หน้าแรกTrade insight > รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนพฤษภาคม 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนพฤษภาคม 2566

1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ
ธนาคารกลางเมียนมากำลังพัฒนาระบบเครือข่ายการเงินของธนาคารกลางเมียนมา (CBM-NET)
สำหรับการชำระเงินระหว่างธนาคารตามกลยุทธ์ระบบการชำระเงินแห่งชาติของเมียนมาปี 2563 – 2568 และ
ระบบการชำระเงินระหว่าง บัตรธนาคาร (Myanmar Payment Union-MPU) และจะเปิดตัวระบบการชำระ
เงินดิจิทัล ที่สามารถชำระเงินที่ร้านค้าด้วย QR Code ภายในปี 2566 หากธนาคารกลางเมียนมาสามารถ
จัดตั้งระบบการชำระเงินรูปแบบดิจิทัลสำเร็จ ระบบนี้จะเป็นระบบชำระเงินที่ปลอดภัยและโปร่งใส นอกจากนี้
ยังสามารถลดการใช้เงินสด ป้องกันการชำระเงินข้ามพรมแดนที่ผิดกฎหมายเช่น Hundi
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมาในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2566 ของ
ปีงบประมาณ 2023-24 มีมูลค่า 4,039.688 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.01% เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว โดยในด้านของการส่งออกมีมูลค่า 1,596.923 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.42
การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 2,442.765 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.69
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2566 เมียนมาเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า
845.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-
2024 (ณ เดือนเมษายน 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 76,077.416 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนใน
เมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย
ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,429.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.99 โดยมีโครงการที่ยัง
ดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ
เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49 อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ของเมียนมา มีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 6.81
เพิ่มขึ้นจากปี 2565 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,228.54

เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ดังตาราง

1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ พ.ค. 65 และ พ.ค. 66

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินสกุลท้องถิ่นเมียนมาจ๊าตมี
ความผันผวน ในช่วงเดือนพฤษภาคมของปี 2566 เงินจ๊าตอ่อนค่าลงต่อทุกสกุลเงินเมื่อเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยค่าเงินจ๊าตอยู่ที่อัตรา 2,100 MMK ต่อ 1 USD เนื่องจากการควบคุมอัตรา
แลกเปลี่ยนของธนาคารกลางเมียนมา ทั้งนี้ ตลาดแลกเงินนอกระบบมีอัตราที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน
ของธนาคารกลาง โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 2,800- 2,900 จ๊าตต่อ 1 USD
กราฟแสดงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมียนมาจ๊าต (MMK) ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ช่วงเดือนพฤษภาคม 2566

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยมีอัตรา
แลกเปลี่ยนคงที่อยู่ที่ 2,100 MMK ต่อ 1 USD เพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตราที่แท้จริงในตลาดแลกเงินท้องถิ่น และเป็น
อัตราคงที่ สําหรับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,100 จ๊าต
ต่อ 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเมียนมาจะออกประกาศเพิ่มเติม หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง
1.3 ภาวะการลงทุน
1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ
ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนเมษายน 2566
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไป
แล้ว คิดเป็นมูลค่า 3.788 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังตาราง
ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน 2566

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-
2024 (ณ เดือนเมษายน 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 94,798.384 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนใน
เมียนมา สูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ
โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,609.573 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.54 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติ
แล้ว จำนวน 154 โครงการ
รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจเมียนมา เดือนพฤษภาคม 2566 4
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ
2023-2024 (ณ เดือนเมษายน 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 76,077.416 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคง
ลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย
ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,429.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.99 โดยมีโครงการที่ยัง
ดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ
ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ
ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2023 – 2024 ในเดือน
เมษายน 2566 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ ได้แก่ ธุรกิจการผลิต สัดส่วนร้อยละ 100 รายละเอียดดัง
ตาราง
ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา
ปีงบประมาณ 2022-2023 (เม.ย. 66)

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2022-2023 สาม
อันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 27.08 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 21.55 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ
15.36

ตารางที่7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

ตารางที่ 8 – สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

2. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา
2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา
ตารางที่ 9 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – พฤษภาคม 2566)
เปรียบเทียบระหว่าง ปีงบประมาณ 2022-23 และ ปีงบประมาณ 2023-24

ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2566 ของปีงบประมาณ 2023-24 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวม
ของเมียนมามีมูลค่า 4,039.688 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.01% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
โดยในด้านของการส่งออกมีมูลค่า 1,596.923 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.42 การนำเข้าสินค้าจาก
ต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 2,442.765 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.69 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ในเดือนพฤษภาคม 2566 เมียนมาเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 845.84 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ
2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 10 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (พฤษภาคม 2566)

2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 11 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (พฤษภาคม 2566

2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา
ตารางที่ 12 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

