หน้าแรกTrade insightยานยนต์เเละส่วนประกอบ > รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประจำเดือนมิถุนายน 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประจำเดือนมิถุนายน 2566

  1. สรุปภาพรวมทั่วไปในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ด้านเศรษฐกิจ

  • กรมสถิติเวียดนามระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในไตรมาสที่สองของปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.14 จากช่วงเดียวกันของปี 2565 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของไตรมาสที่สองของปี 2563 เท่านั้น GDP ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.72 โดยภาคเกษตร ป่าไม้ และประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.07 ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13 และภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.33 กรมสถิติเวียดนามกล่าวว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างเผชิญกับความยากลำบากหลายประการจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ในขณะที่ภาคบริการยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากนโยบายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐ
  • ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 สถาบันกลางเพื่อการจัดการเศรษฐกิจ (CIEM) ได้รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 และแนวโน้มสำหรับครึ่งปีหลังของปี 2566 โดยคาดการณ์ การเติบโตของ GDP ในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.72 – 6.4 ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกหรือไม่ รวมทั้งการปฏิรูปและการบริหารจัดการที่มีประสิทธภาพของรัฐบาลเวียดนาม ส่วนธนาคาร Standard Charter คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวและเติบโตที่ร้อยละ 7.0 ในช่วงครึ่งปีหลัง และเติบโตร้อยละ 5.4 ในปี 2566
  • กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามระบุว่า เพื่อรักษาอัตราการเติบโตในเชิงบวกของการส่งออก กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีการสนับสนุนสำหรับสินค้าหลักแต่ละรายการ และเจรจาเพื่อเปิดตลาดใหม่ เช่น อินเดีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และยุโรปตะวันออก รวมทั้งเร่งการหารือและลงนามในข้อตกลงความร่วมมือที่ครอบคลุมกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกจากนี้ จะดำเนินการเจรจากับละตินอเมริกาและกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ (กลุ่ม Mercosur ได้แก่ ประเทศบราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัย และปารากวัย และขณะนี้มีประเทศสมทบ คือ ชิลี เปรู และโคลัมเบีย) ต่อไป เพื่อเพิ่ม การส่งออกสินค้าไปยังตลาดดังกล่าว หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการค้า และติดตามข้อมูลข่าวสารเพื่อรับทราบความต้องการของตลาดในประเทศต่างๆ เพื่อช่วยผู้ประกอบการหาคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น
  •       ในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 นายฟาม มินห์ ชินห์ นายกรัฐมนตรีและคณะผู้แทนระดับสูงของเวียดนามเดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการในกรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นการเยือนจีนอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนายฝ่าม มินห์ ชินห์ การเยือนจีนดังกล่าวเกิดขึ้นในบริบทความร่วมมือทางยุทธศาสตร์เวียดนาม – จีนมีแนวโน้มการพัฒนาและบรรลุผลในเชิงบวก ความไว้วางใจทางการเมืองระหว่างเวียดนามและจีนเพิ่มขึ้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และ       การลงทุนยังคงเติบโต ภายในการเยือน นายกรัฐมนตรีเวียดนามและจีนได้เข้าร่วมเป็นประธานในการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามกับสำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐของจีน โดยวัตถุประสงค์หลักของ MOU คือการสร้างกรอบความร่วมมือโดยรวมระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย โดยปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายในประเทศที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งและพัฒนาความร่วมมือในด้านการจัดการตลาด ทั้ง 2 ฝ่ายจะสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยสำหรับกิจกรรมความร่วมมือในด้านการจัดการตลาดโดยเฉพาะ       การป้องกัน และการบริหารจัดการการละเมิดกฎหมายว่าด้วยการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ความปลอดภัยของอาหาร การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค
  • เวียดนามออกกฤษฎิกา 44/2023/NĐ-CP ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เรื่องลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 8 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 โดยลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงร้อยละ 2 สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการภายใต้อัตราภาษีร้อยละ 10 ในปัจจุบัน ยกเว้นกลุ่มสินค้าและบริการดังต่อไปนี้ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ กิจกรรมทางการเงิน การธนาคาร หลักทรัพย์ การประกันภัย การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เหมืองแร่ ถ่านโค๊ก น้ำมันกลั่น ผลิตภัณฑ์เคมี สินค้าและบริการที่ต้องชำระภาษีสรรพสามิต กฤษฎิกาดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
  • สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) ระบุว่า สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) ระบุว่า ในเดือนมิถุนายน 2566 วิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีจำนวน 13,900 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 โดยมีทุนจดทะเบียน 138.7 ล้านล้านด่ง (203,442 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 จำนวนวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่ลดลงร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาคธุรกิจบริการมีจำนวนวิสาหกิจที่จัดตั้งใหม่มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 รองมาเป็นภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 23.8 ภาคการเกษตรและป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 1.0 เป็นต้น วิสาหกิจ 100,026 รายในเวียดนามลงทะเบียนหยุดดำเนินการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7
  •    ที่มา: https://www.gso.gov.vn/
    • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) ในไตรมาสแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 56 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.44 จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้าจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวในหลายประเทศ ทำให้อุปสงค์การบริโภคของประเทศคู่ค้าหลักของเวียดนามลดลง ส่งผลให้คำสั่งซื้อผลิตลดลงและมูลค่าการส่งออกลดลง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตลดลงร้อยละ 0.37 การผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.79 การจัดการและบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.45 และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 1.4
    • ที่มา: https://www.gso.gov.vn/
      • ในเดือนมิถุนายน 2566 ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ยอดขายปลีกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9 โดยรายได้จากการขายปลีกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 รายได้จากที่พักและบริการรับประทานอาหารนอกบ้าน (+18.7%) และรายได้จากบริการการท่องเที่ยว (+65.9%)
      •                                ที่มา: https://www.gso.gov.vn/
        • ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI)  ของเวียดนามในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน กลุ่มสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เช่น ธุรกิจร้านอาหารและบริการจัดเลี้ยง และกลุ่มวัฒนธรรม บันเทิง และการท่องเที่ยว และกลุ่มสินค้าที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ส่วนกลุ่มสินค้าที่ราคาลดลง คือ กลุ่มโทรคมนาคมและไปรษณีย์  ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 CPI ของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565
        • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 จากเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565

