หน้าแรกTrade insightข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ > รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนสิงหาคม 2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนสิงหาคม 2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ประจำเดือนสิงหาคม 2567

***************************************

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนสิงหาคม 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 74,887.346 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,494.139 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.18 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ

1.1 เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อในปี 2567 ของเมียนมา คาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 15 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,454 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา

ตัวชี้วัดทาง

เศรษฐกิจที่สำคัญ

ปี 2560 ปี 2561

 

ปี 2562

 

ปี 2563

 

ปี 2564

 

ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567

(คาดการณ์)

GDP Growth (%) 5.8 6.4 6.8 3.2 -17.9 2.0% 2.6% 1.5%
GDP (billions of US$) 61.27 66.7 68.8 81.26 65.16 66.12 74.86 79.27
GDP per Capita (US$) 1,180 1,270 1,300 1,530 1,217 1,228 1,381 1,454
Inflation (%) 4.62 5.94 8.63 5.73 3.64 16 14 15

ที่มา: IMF  https://www.imf.org/en/Countries/MMR#countrydata

1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ ส.ค. 66 และ ส.ค. 67

ประเทศ/สหภาพ สกุลเงิน อัตรา

สิ้นเดือน ส.ค. 66

อัตรา

สิ้นเดือน ส.ค. 67

USA 1 USD 2,100 MMK 2,100.00 MMK
Euro 1 EUR 2,282.60 MMK 2,326.20 MMK
Singapore 1 SGD 1,553.30 MMK 1,612.0 MMK
Thailand 1 THB 60.043 MMK 61.883 MMK

ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินสกุลท้องถิ่นเมียนมาจ๊าตในช่วงเดือนสิงหาคมของปี 2567 มีความคงที่สำหรับเงินเหรียญสหรัฐฯ อยู่ที่อัตรา 2,100 MMK ต่อ 1 USD เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางเมียนมา ทั้งนี้ ตลาดแลกเงินนอกระบบมีอัตราที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลาง โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 5,500 – 6,000 จ๊าตต่อ 1 USD

กราฟแสดงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมียนมาจ๊าต (MMK) ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ช่วงเดือนสิงหาคม 2567

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อยู่ที่ 2,100 MMK ต่อ 1 USD สําหรับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,100 จ๊าต ต่อ 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเมียนมาจะออกประกาศเพิ่มเติม หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง

1.3 ภาวะการลงทุน

1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ

ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2567 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 154.859 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – สิงหาคม 2567

อันดับ ประเทศ มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย. – ส.ค. 67

สัดส่วน (%)
1 สิงคโปร์ 87.742 56.66%
2 ไทย 44.00 28.41%
3 จีน 35.370 22.84%
4 อินโดนีเซีย 20.892 13.49%
5 อินเดีย 7.088 4.58%
6 ไต้หวัน 2.628 1.70%
7 อังกฤษ 2.519 1.63%
8 เกาหลีใต้ 2.357 1.52%
9 ฮ่องกง 1.827 1.18%
10 ญี่ปุ่น 0.436 0.28%
  รวม 154.859 100%

    ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนสิงหาคม 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,566.139 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,678.673 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.51 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 156 โครงการ

    ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนสิงหาคม 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 74,887.346 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,494.139 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.18 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ

1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ

ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2024 – 2025 ในเดือนเมษายน – สิงหาคม 2567 รายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ปีงบประมาณ 2024-2025 (เม.ย. – ส.ค. 67)

อันดับ ประเภทธุรกิจ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.– ส.ค. 67

สัดส่วน (%)
1 Transport& Communication 82.660 39.81%
2 Manufacturing 75.617 36.42%
3 Services 44.000 21.19%
4 Power 3.723 1.79%
5 Livestock & Fisheries 1.088 0.52%
6 Agriculture 0.125 0.06%
  รวม 207.613 100%

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025          สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 27.98 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 20.25 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.42

ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025

  1. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา

      2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา

ตารางที่ 8 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – พฤษภาคม 2567)