เดือนมกราคม – มีนาคม 2566 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมา รวมทั้งสิ้น 2,105.09
ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.08 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า
1,207.05 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.27 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกของไทยไป
ตลาดโลกลดลงร้อยละ 4.46 และการส่งออกไทยไปยังอาเซียนลดลงกว่าร้อยละ 3.92 สำหรับการนำเข้าสินค้าจาก
เมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 898.05 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 309 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและ
ผลิตภัณฑ์เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี
และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของ
เครื่องจักรกล เป็นต้น
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่
โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้
สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เครื่องจักรไฟฟ้าและ
ส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

3. สถานการณ์สำคัญ
3.1 ธนาคารกลางเมียนมาเปิดตัวระบบชำระเงินรูปแบบดิจิทัล
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ธนาคารกลางเมียนมาจัดการประชุมร่วมกับภาคธุรกิจด้านการเงิน ณ
กรุงเนปิดอว์เรื่องการชำระเงินระบบดิจิทัล โดยใช้ระบบ Myanmar Quick Response-MMQR ของธนาคาร
กลางเมียนมา
Daw Than Than Swe ผู้ว่าการธนาคารกลางเมียนมา กล่าวในการประชุมว่า ธนาคารกลางเมียนมา
พัฒนาระบบเครือข่ายการเงินของธนาคารกลางเมียนมา (CBM-NET) สำหรับการชำระเงินจำนวนมากระหว่าง
ธนาคารตามกลยุทธ์ระบบการชำระเงินแห่งชาติของเมียนมาปี 2563 – 2568 และระบบการชำระเงินระหว่าง
บัตรธนาคาร (Myanmar Payment Union-MPU) และจะเปิดตัวระบบการชำระเงินดิจิทัล ที่สามารถชำระ
เงินที่ร้านค้าด้วย QR Code ภายในปี 2566 นี้
นอกจากนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางเมียนมายังกล่าวถึงข้อดีของระบบการชำระเงินดิจิทัล การเตรียม
ความพร้อมของอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันสำหรับ Digital Payment, MMQR
Specification ซึ่งเป็นระบบใหม่ ที่สามารถชำระเงินข้ามพรมแดนได้โดยใช้ QR Code, Digital Payment
Switch Network Readiness
หากธนาคารกลางเมียนมาสามารถจัดตั้งระบบการชำระเงินรูปแบบดิจิทัลสำเร็จ ระบบนี้จะเป็นระบบ
ชำระเงินที่ปลอดภัยและโปร่งใส นอกจากนี้ยังสามารถลดการใช้เงินสดเนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับกระเป๋า
เงินมือถือ ป้องกันการชำระเงินข้ามพรมแดนที่ผิดกฎหมายเช่น Hundi อีกทั้งยังเป็นระบบที่ช่วยตรวจสอบการ
ไหลเวียนของสกุลเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ ดูแลระบบการชำระเงินของ
ประเทศ และอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจให้ชำระเงินไม่ล่าช้า
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.2 ผู้บริโภคเมียนมาสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับร้านค้าออนไลน์ได้หลายช่องทาง
กรมกิจการผู้บริโภค ภายใต้กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ประกาศว่า ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับ
ร้านค้าออนไลน์ในเมียนมาได้ ปัจจุบัน ธุรกิจออนไลน์กำลังได้รับความนิยมในทั้งย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เนปยีดอ
และเมืองอื่น ๆ ด้วย ผู้คนชาวเมียนมานับล้านเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของธุรกิจออนไลน์ โดยส่วนใหญ่ผู้บริโภค
จะต้องชำระเงินเมื่อได้รับสินค้าแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ร้านค้าออนไลน์บางแห่งขอให้ชำระเงินก่อน
ดังนั้น กรมกิจการผู้บริโภคของเมียนมาจึงได้ออกประกาศข้อกำหนดว่า ลูกค้าสามารถร้องเรียนใน
กรณีต่าง ๆ เช่น การไม่ได้รับสินค้าหลังจากชำระเงิน คุณภาพไม่ตรงกับสินค้าในโฆษณา หลังจากชำระเงินแล้ว
ไม่สามารถติดต่อกับผู้ขายได้ข้อมูลที่เกินจริงเกี่ยวกับสินค้า และการไม่ได้รับสินค้าภายในวันเวลาที่ตกลงกันไว้
โดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่เพจเฟสบุ๊คของกรมกิจการผู้บริโภคแห่งเมียนมา หรือ ส่งข้อความผ่าน CAD
Myanmar Application หรือติดต่อเบอร์โทร 1535
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm

