หน้าแรกTrade insightเครื่องดื่ม > รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประจำเดือนตุลาคม 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประจำเดือนตุลาคม 2566

  1. สรุปภาพรวมทั่วไปในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ด้านเศรษฐกิจ

  • ในรายงานล่าสุดเกี่ยวกับเศรษฐกิจเวียดนาม ธนาคาร Standard Chartered ยังคงคาดการณ์การเติบโตของ GDP ของเวียดนามในปี 2567 ไว้ที่ร้อยละ 6.7 และปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ของเวียดนามในปี 2566 จากร้อยละ 5.4 เหลือร้อยละ 5 ธนาคาร Standard Chartered ระบุว่า แม้ว่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจมหภาคจะดีขึ้น แต่ไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการผลิตที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม สัญญาณการฟื้นตัวในประเทศมีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งขึ้นจากยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.4 และอาจเพิ่มขึ้นสูงขึ้นในปี 2567 ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนั้น ธนาคาร Standard Chartered คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางเวียดนามจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกต่อไป อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ เป็นเงินด่งจะอยู่ที่ 24,500 ภายในสิ้นปี 2566 (เทียบกับ 23,400 ก่อนหน้านี้) และอยู่ที่ 23,500 จนถึงสิ้นปี 2567 (เทียบกับ 23,000 ก่อนหน้านี้) ผู้เชี่ยวชาญของธนาคาร Standard Chartered กล่าวว่า แนวโน้มทางเศรษฐกิจระยะกลางของเวียดนามยังคงสดใสเนื่องมาจากเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
  • ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 นาย Tran Hong Ha รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้ลงนามในมติ 1305/QD-TTg เพื่ออนุมัติโครงการระดับชาติว่าด้วยการเพิ่มผลิตภาพแรงงานจนถึงปี 2573 โดยกำหนดเป้าหมายรวมคือ ผลิตภาพแรงงานจะกลายเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการเติบโตที่ยั่งยืน ใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (The Fourth Industrial Revolution- INDUSTRY 4.0) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการปรับปรุงคุณภาพทรัพยากรบุคคลการส่งเสริมการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม และ การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ส่วนเป้าหมายเฉพาะของโครงการคือ อัตราการเติบโตของผลิตภาพแรงงานโดยเฉลี่ยกว่า  ร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยอัตราการเติบโตของผลิตภาพแรงงานในอุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 6.5 – 7.0 ต่อปี ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมง และภาคบริการอยู่ที่ร้อยละ 7.0 – 7.5 ต่อปี และมุ่งมั่นที่จะอยู่ในกลุ่ม 3 ประเทศชั้นนำในอาเซียนในด้านอัตราการเติบโตของผลิตภาพแรงงานภายในปี 2573
  • ในวันที่ 18 ตุลาคม 2566 สำนักรัฐบาลเวียดนามส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเกี่ยวกับข้อเสนอลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่จะลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ในปัจจุบัน หลังจากนั้น จะยังคงเสนอต่อคณะกรรมาธิการสภาแห่งชาติเพื่อพิจารณาลดภาษีมูลค่าเพิ่มหลังวันที่ 30 มิถุนายน 2567 หากสถานการณ์เศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ และประชาชนยังคงประสบความยากลำบาก
  • สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) ระบุว่า ในเดือนตุลาคม 2566 วิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีจำนวน 15,400 ราย (+21.7%) โดยมีทุนจดทะเบียน 18 ล้านล้านด่ง (186,279 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 จำนวนวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565 ภาคธุรกิจบริการมีจำนวนวิสาหกิจที่จัดตั้งใหม่มากที่สุด รองมาเป็นภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง และภาคการเกษตรและป่าไม้ วิสาหกิจ 146,550 รายในเวียดนามลงทะเบียนหยุดดำเนินการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

ที่มา:  https://www.gso.gov.vn/

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ในเดือนตุลาคม 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 08 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และร้อยละ 3.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มสินค้าและบริการที่มีราคาสูงขึ้น เช่น กลุ่มการศึกษา ที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง เครื่องดื่มและบุหรี่ กลุ่มอาหารและบริการจัดเลี้ยง กลุ่มวัฒนธรรม    ความบันเทิง และการท่องเที่ยว และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัว ส่วนกลุ่มสินค้าและบริการที่มีราคาลดลง ได้แก่        การคมนาคมและการขนส่ง และกลุ่มโทรคมนาคมและไปรษณีย์ ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) ในเดือนตุลาคม 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการผลิตของอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 และการจำหน่ายน้ำและบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 3.2

