- ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ
รัฐบาลเมียนมาจัดตั้งคณะกรรมการประเมินและรายงานการจัดตั้งเขตการค้าและด่านชายแดนตามมาตรฐานสากล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมกระบวนการส่งออกและนำเข้า มาตรการตรวจคนเข้าเมืองและกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมาย และลดการคลาดเคลื่อนของสถิติการค้าระหว่างสองประเทศและเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนสิงหาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 76,335.124 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,429.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.97 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ
ในช่วงเดือนเมษายน – กันยายน 2566 ของปีงบประมาณ 2023-24 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 14,437.013 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในด้านของการส่งออกมีมูลค่า 7,300.594 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.29 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 8,136.419 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน 2566 เมียนมาเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 835.825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49 อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ของเมียนมา มีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 6.81เพิ่มขึ้นจากปี 2565 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,228.54เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ดังตาราง
ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ
ที่สำคัญ |
ปี 2017 | ปี 2018
|
ปี 2019
|
ปี 2020
|
ปี 2021
|
ปี 2022 | ปี 2023
(คาดการณ์) |
GDP Growth (%) | 5.8 | 6.4 | 6.8 | 3.2 | -17.9 | -0.06 | 2.49 |
GDP (billions of US$) | 61.27 | 66.7 | 68.8 | 81.26 | 66.74 | 63.05 | 66.59 |
GDP per Capita (US$) | 1,180 | 1,270 | 1,300 | 1,530 | 1,250 | 1,170.09 | 1,228.54 |
Inflation (%) | 4.62 | 5.94 | 8.63 | 5.73 | 3.64 | 6.47 | 6.81 |
ที่มา: IMF https://www.imf.org/en/Countries/MMR#countrydata
1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ ก.ย. 65 และ ก.ย. 66
ประเทศ/สหภาพ | สกุลเงิน | อัตรา
สิ้นเดือน ก.ย. 65 |
อัตรา
สิ้นเดือน ก.ย. 66 |
USA | 1 USD | 2,100 MMK | 2,100.00 MMK |
Euro | 1 EUR | 2,056.50 MMK | 2,213.40 MMK |
Singapore | 1 SGD | 1,465.20 MMK | 1,533.00 MMK |
Thailand | 1 THB | 55.651 MMK | 57.143 MMK |
ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate
จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินสกุลท้องถิ่นเมียนมาจ๊าตในช่วงเดือนกันยายนของปี 2566 มีความคงที่สำหรับเงินเหรียญสหรัฐฯ ยู่ที่อัตรา 2,100 MMK ต่อ 1 USD เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับเงินสกุลอื่นๆ มีการอ่อนค่าลงเล็กน้อย เนื่องจากการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางเมียนมา ทั้งนี้ ตลาดแลกเงินนอกระบบมีอัตราที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลาง โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 3,300 จ๊าตต่อ 1 USD
กราฟแสดงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมียนมาจ๊าต (MMK) ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ช่วงเดือนกันยายน 2566
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อยู่ที่ 2,100 MMK ต่อ 1 USD เพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตราที่แท้จริงในตลาดแลกเงินท้องถิ่น และเป็นอัตราคงที่ สําหรับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,100 จ๊าต ต่อ 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเมียนมาจะออกประกาศเพิ่มเติม หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง
1.3 ภาวะการลงทุน
1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ
ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนสิงหาคม 2566 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 484.155 เหรียญสหรัฐ ดังตาราง
ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – สิงหาคม 2566
อันดับ | ประเทศ | มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)
เม.ย.-ส.ค. 66 |
สัดส่วน (%) |
1 | สิงคโปร์ | 337.087 | 69.62% |
2 | จีน | 135.491 | 27.99% |
3 | ฮ่องกง | 4.232 | 0.87% |
4 | ไต้หวัน | 2.200 | 0.45% |
5 | เกาหลีใต้ | 1.741 | 0.36% |
6 | สหรัฐอเมริกา | 1.087 | 0.22% |
7 | ซามัว | 1.00 | 0.21% |
8 | อังกฤษ | 0.717 | 0.15% |
9 | อินเดีย | 0.600 | 0.12% |
รวม | 484.155 | 100% |
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนสิงหาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,277.977 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,609.573 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.47 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 154 โครงการ
ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024
https://www.dica.gov.mm
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนสิงหาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 76,335.124 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,429.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.97 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ
ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024
1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ
ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2023 – 2024 ในเดือนมิถุนายน 2566 ได้แก่ ธุรกิจการผลิต สัดส่วนร้อยละ 92.65 และธุรกิจเกษตรกรรม สัดส่วนร้อยละ 7.35 รายละเอียดดังตาราง
ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา
ปีงบประมาณ 2022-2023 (เม.ย. – ส.ค. 66)
อันดับ | ประเภทธุรกิจ | มูลค่า
(ล้านเหรียญสหรัฐ) เม.ย. – ส.ค. 66 |
สัดส่วน (%) |
1 | Power | 317.718 | 65.62% |
2 | Transport&Communication | 77.820 | 16.07% |
3 | Services | – | – |
4 | Manufacturing | 63.529 | 13.12% |
5 | Real Estate | – | – |
6 | Mining | – | – |
7 | Agriculture | 1.00 | 0.21% |
8 | Livestock& Fisheries | 23.050 | 4.76% |
9 | Hotel&Tourism | – | |
รวม | 484.155 | 100% |
สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 27.39 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 21.18 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.29
ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024
ตารางที่ 8 – สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024
- สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา
2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา
ตารางที่ 9 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – กันยายน 2566)
เปรียบเทียบระหว่าง ปีงบประมาณ 2022-23 และ ปีงบประมาณ 2023-24
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Export | Import | Trade Volume | ||||||
2023-2024 | 2022-2023 | % | 2023-2024 | 2022-2023 | % | 2023-2024 | 2022-2023 | % |
(22-9-2023) | (22-9-2022) | change | (22-9-2023) | (22-9-2022) | change | (22-9-2023) | (22-9-2022) | change |
7,300.594 | 8,230.370 | -11.29% | 8,136.419 | 8,079.724 | 0.07% | 14,437.013 | 16,310.094 | -11.48% |