3.3 ภูมิภาคมะริดมีฟาร์มเลี้ยงกุ้งประมาณ 2,000 เอเคอร์ กว่า 600 เอเคอร์ปฏิบัติตามแนวทางการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี
ภาคตะนาวศรีเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตสินค้าทางทะเลเพื่อการส่งออกไปยังตลาด
ต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดไทย เนื่องจากเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาว ภาคตะนาวศรีจึงมีฟาร์มปลาและกุ้งของ
นักธุรกิจในท้องถิ่น ฟาร์มกุ้งและโรงงานแปรรูปกุ้งที่กำลังดำเนินการในหมู่บ้านกัตตะลู ของเมืองจานซู ภาค
ตะนาวศรีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่น ตลอดจนปรับปรุงชีวิตทาง
เศรษฐกิจและสังคมของคนในท้องถิ่น โดยดำเนินการผลิตสินค้าจากทะเล โดยเฉพาะกุ้งจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งและ
โรงงานแปรรูป มีการจัดการกระบวนการเลี้ยงกุ้ง การสุขาภิบาลฟาร์ม และกระบวนการผลิตกุ้งเพื่อการส่งออก
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทาน และหน่วยงานท้องถิ่นต่างให้การสนับสนุนธุรกิจ
การผลิตกุ้งเพื่อเป็นการส่งเสริมบริโภคในท้องถิ่นและการส่งออก
U Hla Than ประธานสหพันธ์เพาะพันธุ์ปศุสัตว์ภาคตะนาวศรี กล่าวว่า ฟาร์มกุ้งประมาณ 2,000
เอเคอร์กำลังดำเนินการในภูมิภาคมะริด ซึ่งมีประมาณ 600 เอเคอร์ที่ปฏิบัติตามแนวทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ที่ดี นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของกรมประมงของเมียนมายังร่วมมือกับทีมตรวจสอบจากสำนักงานศุลกากรแห่ง
สาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ในการเข้าตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงกุ้งผ่านระบบวิดีโอ
อุตสาหกรรมการเพาะพันธุ์ปศุสัตว์และอุตสาหกรรมการผลิตอาหารจำเป็นต้องมีการบันทึกการ
ดำเนินการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การตรวจสอบ และการขายรวมถึงต้องมีการ
เฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์และการติดเชื้อจากสัตว์ทางทะเล รวมทั้งปลาและกุ้ง
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.4 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำพะโค (สะพานทันลยินแห่งที่ 3) และโครงการสะพานมิตรภาพ
เมียนมา-เกาหลี (สะพานดาล่า)
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ และ
นายกรัฐมนตรีเมียนมา ได้ตรวจความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำพะโค (สะพานทันล
ยินแห่งที่ 3) และโครงการสะพานมิตรภาพเมียนมา-เกาหลี (สะพานดาล่า) ในเมืองย่างกุ้ง
นาย U Myo Thant รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการก่อสร้าง รายงานต่อพล.อ.อาวุโส เกี่ยวกับขั้นตอน
การดำเนินโครงการ ความพร้อมของเทคนิคการก่อสร้างสะพานและมาตรการควบคุมคุณภาพ และการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม ณ โครงการสะพานข้ามแม่น้ำพะโค (สะพานทันลยินแห่งที่ 3) ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อเชื่อมอำเภอตา
เกต้า และอำเภอทันลยิน
พล.อ.อาวุโส กล่าวเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินงานก่อสร้างอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้
มาตรฐาน นอกจากนี้ นายพลอาวุโสยังเรียกร้องให้โครงการเสร็จสิ้นทันเวลาพร้อมตรวจความคืบหน้าของ
โครงการและให้คำแนะนำเพิ่มเติม
หากโครงการนี้เสร็จสิ้น โครงการสะพานข้ามแม่น้ำพะโค (สะพานทันลยินแห่งที่ 3) จะสามารถลด
ปัญหาการจราจรที่ติดขัดจากสะพานทันลยินแห่งที่ 1 ได้ จนถึงเศรษฐกิจพิเศษติลาวา อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในอำเภอทันลยิน อำเภอเจ้าตาน อำเภอคะยาน และอำเภอโตงกว้า
ในภาคย่างกุ้ง เนื่องจากธุรกิจที่เติบโตของนักธุรกิจทั้งในและนอกประเทศ จะช่วยพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษติ
ลาวา และอำเภอทันลยินและสามารถใช้เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออก-ตะวันตก เพื่อเชื่อมโยงถนน
ไปยังเมืองพะอัน และเมืองเมียวดี ซึ่งจะทำให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยง เช่นเดียวกับ
การคมนาคมระหว่างประเทศในภูมิภาคก็จะดีขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากการก่อสร้างสะพานโดยใช้เทคโนโลยี
สมัยใหม่ ทำให้วิศวกรชาวเมียนมาจะได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และช่วยพัฒนาฝีมือ
แรงงาน อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสการทำงานให้กับคนในพื้นที่อีกด้วย
นาย Myo Thant รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการก่อสร้าง ได้รายงานต่อท่านนายพลอาวุโส เกี่ยวกับ
การปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านนายพลอาวุโสในการตรวจเยี่ยมการสร้างสะพานมิตรภาพเมียนมา-เกาหลี
(ดาล่า) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ความสมบูรณ์ของตอม่อสะพาน มาตรการควบคุมคุณภาพที่สะพาน
สถานที่ทำงาน ความปลอดภัยและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
พฤษภาคม 2566

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login