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Export Import Trade Volume
2024-2025 2023-2024 % 2024-2025 2023-2024 % 2024-2025 2023-2024 %
(31-5-2024) (31-5-2023) change (31-5-2024) (31-5-2023) change (31-5-2024) (31-5-2023) change
2,307.243 2,079.801 10.94% 2,243.717 3,243.129 -30.82% 4,550.960 5,322.930 -14.50%

ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2567 ของปีงบประมาณ 2024-2025 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 4,550.960 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในส่วนของการส่งออกมีมูลค่า 2,307.243 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.94 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 2,243.717 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 30.82 ทั้งนี้ ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2567 เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 63.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา

   ตารางที่ 9 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – พฤษภาคม 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 MANUFACTURING GOODS 1,146.704 49.70%
2 AGRICULTURAL PRODUCTS 971.957 42.13%
3 MARINE PRODUCTS 102.970 4.46%
4 MINERALS 28.268 1.23%
5 FOREST PRODUCTS 9.897 0.43%
6 ANIMAL PRODUCTS 1.143 0.05%
7 OTHER PRODUCTS 46.304 2.01%
  รวม 2,307.243 100.0%

2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา

ตารางที่ 10 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – พฤษภาคม 2567)

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 สินค้า Commercial Raw material 1,194.146 53.22%
2 สินค้า Investment Goods 334.001 14.89%
3 สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) 254.876 11.36%
4 อื่นๆ (CMP: Cutting, Making, Packing) 460.694 20.53%
  รวม 2,243.717 100%

2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา

ตารางที่ 11 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

 

รายการ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%)
2566 2566

(ม.ค.-ก.ค.)

2567

(ม.ค.-ก.ค.)

2566 2566

(ม.ค.-ก.ค.)

2567

(ม.ค.-ก.ค.)

2566 2566

(ม.ค.-ก.ค.)

2567

(ม.ค.-ก.ค.)

 
มูลค่าการค้า 7,434.41 4,708.47 4,173.75 -9.68 -6.05 -11.36 1.29 1.41 1.20
การส่งออก 4,410.49 2,757.78 2,356.91 -6.17 -5.17 -14.54 1.55 1.67 1.38  
การนำเข้า 3,023.92 1,950.69 1,816.84 -14.36 -7.27 -6.86 1.04 1.15 1.02  
ดุลการค้า 1,386.57 807.09 540.07 18.56 0.34 -33.08        

ที่มา : OPS กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย ณ วันที่ 2 ก.ย. 67

ปี 2567 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567     มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,173.75 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.36 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 2,356.91 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.54 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศเมียนมาใช้เวลานาน สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 1,816.84 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.86  จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 540.07 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

3. สถานการณ์สำคัญ

3.1 เมียนมาผ่อนคลายกฎระเบียบรายได้การส่งออก (Export Earning) เป็นอัตราตลาดมากขึ้น

เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 67 ธนาคารกลางเมียนมา หรือ CBM (Central Bank of Myanmar) ออกประกาศปรับสัดส่วนรายได้การส่งออก (Export Earning) เป็นอัตราตลาดมากขึ้น (จากเดิม 65:35 ผ่อนคลายเป็น 75:25)   โดยรายได้การส่งออก 100% แลกอัตราตลาดออนไลน์ 75% และอัตราทางการ 25% มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 67

ผลกระทบ/โอกาส การผ่อนคลายกฎระเบียบให้สัดส่วนรายได้การส่งออกเป็นอัตราตลาดมากขึ้นเป็นสัญญาณที่ดี ช่วยให้มีเงินต่างประเทศเข้าระบบมากขึ้น เพิ่มสภาพคล่องเงินต่างประเทศในเมียนมา ส่งผลดีต่อการให้ Import License ได้มากขึ้น เพิ่มสภาพคล่องการแลกเงินต่างประเทศเพื่อชำระค่านำเข้าในเมียนมาได้มากขึ้น เพิ่มโอกาสให้ผู้นำเข้าสามารถจับคู่การนำเข้ากับ Export Earning เพื่อประกอบการขอ Import License     ได้มากขึ้น

