หน้าแรกTrade insight > รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของประเทศชิลี ฉบับที่ 12 ประจำปี 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของประเทศชิลี ฉบับที่ 12 ประจำปี 2566

ภาพรวมเศรษฐกิจ 

ข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดจากธนาคารกลางชิลี ระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศในเดือนตุลาคม 2566 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลสืบเนื่องมาจากราคาทองแดงในตลาดโลกยังอยู่ในช่วงขาลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม และลดต่ำสุดในเดือนตุลาคม 2566 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอุตสหรรมเหมืองแร่ในประเทศ และนับว่าเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ -4.0% อย่างไรก็ดี ในภาคบริการมีปรับตัวดีจากเดือนก่อนหน้า โดยมีการขยายตัวที่ 1% ภาคอุตสหกรรมการผลิตมีการขยายตัวที่สูงที่สุดที่ 6.3% ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม ภาคการค้าส่งและค้าปลีกแม้จะยังอยู่ในแดนลบ แต่ถือว่ามีการปรับตัวดีขึ้นจากเดิมที่ -5.1% ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ -0.7% ซึ่งธนาคารกลางชิลีคาดว่าเศรษฐกิจของชิลีจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

ในส่วนของรายละเอียดในแต่ละด้านประจำเดือนตุลาคม 2566 สคต. ณ กรุงซันติอาโก ขอสรุปรายละเอียด ดังนี้

 

1. การบริโภคภาคเอกชน (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี)

 การบริโภคภาคเอกชนในชิลีในเดือนตุลาคม 2566 ยังคงทรงตัว เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ชาวชิลีระมัดระวังในการใช้จ่าย โดยสะท้อนจากรายได้และปริมาณในการจำหน่ายสินค้ามีการหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยสินค้าคงทน (รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน) หดตัวลง -6.1% ปริมาณการจำหน่ายสินค้าในหมวดสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม หมวดเครื่องดื่มและยาสูบ หมวดอาหาร พบว่ามีการหดตัวที่  -12.0% , -11.8%,  -5.9%, ตามลำดับ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนตุลาคม 2566 มีการปรับระดับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากเดิมซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.7 ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 41.5

 

2.การลงทุน (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี)

บรรยากาศการลงทุนในภาคเอกชนและภาครัฐของชิลีประจำเดือนตุลาคม 2566 มีการหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยสะท้อนจากปริมาณการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการก่อสร้างลดลง -11.0% ตัวเลขการขออนุญาตก่อสร้างในโครงการที่อยู่อาศัยและโครงการอาคารสำนักงาน (คิดเป็นตารางเมตร) ลดลงถึง -35.8% และปริมาณการจำหน่ายสินค้าวัสดุและเครื่องมือในหมวดก่อสร้าง ลดลง -10.9%

สำหรับดัชนีของความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมในเดือนตุลาคม 2566 มีการปรับระดับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย จากที่ระดับ 43.4 มาอยู่ที่ 43.9 เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นแยกตามประเภทธุรกิจพบว่าภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างมีระดับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ระดับ 66.1 และ 26.7 ตามลำดับ ในขณะที่ ภาคการผลิตมีการปรับระดับลดลง

 

3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี https://si3.bcentral.cl และสำนักงานสถิติแห่งชาติของชิลี https://www.ine.gob.cl)

ตัวเลขการว่างงานของประเทศชิลีในเดือนตุลาคม 2566 อยู่ในระดับคงที่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ 8.9% ของจำนวนผู้ใช้แรงงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566

สภาวะเงินเฟ้อของประเทศชิลีมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนตุลาคม 2566 อยู่ที่ 5.0%  ทั้งนี้ สินค้า 3 หมวดแรกที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 12 เดือน ได้แก่ (1) หมวดการศึกษา (2) หมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ (3) หมวดร้านอาหารและโรงแรม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 11.0%  9.2% และ 8.6% ตามลำดับ

 