           ที่มา:  https://www.gso.gov.vn/

  • ยอดการค้าปลีกและบริการของเวียดนามในเดือนตุลาคม 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากเดือนก่อน และ ร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ยอดการค้าปลีกและบริการในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566     คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,105 ล้านล้านด่อง (7,559 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

 

                ที่มา: https://www.gso.gov.vn/

  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนตุลาคม 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.09 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาและร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38

                  ตาราง 1 เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2564

เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ อัตราการเติบโต (%)           

 

 

(%)

– ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม +0.5
– ยอดค้าปลีกของสินค้าและบริการ +9.4
– มูลค่าการส่งออก -7.0
– มูลค่าการนำเข้า -12.2
– ดัชนีราคาผู้บริโภค +3.2
– อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน +4.38

                             ที่มา: กรมสถิติเวียดนาม     

ด้านการลงทุน

  • ในปัจจุบัน เวียดนามมีโครงการลงทุนจากต่างชาติ 38,622 โครงการ ด้วยทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 460,071 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดด้วย 9,795 โครงการ โดยมีมูลค่าเงินทุนจดทะเบียน 84,016 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.3 ของมูลค่าเงินทุนทั้งหมด รองมาเป็นสิงคโปร์ ที่มี 3,412 โครงการ ด้วยมูลค่าเงินทุนจดทะเบียน 73,409 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 9 และถัดไปเป็นญี่ปุ่น ที่มี 5,227 โครงการ มูลค่า 71,414 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 15.5 เป็นต้น

  ตาราง 2 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาตินับถึงเดือนตุลาคม 2566 จำแนกตามรายประเทศ

                                                                                                                  หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ประเทศ จำนวนโครงการ เงินทุนจดทะเบียนรวม
เกาหลีใต้ 9,795 84,106
สิงคโปร์ 3,412 73,409
ญี่ปุ่น 5,227 71,414
ไต้หวัน 3,071 38,958
ฮ่องกง 2,400 32,930
จีน 4,105 26,502
หมู่เกาะเวอร์จิน 908 22,703
เนเธอร์แลนด์ 432 14,300
ไทย 726 13,843
มาเลเซีย 729 13,096
อื่นๆ 7,817 68,810
รวม  38,622  460,071

  ที่มา: กรมการลงทุนจากต่างชาติ

 

  ตาราง 3 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาตินับถึงเดือนตุลาคม 2566 จำแนกตามรายจังหวัด

                                                                                                                            หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

จังหวัด จำนวนโครงการ เงินทุนจดทะเบียนรวม
Ho Chi Minh 12,218 57,150
Binh Duong 4,187 40,224
Ha Noi   7,302 39,540
Dong Nai 1,884 36,432
Ba Ria-Vung Tau 551 33,875
Hai Phong 1,083 28,114
Bac Ninh 2,082 24,433
Thanh Hoa 190 15,082
Long An 1,367 13,507
Quang Ninh 177 12,934
อื่นๆ 7,581 158,781
รวม  38,622  460,071

  ที่มา: กรมการลงทุนจากต่างชาติ

  • การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 รวม 2,608 โครงการใหม่ด้วยเงินทุน จดทะเบียน 15,293 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินทุนจดทะเบียนรวมทั้งโครงการลงทุนใหม่ โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุน และซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนามรวม 20,208 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+14.7%) โครงการลงทุนจากต่างชาติมีการเบิกจ่ายเงินทุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 ตาราง 4 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 จำแนกตามรายประเทศ

                                                                                                                  หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ประเทศ จำนวนโครงการใหม่ เงินทุน

จดทะเบียนใหม่

เงินทุนจดทะเบียน   ที่เพิ่มขึ้น มูลค่าซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนาม เงินทุน

จดทะเบียนรวม

สิงคโปร์ 324 3,094 365 1,191 4,649
เกาหลีใต้ 391 1,665 1,927 334 3,926
ฮ่องกง 256 3,099 311 128 3,538
จีน 566 2,516 725 137 3,378
ญี่ปุ่น 261 725 451 1,835 3,011
ไต้หวัน 172 1,998 281 265 2,543
เนเธอร์แลนด์

 

19 374 73 444 891
ไทย

 

48 462 173 35 670
ซามัว 33 211 149 205 565
สหรัฐอเมริกา 96 88 319 106 513
อื่นๆ 442 1,061 563

 

454 2,078
รวม 2,608 15,293 5,334 5,134.87 25,761.89

  ที่มา: กรมการลงทุนจากต่างชาติ

 

  • ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 นักลงทุนต่างชาติลงทุนใน 18 ภาคธุรกิจ โดยภาคการผลิตและแปรรูปมีมูลค่า 18,838 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+45.8%) รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่า 2,137 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-44.8%) ธุรกิจการเงิน ธนาคาร และประกันมีมูลค่า 1,541 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+6,136%) ตามด้วยธุรกิจการค้าส่งค้าปลีก มีมูลค่า 906 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+6.3%) เป็นต้น
  • ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 การลงทุนจากประเทศไทยมี 48 โครงการใหม่ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 462 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับเพิ่มเงินทุน 173 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนามด้วยมูลค่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9  โดยมี 726 โครงการ ด้วยมูลค่าเงินทุนจดทะเบียนรวม 13,843 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นักลงทุนไทยส่วนใหญ่ลงทุนด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูป ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น นักลงทุนไทยรายใหญ่ที่ลงทุนในเวียดนาม เช่น TCC Group, Central Group, SCG, CP Vietnam, Hemaraj, ThaiBev, Amata, Grimm Power, Super Energy Corporation, Stark Coporation, Gunkul Engineering, Gulf Energy Development,  J.S.T Vietnam เป็นต้น
  1. การค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566

ในเดือนตุลาคม 2566 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามมีมูลค่า 61,772 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 32,253 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+5.1%) และมูลค่าการนำเข้า 29,519 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+3.6%) จากเดือนก่อน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 เวียดนามเกินดุลการค้า 9,652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้า 558,328 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 291,459 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-7%) และมูลค่าการนำเข้า 266,869 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-12.2%) เหตุผลที่การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 ลดลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงทั่วโลกทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าลดลง ซึ่งทำให้การส่งออกสินค้าสำคัญๆ ของเวียดนามลดลง

ตาราง 7 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566                                                                                                                                                หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  ปี 2565

(ม.ค -ธ.ค)

อัตราการเติบโตปี 2565

(%)

มกราคม-ตุลาคม 2565 มกราคม-ตุลาคม 2566 อัตราการเติบโต (ม.ค-ต.ค 2566)

   (%)

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ

 + มูลค่าการส่งออก

 + มูลค่าการนำเข้า

730,206

371,304

358,902

9.1

10.5

7.8

617,440

313,499

303,941

558,328

291,459

266,869

-9.6

-7.0

-12.2

ที่มา: กรมศุลกากรเวียดนาม

  • ตลาดส่งออกหลักของเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 สหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าเวียดนามรายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่า 79,249 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-1%) ตามด้วยจีน มูลค่า 49,584 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+5.1%) เกาหลีใต้ 19,651 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-4.9%) ญี่ปุ่น 19,234 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-4.0%) และฮ่องกง 7,587 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-19.1%)
  • ตลาดนำเข้าหลักของเวียดนาม ได้แก่ จีน มูลค่า 89,338 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-11.1%) รองมาเป็นเกาหลีใต้ 43,001 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-19%) ญี่ปุ่น 17,743 (-10.2%) ไต้หวัน 15,349 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-5%) และ สหรัฐอเมริกา 11,340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-7.9%)
  • สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบมีมูลค่า 46,520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-0.3%) โทรศัพท์และส่วนประกอบมีมูลค่า 44,127 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-12.4%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 35,397 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-7.4%) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 27,670 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-12.9%) และรองเท้า 16,443 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-18.3%)
  • สินค้านำเข้าหลักๆ ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบมีมูลค่า 71,288 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+1.2%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 33,926 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-10.3%) ผ้าทุกชนิด 10,711 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-14.4%) วัตถุดิบพลาสติก 8,054 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-24.9%) และโทรศัพท์และส่วนประกอบ 7,107 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-60%)
  1. การค้าระหว่างไทย – เวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566

จากสติถิของกรมศุลกากรเวียดนาม การค้าระหว่างไทย – เวียดนามในเดือนตุลาคม 2566 มีมูลค่า 1,694 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากเดือนก่อน โดยแบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกไปเวียดนามที่ 1,127 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+14.6%) และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากเวียดนาม 567 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+0.2%) ในช่วง 10 เดือนแรก    ของปี 2566 การค้าระหว่างไทย – เวียดนามมีมูลค่า 15,820 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกไปเวียดนาม 9,809ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-16%) และมูลค่าการนำเข้า 6,012 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-3.2%) ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 6 ของเวียดนาม

 

ตาราง 8 มูลค่าการค้าระหว่างไทย – เวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566    

