- สรุปภาพรวมทั่วไป
- เศรษฐกิจ
สำนักงานสถิติแห่งชาติอิหร่าน (Statistical Centre of Iran : SCI) รายงานอัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของอิหร่านช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน ( 21 มีนาคม – 20 มิถุนายน 2566) เติบโตที่อัตราร้อยละ 3.3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP ณ ราคาพื้นฐานคงที่ของปี 2554 ใน ไตรมาสแรก มีมูลค่า 2,144 พันล้านเรียล (รวมน้ำมันดิบ) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ร้อยละ 7.9 ในขณะที่ตัวเลขดังกล่าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1,986 พันล้านเรียล (รวม น้ำมันดิบ) ซึ่งแสดงถึงการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอิหร่าน (GDP) เพิ่มสูงขึ้น โดยภาค เกษตรกรรมเติบโตติดลบร้อยละ 4.6 ภาคอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ ขยายตัวร้อยละ 7.3 และภาคบริการ ขยายตัวร้อยละ 9
อย่างไรก็ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของอิหร่านยังคงเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อเรื้อรังและความไม่มั่นคงด้าน ราคา และการอ่อนค่าของเงินสกุลท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงจากการคว่ำบาตร ทำให้ประชาชนไม่สามารถวางแผนการดำเนินชีวิตในอนาคต เป็นเหตุให้ความประพฤติทางการบริโภคและการออมทรัพย์ของ ประชาชนชาวอิหร่านในปัจจุบันเปลี่ยนไป ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เรื้อรังประชาชนชาวอิหร่านจะไม่ออมเงินหรือสะสมเงินไว้กับธนาคารในระยะยาวเนื่องจากค่าเงินสกุล ท้องถิ่นมีค่าอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง พวกเขาจะเก็บออมเงินในรูปของการซื้อเงินตราในสกุลเงินต่างประเทศ หรือซื้อเหรียญทองเก็บเก็บไว้เป็นทุนทรัพย์
ทั้งนี้ สถาบันเฟรเซอร์(Fraser Institute) ได้จัดลำดับการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ของโลก ในปี 2023 จำนวน 165 ประเทศ พบว่า ประเทศอิหร่านจัดอยู่ในลำดับที่ 160 โดยสถาบันเฟรเซอร์ (Fraser Institute) ได้ประกาศค่าดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 4.53 จาก 10 ซึ่งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบ กับค่าดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจของปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 4.58
- อัตราเงินเฟ้อ
สำนักงานสถิติแห่งชาติอิหร่าน (Statistical Centre of Iran : SCI) รายงานอัตราอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ประจำปี (เดือนกันยายน 2565 – กันยายน 2566) อยู่ที่ร้อยละ 46.1 อยู่ในระดับต่ำกว่าเดือนสิงหาคม 2566 จำนวน 0.6 หน่วย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อแบบจุดต่อจุดของเดือนกันยายน 2566 เทียบกับเดือนกันยายน 2566อยู่ที่ร้อยละ 39.5กล่าวคือ ในเดือนกันยายน 2566 ประชาชนอิหร่านใช้เงินในจำนวนที่มากกว่าเดือน กันยายน 2565 เพื่อจับจ่ายใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการชนิดเดียวกันเพิ่มขี้นร้อยละ 39.5 และจากรายงานวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อรายเดือนของดัชนีราคาผู้บริโภคชี้ให้เห็นว่าในเดือนกันยายน 2566 อัตราเงินเฟ้อรายเดือนของดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมอยู่ที่ 201.7จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 2จาก เดือนก่อนหน้า โดยสินค้าหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ เพิ่มชึ้นร้อยละ 1.5 ดัชนีราคาสินค้าที่นอกเหนือจากหมวดอาหารและหมวดบริการในเดือนนี้มีอัตราสูงร้อยละ 2.3 สินค้าที่มีอัตราเงินเฟ้อราย เดือนสูงสุด ได้แก่สินค้าหมวดเนื้อสัตว์ไข่ไก่ นม ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม
- การว่างงาน
อัตราการว่างงานของชาวอิหร่านที่มีอายุในวัยทำงาน (15-45 ปี) ในช่วงไตรมาสแรก (21 มีนาคม 2566 – 20 มิถุนายน 2566) มีอัตราร้อยละ 8.2 เพิ่มขี้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
- การลงทุนจากต่างประเทศ
ประธานองค์กรการลงทุนเพื่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและเทคนิคของอิหร่าน (Organization for investment Economic and Technical Assistance Of Iran) ได้เปิดเผย สถิติการลงทุน จา ก ต่างประเทศ ว่าในปีที่ผ่านมารัสเซียเป็นประเทศผู้ลงทุนในอิหร่านมากที่สุด โดยร่วมลงทุนในโครงการ น้ำมันดิบจำนวน 3 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับรองลงมาได้แก่ สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ ตุรกี จีน และอัฟกานิสถาน โดยที่ผ่านมาจีนได้เข้ามาลงทุนในอิหร่านในอุตสาหกรรมขนาดย่อย และขนาดกลางจำนวน 25 โครงการ มูลค่า 185 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในส่วนของ กิจการเหมืองแร่และการสร้างสถานีขนส่ง