                ตาราง 1 เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566

        เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ อัตราการเติบโต

        (%)

        – ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม +0.44
        – ยอดค้าปลีกของสินค้าและบริการ +10.9
        – ดัชนีราคาผู้บริโภค +3.29
        อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน +4.74
        – มูลค่าการส่งออก -12.0
        – มูลค่าการนำเข้า -18.4

        ด้านการลงทุน

        • ในปัจจุบัน เวียดนามมีโครงการลงทุนจากต่างชาติ 37,541 โครงการ ด้วยทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 449,477ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่าเงินทุนจดทะเบียน 81,997 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองมาเป็นสิงคโปร์มูลค่าเงินทุนจดทะเบียน 73,436 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถัดไปเป็นญี่ปุ่นมูลค่า 69,902 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          ตาราง 2 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาตินับถึงเดือนมิถุนายน 2566 จำแนกตามรายประเทศ

                                                                                                                           หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

        ประเทศ จำนวนโครงการ เงินทุนจดทะเบียนรวม
        เกาหลีใต้ 9,713 81,997
        สิงคโปร์ 3,273 73,436
        ญี่ปุ่น 5,116 69,902
        ไต้หวัน 2,994 37,370
        ฮ่องกง 2,276 30,385
        จีน 3,791 25,182
        หมู่เกาะเวอร์จิน 901 22,677
        เนเธอร์แลนด์ 427 14,114
        ไทย 695 13,170
        มาเลเซีย 722 13,085
        อื่นๆ 7,633 68,159
        รวม 37,541 449,477

          ตาราง 3 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาตินับถึงเดือนมิถุนายน 2566 จำแนกตามรายจังหวัด

                                                                                                                                    หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

        จังหวัด จำนวนโครงการ เงินทุนจดทะเบียนรวม
        Ho Chi Minh 11,868 56,797
        Binh Duong 4,115 40,047
        Ha Noi  7,172 39,275
        Dong Nai 1,849 35,838
        Ba Ria-Vung Tau 538 33,313
        Hai Phong 1,029 26,159
        Bac Ninh 1,937 24,060
        Thanh Hoa 185 14,986
        Long An 1,328 13,401
        Ha Tinh 82 12,018
        อื่นๆ 7,438 153,584
        รวม 37,541 449,477