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ อย่างไรก็ตาม อัตราตลาดดังกล่าวเป็นอัตราตลาดออนไลน์ (3,300-3,400 จ๊าตต่อเหรียญฯ) ที่แม้จะมากกว่าอัตราแลกเปลี่ยนทางการ (2,100 จ๊าตต่อเหรียญฯ) แต่ก็น้อยกว่าอัตราตลาดจริง (5,300-5,600    จ๊าตต่อเหรียญฯ) ดังนั้น แม้จะผ่อนคลายมากขึ้นกว่าเดิมซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี แต่ก็ยังมีช่องว่างระหว่างอัตราตลาดออนไลน์กับอัตราตลาดจริง จึงต้องติดตามต่อไปว่าเรทตลาดออนไลน์จะปรับขึ้นให้ใกล้เคียงเรทตลาดจริงมากขึ้น ซึ่งจะจูงใจให้มีเงินต่างประเทศเข้าระบบการเงินเมียนมามากขึ้นและเพิ่มสภาพคล่องเงินต่างประเทศในเมียนมาต่อไป

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.2 เมียนมาปรับขึ้นค่าแรงรวมเป็น “6,800 จ๊าตต่อวัน” มีผล 1 ส.ค. 67

เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 67 เมียนมาประกาศ “ปรับขึ้นค่าแรง” รวมเป็น 6,800 จ๊าตต่อวัน โดยกำหนดให้ค่าแรงขั้นต่ำ คือ 4,800 จ๊าตต่อวัน และเพิ่มให้ Allowance 2,000 จ๊าตต่อวัน โดยมีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 67

ผลกระทบ/โอกาส การปรับขึ้นค่าแรงจากเดิม 5,800 เป็น 6,800 จ๊าตต่อวันดังกล่าว มีข้อดีคือเพิ่มกำลังซื้อและเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการซื้อขายจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่มีปริมาณเงินในระบบมากขึ้นอาจส่งผลกระทบทำให้เงินอ่อนค่าหรือเงินเฟ้อมากขึ้น รวมทั้งอาจส่งผลต่อต้นทุนค่าแรงของธุรกิจ ซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับราคาสินค้าหรือบริการให้สูงขึ้น

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ เรื่องค่าแรงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของธุรกิจ ทั้งการหากำลังแรงงานและต้นทุนแรงงานที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่ดำเนินการหรือผลิตในเมียนมา สิ่งสำคัญคือการติดตามสถานการณ์และปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องรองรับ เช่น ต้นทุนค่าแรง อัตราแลกเปลี่ยน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การขนส่งโลจิสติกส์ แผนการตลาด เพราะไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ตลาดเมียนมายังคงมีความต้องการสินค้าและบริการ แม้มีความท้าทายหลายประการก็ตาม

3.3 เมียนมาปรับขึ้นดอกเบี้ย มีผล 1 ก.ย. 67

เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 67 ธนาคารกลางเมียนมา (CBM : Central Bank of Myanmar) ประกาศ “ปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 9 ต่อปี” (จากเดิมร้อยละ 7 ต่อปี) มีผลตั้งแต่ 1 ก.ย. 67 โดยกำหนดช่วงอัตราดอกเบี้ยแต่ละประเภท ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี

ผลกระทบ/โอกาส การปรับขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยเพิ่มปริมาณเงินฝากในขณะที่ลดปริมาณเงินกู้ ส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลง ช่วยลดปัญหาเงินเฟ้อและเงินจ๊าตอ่อนค่าในภาพรวมได้บางส่วน

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ สำหรับภาคธุรกิจอาจมีต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งผู้ประกอบการควรพิจารณาอย่างรอบด้านและปรับแผนธุรกิจให้เหมาะสมรองรับต่อไป

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

กันยายน 2567

อ่านข่าวฉบับเต็ม : รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนสิงหาคม 2567

Login