- ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนกันยายน 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 74,748.927 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,494.139 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.19 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ
1.1 เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อในปี 2567 ของเมียนมา คาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 15 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,454 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง
ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา
ตัวชี้วัดทาง
เศรษฐกิจที่สำคัญ |
ปี 2560 | ปี 2561
|
ปี 2562
|
ปี 2563
|
ปี 2564
|
ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567
(คาดการณ์) |
GDP Growth (%) | 5.8 | 6.4 | 6.8 | 3.2 | -17.9 | 2.0% | 2.6% | 1.5% |
GDP (billions of US$) | 61.27 | 66.7 | 68.8 | 81.26 | 65.16 | 66.12 | 74.86 | 79.27 |
GDP per Capita (US$) | 1,180 | 1,270 | 1,300 | 1,530 | 1,217 | 1,228 | 1,381 | 1,454 |
Inflation (%) | 4.62 | 5.94 | 8.63 | 5.73 | 3.64 | 16 | 14 | 15 |
ที่มา: IMF https://www.imf.org/en/Countries/MMR#countrydata
1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ ต.ค. 66 และ ต.ค. 67
ประเทศ/สหภาพ | สกุลเงิน | อัตราทางการ
สิ้นเดือน ต.ค. 66 |
อัตราทางการ
สิ้นเดือน ต.ค. 67 |
อัตราตลาดออนไลน์
สิ้นเดือน ต.ค. 67 |
อัตราตลาด
สิ้นเดือน ต.ค. 67 |
USA | 1 USD | 2,100.0 MMK | 2,100.0 MMK | 3,572.0 MMK | 4,410.0 MMK |
Euro | 1 EUR | 2,271.5 MMK | 2,272.3 MMK | 3,865.1 MMK | 4,785.0 MMK |
Singapore | 1 SGD | 1,586.0 MMK | 1,585.9 MMK | 2,697.5 MMK | 3,330.0 MMK |
Thailand | 1 THB | 62.167 MMK | 62.185 MMK | 105.77 MMK | 130.7 MMK |
ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate,
Myanmar Market Price Application
1.3 ภาวะการลงทุน
1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ
ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนเมษายน – กันยายน 2567 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 223.054 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง
ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – กันยายน 2567
อันดับ | ประเทศ | มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)
เม.ย. – ก.ย. 67 |
สัดส่วน (%) |
1 | สิงคโปร์ | 87.742 | 39.33% |
2 | ไทย | 44.00 | 19.73% |
3 | จีน | 41.556 | 18.63% |
4 | อินโดนีเซีย | 20.892 | 9.37% |
5 | ฮ่องกง | 13.836 | 6.20% |
6 | อินเดีย | 7.088 | 3.17% |
7 | ไต้หวัน | 2.628 | 1.17% |
8 | อังกฤษ | 2.519 | 1.20% |
9 | เกาหลีใต้ | 2.357 | 1.06% |
10 | ญี่ปุ่น | 0.436 | 0.19% |
รวม | 223.054 | 100% |
ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนกันยายน 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,582.670 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,678.673 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.51 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 156 โครงการ
ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนกันยายน 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 74,748.972 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,494.139 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.19 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ
1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ
ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2024 – 2025 ในเดือนเมษายน – กันยายน 2567 รายละเอียดดังตาราง
ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา
ปีงบประมาณ 2024-2025 (เม.ย. – ก.ย. 67)
อันดับ | ประเภทธุรกิจ | มูลค่า
(ล้านเหรียญสหรัฐ) เม.ย.– ก.ย. 67 |
สัดส่วน (%) |
1 | Transport& Communication | 87.715 | 39.32% |
2 | Manufacturing | 81.225 | 36.38% |
3 | Services | 44.000 | 19.72% |
4 | Power | 8.501 | 3.81% |
5 | Livestock & Fisheries | 1.088 | 048% |
6 | Agriculture | 0.525 | 0.24% |
