 | -5.5 |
7 | สัตว์น้ำสด แช่แข็ง แช่เย็น แปรรูป | 331.6 | 24.2 | 220.6 | 171.2 | -22.4 |
8 | สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม | 239.3 | 13.3 | 160 | 151.3 | -5.4 |
9 | กระดาษ | 112.8 | 84.6 | 75.9 | 85.9 | 13.2 |
10 | ผลิตภัณฑ์สารเคมี | 182.7 | 55.0 | 138.5 | 78.1 | -43.6 |
อื่นๆ | 2,259.1 | – | 1,563 | 1,412 | – | |
รวม | 7,476 | 21.5 | 4,909 | 4,881 | -0.6 |
- 4. ความเห็น สคต.
แม้ว่าการส่งออกของเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 ยังคงลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงคาดหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2566 ในเดือนสิงหาคม 2566 การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสัญญาณเชิงบวกของ การส่งออกสินค้าของเวียดนามในช่วงที่เหลือของปี 2566 จากอัตราเงินเฟ้อในประเทศเศรษฐกิจหลักคาดว่าจะลดลงต่อไป ซึ่งจะกระตุ้นการบริโภค รวมทั้งความต้องการสินค้ามักจะเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลสิ้นปีของประเทศคู้ค้าสำคัญ มีความเป็นไปได้ที่การส่งออกสินค้าจะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ซึ่งจะช่วยสนับสนุน การเติบโตของ GDP ในปี 2566 รวมทั้งเวียดนามจะมีความต้องการนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ รวมถึงไทยเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่เหลือของปี 2566
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย
กันยายน 2566
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)