4. การส่งออก-นำเข้า (ข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศของชิลี SUBREI – www.subrei.gob.cl)

การส่งออกสินค้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 มีมูลค่ารวมที่ 80,908 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -0.4%  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่

 

สินค้า ม.ค.-ต.ค. (ล้านเหรียญสหรัฐ) ขยายตัว

(65/66)

ปี 2565 ปี 2566
สินแร่ 46,020 45,190 -1.8%
เนื้อสัตว์ 10,726 10,722 0.4%
เคมีภัณฑ์ 7,431 8,826 19%
ผลไม้ 4,884 5,368 9.9%
ปลาแซลมอน 5,075 5,077 0.04%
เยื่อกระดาษ 2,300 2,024 -12%
ไวน์ 1,343 1,049 -22%

การนำเข้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 มีมูลค่ารวมที่ 66,423 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -17.% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่

 

สินค้า ม.ค-ต.ค. (ล้านเหรียญสหรัฐ) ขยายตัว

(65/66)

ปี 2565 ปี 2566
สินค้าหมวดพลังงาน 47,654 38,781 -19%
สินค้าอุปโภคบริโภค 24,389 18,174 -25%
สินค้าทุน 16,420  14,607 -11%
 -รถยนต์เชิงพาณิชย์ 2,632   1,966 -25%
 -เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมก่อสร้าง 1,016         1,188 17%

จากการที่ตัวเลขการส่งออกของชิลีสูงกว่าตัวเลขการนำเข้า ทำให้ชิลีได้ดุลการค้า จำนวน 14,485 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

5. การค้าของชิลีกับไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลสถิติทางการค้าจาก Global Trade Atlas)

ชิลีนำเข้าสินค้าจากไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 มูลค่า 483.24 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -28.94% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งสินค้าที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  • รถยนต์และส่วนประกอบ (05 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -43.01%)
  • เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -32.05%)
  • ปลากระป๋อง (76 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 64.62%)
  • เครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้า (98 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น16.59%)
  • อัญมณีและเครื่องประดับ (24.20 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -16.39%)

 

สำหรับตัวเลขการนำเข้าของชิลีจากกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ชิลีนำเข้าจากเวียดนาม 966.55 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -14.61%)
  • ชิลีนำเข้าจากไทย 483.24 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -28.94%)
  • ชิลีนำเข้าจากอินโดนีเซีย 256.83 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -29.36%)
  • ชิลีนำเข้าจากมาเลเซีย 143.88 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -39.93%)
  • ชิลีนำเข้าจากสิงคโปร์ 64.58 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -1.88%)

ชิลีส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ที่มูลค่า 542.65 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -2.79% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า)  ซึ่งสินค้าที่ส่งออกไปยังไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ทองแดง (92 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -9.62%)
  • ปลาแซลมอนและอาหารทะเล (56 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง  -17.21%)
  • เยื่อกระดาษ (95 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.06%)
  • สินแร่อื่น ๆ (38.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 95%)
  • ผลไม้และผลิตภัณฑ์จากธัญพืช (01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.28%)

สำหรับตัวเลขการส่งออกของชิลีไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ชิลีส่งออกไปยังไทย 542.65 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -2.79%)
  • ชิลีส่งออกไปเวียดนาม 278.10 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -19.68%)
  • ชิลีส่งออกไปมาเลเซีย 261.88 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 11.32%)
  • ชิลีส่งออกไปอินโดนีเซีย 125.82 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -24.34%)
  • ชิลีส่งออกไปยังสิงคโปร์ 57.68 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -68.68%)

 

มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย-ชิลี ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 อยู่ที่ 1025.89 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -17.15%) โดยชิลีส่งออกสินค้าไปยังไทยมากกว่านำเข้าจากไทย จึงทำให้ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าที่ 59.41 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก

ธันวาคม 2566

อ่านข่าวฉบับเต็ม : รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของประเทศชิลี ฉบับที่ 12 ประจำปี 2566

Login