2 . การค้าระหว่างประเทศ
- การส่งออก
กรมศุลกากรอิหร่าน (The Islamic Republic of Iran Customs Administration : IRICA) ได้รายงาน ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของอิหร่านในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน (21 มีนาคม – 20 สิงหาคม 2566) พบว่าอิหร่านส่งออกสินค้าไปต่างประเทศแล้วมูลค่า 19,342 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.55 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ จีน อิรัก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกีและอินเดีย อิหร่านส่งออกสินค้าไปยังจีนมากที่สุด ด้วยมูลค่า 5,565 ล้าน เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 28.77 ของมูลค่าการส่งออก ในส่วนของการค้ากับไทย อิหร่านส่ง สินค้าออกไปไทยแล้วมูลค่า 138,259,706 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีสินค้าส่งออกหลักได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า สัตว์น้ำทะเลแช่แข็งและแช่เย็น สินค้าเกษตร เป็นต้น
- การนำเข้า
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีปัจจุบัน อิหร่านนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมูลค่า 24,188 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 7.49 โดยมีนำเข้าหลัก 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ จีน ตุรกี เยอรมัน และอินเดีย ในส่วนของการนำเข้าจากไทย อิหร่านนำเข้าสินค้าจากไทย มีมูลค่า 42,800,049 เหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่นำเข้าสำคัญ ได้แก่ เอ็มดีเอฟ ข้าวโพดหวาน สับประรด กระป๋อง อุปกรณ์อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ยางพารา เป็นต้น
ทั้งนี้จากการวิเคราะห์การค้าระหว่างประเทศอิหร่านพบว่า ปริมาณรายได้ที่รัฐบาลอิหร่านได้รับ จากการส่งออกสินค้านอกเหนือจากน้ำมันดิบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นได้ว่าอิหร่านได้รับ ผลกระทบของจากการคว่ำบาตร แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น จะสร้างรายได้และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศอิหร่านก็ตาม แต่ในทาง กลับกันการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการแลกเปลี่ยน การขนส่ง และอื่นๆ รวมถึงการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของต้นทุน ทำให้กำลังการผลิต และการแข่งขันลดลง โดยในช่วง หลายปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า ปริมาณการนำเข้าสินค้าของอิหร่านลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากรัฐบาลไม่ สามารถจัดหาเงินตราต่างประเทศให้กับผู้นำเข้าภาคเอกชน ตลอดจนข้อจำกัดทางศุลกากร ซึ่งนำไปสู่การ เพิ่มต้นทุนภาคการผลิตซึ่งทำให้การผลิตภายในประเทศลดลงไปด้วย ปัจจุบันหากมีการนำเข้าสินค้าทางผู้ นำเข้าจำเป็นต้องใช้เงินสกุลต่างประเทศที่ได้จากการส่งออกสินค้า ซึ่งเรียกว่า Import against Export ใน การนำเข้าสินค้า
ปัจจุบัน รัฐบาลอิหร่านยังคงเดินหน้านโยบายห้ามนำเข้าสินค้าที่สามารถผลิตได้ในประเทศอิหร่าน และสินค้าที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศ เพื่อรักษาเงินทุนสำรองของประเทศให้มากที่สุด รัฐบาล อิหร่านยินดีที่จะทำธุรกิจกับต่างประเทศโดยใช้ระบบทางการค้าแบบ Barter Trade หรือการค้าแบบหัก บัญชีได้ซึ่งในปัจจุบันอิหร่านได้ทำธุรกิจในระบบนี้กับประเทศรัสเซีย จีน อินเดีย ปากีสถาน ตุรกี อาเซอร์ไบจาน และประเทศในทวีปแอฟริกา เป็นต้น
อนึ่ง รัฐบาลอิหร่านได้ออกกฎหมายโดยให้ผู้นำเข้าสินค้าชาวอิหร่านส่งออกสินค้าเพื่อเป็นการ แลกเปลี่ยนกับการนำเข้าสินค้า (Export against import) และนำเงินที่ได้จากการส่งออกมานำเข้าสินค้า เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถจัดหาเงินตราต่างประเทศให้กับผู้นำเข้าภาคเอกชนได้ รวมทั้งรัฐบาลมี จุดประสงค์เพื่อสร้างกำแพงกีดกันการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้การนำเข้าสินค้ามาอิหร่าน ประสบกับความยากลำบากเพิ่มมากขี้น อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจอิหร่านจะมีวิธีการของตนในการนำเข้า สินค้าแต่ละชนิด
นอกจากนี้ เมื่อเดือนกรกฏาคม 2566 อิหร่านได้ประกาศการห้ามนำเข้าสินค้าข้าวจากทุกประเทศ เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวของอิหร่าน (ซึ่งปฏิบัติเป็นประจำเกือบทุกปี) เพื่อป้องกันอุปทานส่วนเกิน และกระทบต่อราคาข้าว
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)