                                                                                                                               หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  ปี 2565

(ม.ค -ธ.ค)

อัตราการเติบโตปี 2565       (%) มกราคม-ตุลาคม 2565 มกราคม-ตุลาคม 2566 อัตราการเติบโต (ม.ค-ต.ค 2566)

   (%)

มูลค่าการค้า

 – มูลค่าการส่งออกไปเวียดนาม

 – มูลค่าการนำเข้าจากเวียดนาม

21,568

14,092

7,476

15.1

12.0

21.5

17,891

11,678

6,213

15,820

9,809

6,012

-11.6

-16.0

-3.2

 

 

สินค้าหลักที่เวียดนามนำเข้าจากไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 เรียงลำดับตามสัดส่วนการนำเข้า ดังนี้

ตาราง 9 สินค้าหลักที่เวียดนามนำเข้าจากไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566

                                                                                                                        หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลำดับที่ สินค้า ปี 2565

(ม.ค -ธ.ค)

อัตราการเติบโตปี 2565           (%) มกราคม-ตุลาคม 2565 มกราคม-ตุลาคม 2566 อัตราการเติบโต (ม.ค-ต.ค 2566)

   (%)

1 ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ 1,700 39.1 1,374 1,478 7.6
2 รถยนต์ทุกชนิด 1,430 -5.2 993 997 0.4
3 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 1,040 12.0 871 742 -14.8
4 น้ำมันทุกประเภท 1,158 57.8 1,042 731 -29.8
5 เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและส่วนประกอบ 809 6.9 714 571 -20.0
6 ส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ 1,010 20.5 816 560 -31.4
7 วัตถุดิบพลาสติก 964 1.0 851 520 -38.9
8 สารเคมี 563 -2.7 497 331 -33.4
9 ผลิตภัณฑ์สารเคมี 399 24.5 334 291 -12.9
10 วัตถุดิบสิ่งทอ เครื่องหนัง 326 22.6 285 223 -21.8
  อื่นๆ 4,693 3,901 3,365
รวม 14,092

 

12.0    11,678

 

9,809 -16.0

 

 

สินค้าที่เวียดนามส่งออกไปไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 เรียงลำดับตามสัดส่วนการส่งออก ดังนี้

ตาราง 10 สินค้าหลักที่เวียดนามส่งออกไปไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566

                                                                                                                        หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลำดับที่ สินค้า ปี 2565

(ม.ค -ธ.ค)

อัตราการเติบโต          ปี 2565         (%) มกราคม-ตุลาคม 2565 มกราคม-ตุลาคม 2566 อัตราการเติบโต (ม.ค-ต.ค 2566)

   (%)

1 โทรศัพท์และส่วนประกอบ 1,008 7.3 851 808 -5.1
2 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 965 77.4 788 847 7.5
3 น้ำมันดิบ 880 54.1 704 610 -13.4
4 ยานยนต์และชิ้นส่วน 637 33.5 506 613 21.1
5 ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 524 3.6 453 503 11.0
6 เหล็ก เหล็กกล้า 282 -30.7 237 236 -0.1
7 สัตว์น้ำสด แช่แข็ง แช่เย็น แปรรูป 332 24.2 278 217 -21.9
8 สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 239 13.3 195 188 -3.6
9 กระดาษ 113 84.6 93 106 14.0
10 ผลิตภัณฑ์สารเคมี 183 55.0 159 109 -31.4
อื่นๆ 2,259 1,950 1,775
  รวม    7,476 21.5 6,213 6,012 -3.2
  1. 4. ความเห็น สคต.

          การนำเข้าและส่งออกสินค้าของเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 ยังคงลดลง เนื่องจากประเทศเศรษฐกิจหลักที่เป็นคู่ค้าส่งออกของเวียดนาม เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปลดการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทั่วไปและสินค้าฟุ่มเฟือย ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อลดลง ในขณะที่อุตสาหกรรมในประเทศส่วนใหญ่เน้นการส่งออกและขึ้นอยู่กับตลาดโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง รองเท้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งออกสินค้าในสัดส่วนร้อยละ 90 และมีเพียงร้อยละ 10 ที่จำหน่ายในประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การผลิตและกิจกรรมทางธุรกิจในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 มีแนวโน้มดีขึ้นจากการดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อขจัดปัญหาสำหรับธุรกิจของรัฐบาลเวียดนาม รวมทั้งการที่ธนาคารกลางเวียดนามได้ดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2566 รวมทั้งการนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ รวมถึงไทยด้วย

          สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย

                                                                                              พฤศจิกายน 2566

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login