ในช่วงเดือนเมษายน – กันยายน 2566 ของปีงบประมาณ 2023-24 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 14,437.013 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในด้านของการส่งออกมีมูลค่า 7,300.594 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.29 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 8,136.419 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน 2566 เมียนมาเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 835.825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 10 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (กันยายน 2566) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) | สัดส่วน (%) |
1 | MANUFACTURING GOODS | 4,630.960 | 63.43% |
2 | AGRICULTURAL PRODUCTS | 1,514.639 | 20.75% |
3 | MARINE PRODUCTS | 282.453 | 3.87% |
4 | MINERALS | 147.940 | 2.03% |
5 | FOREST PRODUCTS | 32.817 | 0.45% |
6 | ANIMAL PRODUCTS | 3.848 | 0.05% |
7 | OTHER PRODUCTS | 687.937 | 9.42% |
รวม | 7,300.594 | 100.0% |
2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 11 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (กันยายน 2566)
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) | สัดส่วน (%) |
1 | สินค้า Commercial Raw material | 3,954.029 | 48.60% |
2 | สินค้า Investment Goods | 1,696.539 | 20.85% |
3 | สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) | 1,315.458 | 16.17% |
4 | อื่นๆ (CMP: Cutting, Making, Packing) | 1,170.393 | 14.38% |
รวม | 8,136.419 | 100% |
2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา
ตารางที่ 12 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา
รายการ | มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ | อัตราขยายตัว (%) | สัดส่วน (%) | ||||||
2565 | 2565
(ม.ค.-ส.ค.) |
2566
(ม.ค.-ส.ค.) |
2565 | 2565
(ม.ค.-ส.ค.) |
2566
(ม.ค.-ส.ค.) |
2565 | 2565
(ม.ค.-ส.ค.) |
2566
(ม.ค.-ส.ค.) |
|
มูลค่าการค้า | 8,227.45 | 5,672.92 | 5,249.23 | 15.18 | 22.88 | -7.47 | 1.39 | 1.40 | 1.37 |
การส่งออก | 4,696.58 | 3,281.77 | 3,027.20 | 8.72 | 20.78 | -7.76 | 1.64 | 1.67 | 1.61 |
การนำเข้า | 3,530.87 | 2,391.15 | 2,222.03 | 25.06 | 25.88 | -7.07 | 1.16 | 1.15 | 1.14 |
ดุลการค้า | 1,165.71 | 890.62 | 805.17 | -22.10 | 8.94 | -9.59 |
ที่มา : OPS กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย ณ วันที่ 27 ก.ย. 66
ปี 2566 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 5,249.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.47 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 3,027.20 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.76 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการชะลอของเศรษฐกิจโลก สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 2,222.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.07 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 805.17 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น
- สถานการณ์สำคัญ
3.1 ถนนสายกอกอเร็ก-เมียวดี ทางหลวงสายเอเชีย กลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว
กระทรวงการก่อสร้างแห่งเมียนมา ระบุว่า ยานพาหนะต่าง ๆ ได้รับอนุญาตให้ผ่านสะพานเบลีย์ชั่วคราวที่ได้สร้างเสร็จแล้วบนถนนสะเทิม-พะอัน-กอกอเร็ก-เมียวดี ของทางหลวงสายเอเชีย ในเมืองกอกอเร็ก รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นเส้นทางที่ได้รับผลกระทบจากดินถล่ม
ฝนตกหนักพัดกระหน่ำในรัฐกะเหรี่ยง ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2566 ทำให้เกิดดินถล่มต่อเนื่องระหว่างหลักไมล์ที่ 149 และ 150 ใกล้น้ำตก Tawnaw เมื่อวันที่ 6 และ 7 สิงหาคม 2566 ซึ่งเหตุการณ์ดินถล่มเกิดขึ้นบนพื้นดินกว้าง 33 ฟุต และถนนลาดยางยาวประมาณ 150 ฟุต
ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว กระทรวงการก่อสร้างแห่งเมียนมาจึงจัดการก่อสร้างสะพานเบลีย์เหล็ก ที่มีความยาว 70 ฟุต และ 19 ฟุต และกว้าง 10 นิ้ว โดยสามารถรับน้ำหนักได้ 55 ตัน โดยเริ่มก่อสร้างสะพาน ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2566 และเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 สะพานได้ก่อสร้างแล้วเสร็จทำให้การคมนาคมของทางหลวงสายเอเชียกลับมาเป็นปกติ
นักธุรกิจจากสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา (UMFCCI) กล่าวว่า เหตุการณ์ดินถล่มที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำให้การไหลเวียนของสินค้าโภคภัณฑ์หยุดชะงัก ทั้งนี้ เมืองเมียวดีเป็นเขตเมืองชายแดนเมียนมา-ไทย ที่สำคัญที่สุด ในการขนส่งสินค้าและการผ่านยานพาหนะ ในช่วงเวลาที่ถนนเมียวดี-กอกอเร็กเกิดดินถล่ม บริเวณเส้นทางชายแดนเมียนมา-ไทยช่วงดังกล่าวต้องหยุดให้บริการ ทำให้การไหลเวียนของสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ข้าวโพด ข้าว และข้าวหักที่มุ่งหน้าสู่ประเทศไทยจากเมียนมาก็หยุดชะงักโดยสิ้นเชิง ขณะเดียวกัน สินค้านำเข้า เช่น อาหารจากไทยไปยังเมียนมา ได้ประสบปัญหาในการขนส่งอย่างมาก แต่ปัจจุบัน สามารถกลับมาใช้เส้นทางเมียวดี-กอกอเร็กสำหรับการขนส่งสินค้าได้อีกครั้ง ซึ่งสามารถช่วยให้การไหลเวียนของสินค้าโภคภัณฑ์เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว และจะช่วยให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศเมียนมาที่ราคาสูงขึ้น กลับมาลดลงสู่ภาวะปกติได้
นอกจากนี้ กระทรวงการก่อสร้างแห่งเมียนมาระบุว่า จะสร้างท่อระบายน้ำหรือสะพานขึ้นเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ดินถล่มของทางหลวงในช่วงฤดูกาลที่ฝนไม่ตก หลังจากการคำนวณปริมาตรและแรงดันของน้ำในบริเวณนั้น
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.2 แพลตฟอร์มการลงทะเบียนออนไลน์สำหรับการจัดเก็บข้าวเริ่มกลางเดือนกันยายน 2566
สมาพันธ์ข้าวเมียนมาระบุว่า แพลตฟอร์มการลงทะเบียนออนไลน์สำหรับการจัดเก็บข้าวจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายน 2566 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการจัดเก็บข้าวและข้าวเปลือกอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการผันผวนของตลาด
ข้าวเปลือกเป็นรายได้หลักของเกษตรกรชาวเมียนมา นอกจากการจำหน่ายข้าวภายในประเทศแล้วยังมีการส่งออกข้าวส่วนเกินไปยังตลาดต่างประเทศอีกด้วย ในปี 2566 มีข้าวสารและข้าวเปลือกเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศเมียนมา และข้าวเปลือกในช่วงมรสุมกำลังจะถูกเก็บเกี่ยวในไม่ช้า
พันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคในประเทศเมียนมา ได้แก่ Shwebo Pawsan, Pawsan จากแหล่งเพาะปลูกต่างๆ ได้แก่ Ayeyarmin, Ayeya Padaytha, Anyatha, และ Pakhan โดยพันธุ์ข้าวเหล่านี้เน้นผลิตให้กับตลาดในเมียนมาเท่านั้น พันธุ์ข้าวเหล่านี้ยังไม่เคยมีการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ สหพันธ์ข้าวเมียนมาจึงพยายามสร้างความร่วมมือกับกลุ่มเครือข่ายในห่วงโซ่อุปทานเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวของตลาดภายในประเทศ
นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์ Emahta, Kayinma, Tunpu, และ Ngasein ได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งการส่งออกข้าวยังไม่ถูกระงับ บริษัทส่งออกข้าวที่มีความพร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ในการขนส่งสินค้าจะได้รับการพิจารณา และจะได้รับใบอนุญาต ภายหลังจากการตรวจสอบก่อนการจัดส่ง