รวม | 223.054 | 100% |
ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025
สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 28.04 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 20.08 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.46
2. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา
1) สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (ข้อมูล GTA: ม.ค. – ก.ค. 67)
ตารางที่ 8 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (มกราคม – กรกฎาคม 2567)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Export | Import | Trade Volume | ||||||
2024 | 2023 | % | 2024 | 2023 | % | 2024 | 2023 | % |
Jan to July | Jan to July | change | Jan to July | Jan to July | change | Jan to July | Jan to July | change |
11,653.92 | 14,990.50 | -22.25% | 12,773.88 | 16,159.81 | -20.95% | 24,427.8 | 31,150.31 | -21.58% |
GTA: Global Trade Atalas
ในเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 24,427.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในส่วนของการส่งออกมีมูลค่า 11,653.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.25 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 12,773.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.95 ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567 เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 1,119.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องแต่งกาย ก๊าซธรรมชาติ พืชพันธุ์ ผักต่างๆ สินแร่ รองเท้า ยางพารา ปลา สัตว์น้ำ ไม้ เมล็ดน้ำมัน อัญมณี เป็นต้น
สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล ผ้าทอ เส้นด้าย ยานพาหนะ พลาสติก เหล็ก ปุ๋ย เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น
2) ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์เมียนมา (เม.ย. – มิ.ย. 67)
สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 9 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) | สัดส่วน (%) |
1 | MANUFACTURING GOODS | 1,896.82 | 53.06% |
2 | AGRICULTURAL PRODUCTS | 1,405.20 | 39.31% |
3 | MARINE PRODUCTS | 144.973 | 4.05% |
4 | MINERALS | 46.838 | 1.31% |
5 | FOREST PRODUCTS | 15.521 | 0.43% |
6 | ANIMAL PRODUCTS | 1.851 | 0.05% |
7 | OTHER PRODUCTS | 63.302 | 1.77% |
รวม | 3,574.520 | 100.0% |
สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 10 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) | สัดส่วน (%) |
1 | สินค้า Commercial Raw material | 1,985.968 | 59.60% |
2 | สินค้า Investment Goods | 519.433 | 15.58% |
3 | สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) | 826.467 | 24.80% |
รวม | 3,331.868 | 100% |
ในช่วงเดือนมเมษายน – มิถุนายน 2567 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 6,906.388ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกของเมียนมามี 3,574.520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าของเมียนมามี 3,331.868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 242.652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การเกษตร ประมง สินแร่ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น
สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
3) สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา (ข้อมูลกรมศุลกากรไทย: ม.ค. – ก.ย. 67)
ตารางที่ 11 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา
รายการ | มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ | อัตราขยายตัว (%) | สัดส่วน (%) | |||||||
2566 | 2566
(ม.ค.-ก.ย.) |
2567
(ม.ค.-ก.ย.) |
2566 | 2566
(ม.ค.-ก.ย.) |
2567
(ม.ค.-ก.ย.) |
2566 | 2566
(ม.ค.-ก.ย.) |
2567
(ม.ค.-ก.ย.) |
||
มูลค่าการค้า | 7,434.41 | 5,835 | 5,331 | -9.68 | -7.67 | -8.67 | 1.29 | 1.35 | 1.18 | |
การส่งออกของไทย | 4,410.49 | 3,416 | 2,957 | -6.17 | -6.77 | -13.47 | 1.55 | 1.59 | 1.32 | |
การนำเข้าของไทย | 3,023.92 | 2,419 | 2,374 | -14.36 | -8.92 | -1.90 | 1.05 | 1.11 | 1.04 | |
ดุลการค้า | 1,386.57 | 997 | 583 | 18.56 | -1.10 | -41.54 | ||||
ที่มา : Thailand’s Trade Statistic (moc.go.th)
ปี 2567 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2567 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 5,331 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.68 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 2,957 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.17 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศเมียนมาใช้เวลานาน สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 2,374 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.36 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 583 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป กาแฟ ชา เครื่องเทศ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น
- สถานการณ์สำคัญ
3.1 เมียนมาสำรวจสำมะโนประชากร เตรียมเลือกตั้งในปี 2568
เมียนมาเริ่มสำรวจสำมะโนประชากรทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2568 โดยการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งนี้ มีคำถามที่ครอบคลุม ครบถ้วน และแม่นยำมากขึ้น โดยจะมีเจ้าหน้าที่สำรวจสำมะโนประชากรเก็บข้อมูลตามบ้าน ตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 น. และจะแจ้งวันที่ล่วงหน้า
ผลกระทบ/โอกาส การสำรวจสำมะโนประชากรเพื่อเตรียมเลือกตั้งในปี 2568 เป็น “สัญญาณที่ดี” สะท้อนว่าการเมืองการปกครองของเมียนมาจะเป็นแนวทางตามระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของประชาชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเมียนมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเมียนมาต่อไป
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคธุรกิจติดตามข้อมูลและสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และนำมาวิเคราะห์ปรับใช้เพื่อวางแผนหรือดำเนินการทางธุรกิจต่อไป ทั้งแผนรองรับโอกาสหากมีสถานการณ์ที่ดีขึ้น และแผนสำรองหรือแผนบริหารความเสี่ยงหากมีสถานการณ์ที่ท้าทายเกิดขึ้น สิ่งสำคัญไม่ว่าสถานการณ์ใดจะเกิดขึ้น ตลาดเมียนมามีโอกาสและมีศักยภาพ เพราะมีความต้องการสินค้าและนิยมสินค้าไทย ขอให้ผู้ประกอบการปรับแผนธุรกิจรองรับความท้าทายต่างๆ เพื่อปักหมุดคว้าโอกาสในตลาดเมียนมาต่อที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.2 เมียนมากำกับดูแลเรื่องการฟอกเงินและธุรกรรมนอกระบบ
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ธนาคารกลางเมียนมา (CBM : Central Bank of Myanmar) ได้จัดประชุมชี้แจงให้กับภาคธุรกิจเมียนมาเรื่องการกำกับดูแลเรื่องการฟอกเงินและธุรกรรมนอกระบบ โดยชี้แจงนำเสนอแผนและความคืบหน้าการดำเนินงานเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินการก่อการร้าย (AML/CFT : Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism) ซึ่งธนาคารกลางเมียนมาได้ดำเนินการตามข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF : Financial Action Task Force) ซึ่งเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานสากลเพื่อต่อต้านการฟอกเงินและสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ผลกระทบ/โอกาส เป็นสัญญาณที่ดี ที่ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) มีแผนและได้ดำเนินการตามข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF) เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการฟอกเงินและธุรกรรมการเงินนอกระบบ โดยมีการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นและการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องแสดงข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติม เพื่อให้ธนาคารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ จึงอาจมีขั้นตอนหรือเวลาดำเนินการเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการกำกับดูแลและดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นระบบการเงินเมียนมา ส่งผลดีต่อการค้าและระบบเศรษฐกิจในระบบต่อไป รวมทั้งสะท้อนว่าเมียนมาพยายามดำเนินการเพื่อปรับสถานะและปรับภาพลักษณ์ของประเทศให้ดีขึ้นตามมาตรฐานสากลทางการเงินดังกล่าว