ตามประกาศของสหพันธ์ข้าวเมียนมา ฉบับที่ 1/2566 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2566 เกี่ยวกับการส่งออกข้าวเปลือกมากกว่า 5,000 ตะกร้า และถุงข้าว 1,000 ถุง (มากกว่า 50 ตัน) ผู้ค้าส่งจะต้องทำการขึ้นทะเบียนการเก็บข้าว ภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2566
ภายใต้คำสั่งของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา สหพันธ์ข้าวเมียนมามีความพยายามในการพัฒนาตลาดข้าว การขึ้นทะเบียนการจัดเก็บข้าวอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ตลาดมีความเป็นธรรม และเสถียรภาพด้านราคา โดยสหพันธ์ข้าวเมียนมาระบุว่า สหพันธ์ฯ กำลังดำเนินการให้บริการลงทะเบียนดิจิทัลผ่านออนไลน์ (MyRO) เพื่ออำนวยความสะดวกในขั้นตอนการลงทะเบียน
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.3 อ่างเก็บน้ำคินตาช่วยส่งเสริมข้าวนาน้ำฝนและการเพาะปลูกพืช
อ่างเก็บน้ำคินตาในเมืองมยิดธา เขตเจ้าเซ ภาคมัณฑะเลย์ เป็นเขื่อนที่จ่ายน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าว ข้าวนาน้ำฝน และพืชผลอื่นๆ ในทุกปี และยังเป็นแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของคนในพื้นที่ และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการผลิตไฟฟ้า กรมชลประทานและการจัดการการใช้น้ำแห่งเมียนมาระบุว่า เขื่อนแห่งนี้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชผล และการทำเกษตรให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้
ระบบจ่ายน้ำเขื่อนคินตามี 3 ส่วนคือ คลองซ้าย คลองขวา และคลองปันเลา ใช้ในการจ่ายน้ำให้แก่พื้นที่ปลูกข้าวฝนจำนวน 83,427 เอเคอร์ และพืชผลอื่นๆ อีก 13,382 เอเคอร์ ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2566 เป็นต้นมา ระบบจ่ายน้ำดำเนินการแบบหมุนเวียน และจนถึงวันที่ 10 กันยายน 2566 มีการปลูกข้าวนาน้ำฝนแล้วกว่า 77,216 เอเคอร์ และพืชผลอื่น ๆ จำนวน 4,641 เอเคอร์ รวมเป็น 81,857 เอเคอร์ คิดเป็นร้อยละ 85 ของเป้าหมาย
ความจุน้ำในปัจจุบันของอ่างเก็บน้ำคินตาอยู่ที่ 468,300 เอเคอร์ ซึ่งมีมากกว่าช่วงเดียวกันของปี 2565 ถึง 110,000 เอเคอร์ ดังนั้นจะสามารถจ่ายน้ำให้กับพื้นที่ที่จัดไว้สำหรับพืชผลได้เพียงพอ เจ้าหน้าที่ร่วมมือกับเกษตรกรที่ใช้น้ำพัฒนาระบบชลประทานให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่อาจขาดแคลนน้ำในปี 2567 ซึ่งเป็นผลมาจากเอลนิโญ จึงได้ปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบชลประทานเพื่อลดการสูญเสียน้ำ และเพิ่มผลผลิตของหน่วยน้ำโดยการนำน้ำที่สกัดจากคลองระบายน้ำกลับมาใช้ใหม่เป็นน้ำเพื่อการเกษตร และดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมการเพื่อให้สามารถแจกจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรได้อย่างเพียงพอสำหรับการปลูกพืชฤดูร้อนในปี 2567
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.4 เมียนมาพยายามจัดตั้งเขตการค้าและจุดตรวจชายแดนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
การจัดประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการประเมินและรายงานการจัดตั้งเขตการค้าและด่านชายแดนตามมาตรฐานสากล ณ กระทรวงการวางแผนและการเงินจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566
ประธานคณะกรรมการ U Maung Maung Win รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการคลังแห่งเมียนมา กล่าวในที่ประชุมว่า คณะกรรมการดังกล่าวก่อตั้งขึ้นหลังจากที่สภาบริหารแห่งรัฐยอมรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปราบการค้าที่ผิดกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงมาตรการที่จำเป็นที่นำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าและจุดตรวจชายแดนตามบรรทัดฐานระหว่างประเทศเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน
ประธานยังชี้แจงด้วยว่า การจัดตั้งในครั้งนี้จะสามารถอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมกระบวนการส่งออกและนำเข้า มาตรการตรวจคนเข้าเมืองและกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมาย และลดการคลาดเคลื่อนของสถิติการค้าระหว่างสองประเทศและเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ประธานยังเน้นย้ำถึงการมีอยู่ของเมืองและหมู่บ้านตามแนวชายแดนและจุดตรวจชายแดนที่สามารถเปิดเส้นทางการค้าที่ผิดกฎหมายได้
ประธานคณะกรรมการยังชี้ให้เห็นว่า จำเป็นต้องจัดตั้งเขตการค้าและจุดตรวจชายแดนของเมียนมาติดกับแนวชายแดนเนื่องจากประเทศเมียนมาต้องดำเนินการระบบขนส่งมวลชนอาเซียน (ACTS) การตรวจสอบ Single Window (SWI) และการตรวจสอบศุลกากรแบบครบวงจร (SSCI) ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า (AFAFGIT) และข้อตกลงการขนส่งข้ามพรมแดนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS-CBTA)
ประธานยังเรียกร้องให้คณะกรรมการทำงานระดับภูมิภาคและระดับรัฐประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของสิ่งอำนวยความสะดวกการค้าชายแดนที่มีอยู่ และให้คำแนะนำในการจัดตั้งเขตการค้าชายแดนและจุดตรวจให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อลดการค้าที่ผิดกฎหมาย
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.5 เมียนมาเน้นความสำคัญของกฎหมายทรัพย์สินด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์
รองอธิบดีกรมลิขสิทธิ์ กระทรวงพาณิชย์แห่งเมียนมา แถลงระหว่างการเรียนออนไลน์เกี่ยวกับสิทธิบัตรการออกแบบอุตสาหกรรมว่า การทำความเข้าใจกับกฎหมายทรัพย์สินด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของเมียนมาจะช่วยให้นักธุรกิจสามารถปกป้องผลงานสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์ของตนเองจากการถูกลอกเลียนแบบ ปลอมแปลง ซึ่งมีนักธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางประมาณ 90 รายจากภาคอิรวดีและรัฐฉานเข้าร่วมเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566
การออกแบบอุตสาหกรรม หมายถึง การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม หรือส่วนประกอบที่เกิดจากรูปลักษณ์และการตกแต่งของเส้น รูปทรง สี พื้นผิว สิ่งทอ ซึ่งการออกแบบในนี้ หมายถึง รูปทรงทั้งหมดที่มองกับตาได้และดึงดูดใจต่อผู้บริโภค เช่น รูปแบบเสื้อผ้าที่ออกแบบเอง การออกแบบอัญมณี เครื่องประดับ นาฬิกา ยานพาหนะ การออกแบบภายในบ้าน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนสินค้าใดๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันได้ในตลาด ถือเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
นวัตกรรมในการออกแบบมีบทบาทสำคัญเนื่องจากลูกค้ามักจะตัดสินใจซื้อโดยพิจารณาจากรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลกำไรที่มากขึ้นสำหรับผู้ผลิตและบริษัทที่ลงทุนในการออกแบบอุตสาหกรรม
เมื่อการออกแบบทางอุตสาหกรรมได้รับการคุ้มครองแล้วจะป้องกันการคัดลอก เลียนแบบ และทำซ้ำในเชิงพาณิชย์ของการออกแบบ ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของการออกแบบหรือผู้ถือสิทธิ์ การคุ้มครองนี้ช่วยให้เจ้าของได้รับประโยชน์จากการออกแบบอุตสาหกรรมที่มีลิขสิทธิ์
การออกแบบทางอุตสาหกรรมสามารถป้องกันได้หากเป็นการออกแบบใหม่และสร้างขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัด โดยทั่วไป การคุ้มครองการออกแบบอุตสาหกรรมจะมีระยะเวลาห้าปีนับจากวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และสามารถขยายเวลาได้สองครั้ง ครั้งละห้าปี การคุ้มครองจำกัดอยู่ในประเทศที่จดทะเบียนเท่านั้น
กฎหมายทรัพย์สินด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับที่ 2 ในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2562 โดยสมัชชาแห่งสหภาพ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำกฎที่จำเป็นซึ่งกำหนดโดยกรมลิขสิทธิ์ภายใต้กระทรวงพาณิชย์แห่งเมียนมาเพื่อให้กฎหมายมีผลใช้บังคับ
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
กันยายน 2566