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนปรับกระบวนการทางธุรกิจและธุรกรรมทางการเงิน รวมทั้งเผื่อระยะเวลาดำเนินการ ให้สอดคล้องกับขั้นตอนการตรวจสอบทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งอาจต้องแสดงข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมตามที่ธนาคารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร้องขอ
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.3 ธนาคารกลางเมียนมาทดสอบระบบ MyanmarPay เตรียมเปิดใช้งานภายในเดือนธันวาคม 2567
ธนาคารกลางเมียนมา (CBM : Central Bank of Myanmar) ได้ทดสอบระบบ MyanmarPay (Digital Payment) เชื่อมโยงการชำระเงินผ่าน QR กลาง รองรับการโอนเงินและการชำระเงินของธนาคารต่างๆ โดยเตรียมเปิดใช้งานภายในเดือนธันวาคม 2567
ผลกระทบ/โอกาส เป็นก้าวสำคัญที่เมียนมายกระดับการชำระเงินให้ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะใช้ QR Code กลาง ที่เป็นมาตรฐานสามารถเชื่อมโยงได้กับทุกธนาคาร รองรับการชำระเงินรูปแบบใหม่ สแกน QR Code แทนการใช้เงินสด
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ระบบการเงินมีความสำคัญกับเศรษฐกิจการค้า ซึ่งหากมีระบบ Myanmar Pay ที่เป็น QR กลาง ที่เป็นมาตรฐานสามารถเชื่อมโยงได้กับธนาคารต่างๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้บริโภคและประชาชนผู้ใช้งาน นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการสร้างยกระดับและความเชื่อมั่นระบบการเงินเมียนมาที่เป็นมาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.4 เมียนมาเพิ่มความเข้มข้นตรวจจับสินค้าลักลอบผิดกฎหมาย
ตามปกติทางการเมียนมามีการตรวจสอบและจับสินค้าผิดกฎหมาย สินค้าลักลอบที่ไม่ได้รับใบอนุญาต เช่น ใบอนุญาตนำเข้า (Import license) ใบรับรองอาหารและยา (FDA Certification) เป็นต้น เมื่อตรวจจับแล้ว จะนำลงเผยแพร่ เช่น หนังสือพิมพ์ Global New Light of Myanmar อยู่เสมอ เพื่อเป็นการแจ้งเตือนและป้องปรามสินค้าลักลอบผิดกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา (เดือนตุลาคม 2567) ได้เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจจับสินค้าลักลอบผิดกฎหมายมากยิ่งขึ้น โดยตรวจจับสินค้าลักลอบผิดกฎหมาย แล้วนำลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ Global New Light of Myanmar วันที่ 24-25, 27 และ 29-30 ตุลาคม 2567 โดยสินค้าลักลอบผิดกฎหมาย เช่น อาหารเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น
ผลกระทบ/โอกาส การเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจจับสินค้าผิดกฎหมาย สินค้าลักลอบที่ไม่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว เป็นการแจ้งเตือนจากทางการเมียนมาที่มีนัยสำคัญ สะท้อนว่าเมียนมาได้กำกับดูแลและควบคุมเรื่องสินค้าลักลอบผิดกฎหมายอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมายและมีใบอนุญาตหรือใบรับรองที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบอนุญาตนำเข้า ใบรับรองอาหารและยา เป็นต้น ซึ่งหากผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ได้ ก็จะลดความเสี่ยงเรื่องการถูกตรวจจับดังกล่าว โดยความท้าทายสำคัญคือการขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ใบอนุญาตนำเข้า (Import License) เนื่องจากเมียนมาควบคุมและจำกัดการนำเข้า จึงมีนโยบายและข้อกำหนดให้การนำเข้าต้องจับคู่กับรายได้ส่งออก (Export Earning) แล้วจะอนุญาต ให้ Import License ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนที่ไม่ได้รับ Import License แต่มีคำสั่งซื้อหรือความต้องการสินค้า อาจลักลอบนำเข้าสินค้าดังกล่าว ซึ่งมีความเสี่ยงถูกตรวจจับสินค้าลักลอบผิดกฎหมายที่เข้มข้นขึ้นของทางการเมียนมา
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของเมียนมา เพื่อลดความเสี่ยงจากการตรวจจับสินค้าลักลอบผิดกฎหมายดังกล่าว สำหรับการขอ Import License แม้จะมีความท้าทาย แต่ก็มีแนวทางแก้ไข เช่น การจับคู่กับ Export Earning ซึ่งหากปรับตัวโดยใช้แนวทางดังกล่าวได้ ก็จะได้รับ Import License ลดความเสี่ยงการถูกตรวจจับสินค้าลักลอบ และเกิดประโยชน์กับธุรกิจต่อไป ซึ่ง สคต.ย่างกุ้ง ยินดีให้บริการสนับสนุนการปรับตัวก้าวข้ามความท้าทาย ปักหมุดในตลาดเมียนมาในทุกสถานการณ์
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
พฤศจิกายน 2567
อ่านข่าวฉบับเต็ม : รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนตุลาคม 2567