          ที่มา: กรมการลงทุนจากต่างชาติ

        • การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในช่วง 6 แรกของปี 2566 รวม 1,293 โครงการใหม่ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 6,492 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินทุนจดทะเบียนรวมทั้งโครงการลงทุนใหม่ โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุน และซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนามรวม 13,432 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-3%) โครงการลงทุนจากต่างชาติมีการเบิกจ่ายเงินทุนประมาณ 10,020 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+0.5%) ประเทศที่มีการลงทุนมากที่สุดในเวียดนาม ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9 โดยมี 16 โครงการใหม่ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 333 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

         ตาราง 4 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 จำแนกตามรายประเทศ

                                                                                                                             หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

        ประเทศ จำนวนโครงการใหม่ เงินทุน

        จดทะเบียนใหม่

        เงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น มูลค่าซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนาม เงินทุน

        จดทะเบียนรวม

        สิงคโปร์ 163 1,792 343 865 3,000
        ญี่ปุ่น 135 386 189 1,633 2,208
        จีน 233 1,293 587 73 1,954
        เกาหลีใต้ 223 327 680 212 1,219
        ฮ่องกง 114 774 67 101 941
        ไต้หวัน 84 544 200 152 895
        เนเธอร์แลนด์ 12 190 75 337 602
        สหรัฐอเมริกา 52 20 308 77 405
        ไทย 16 333 25 27 385
        ซามัว 14 81 54 199 334
        อื่นๆ 247 752 398

         

        338 1,488
        รวม 1,293 6,492 2,926 4,014 13,432
        • ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 นักลงทุนต่างชาติลงทุนใน 18 ภาคธุรกิจ โดยภาคการผลิตและแปรรูปมีมูลค่า 8,460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-4.2%) รองลงมาคือ ธุรกิจการเงิน ธนาคารและประกัน มีการซื้อหุ้นมูลค่า 1,534 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+6,542%) อสังหาริมทรัพย์ 1,530 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+48.5%) วิทยาศาสตร์และเทคโลโนยี 631 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+154%) เป็นต้น            
        • ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 การลงทุนจากประเทศไทยมี 16 โครงการใหม่ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 333 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับเพิ่มเงินทุน 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนามด้วยมูลค่า 27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9  โดยมี 695 โครงการ ด้วยมูลค่าเงินทุนจดทะเบียนรวม 13,170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นักลงทุนไทยส่วนใหญ่ลงทุนด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูป ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น นักลงทุนไทยรายใหญ่ที่ลงทุนในเวียดนาม เช่น TCC Group, Central Group, SCG, CP Vietnam, Hemaraj, ThaiBev, Amata, Grimm Power, Super Energy Corporation, Stark Coporation, Gunkul Engineering, Gulf Energy Development,  J.S.T Vietnam เป็นต้น
        1. การค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566

        ในเดือนมิถุนายน 2566 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามมีมูลค่า 55,811 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 29,449 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+5.0%) และมูลค่าการนำเข้า 26,362 ล้านเหรียญสหรัฐฯ     (+1.3%) จากเดือนก่อน ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 เวียดนามเกินดุลการค้า 9,652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้า 316,518 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 164,681 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-12%) และมูลค่าการนำเข้า 151,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-18.4%) เหตุผลที่การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ลดลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงทั่วโลกทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าลดลง ซึ่งทำให้     การส่งออกสินค้าสำคัญๆ ของเวียดนามลดลง

        ตาราง 7 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566                                                                                                                                                   หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          ปี 2565

        (ม.ค -ธ.ค)

        อัตราการเติบโตปี 2565

        (%)

        มกราคม-มิถุนายน  2565 มกราคม-มิถุนายน 2566 อัตราการเติบโต (ม.ค-มิ.ย 2566)

           (%)

        มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ

         + มูลค่าการส่งออก

         + มูลค่าการนำเข้า

        730,206

        371,304

        358,902

        9.1

        10.5

        7.8

        373,188

        187,172

        186,016

        316,518 164,681

        151,837

        -15.2

        -12.0

        -18.4

        ที่มา: กรมศุลกากรเวียดนาม

        • ตลาดส่งออกหลักของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 สหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าเวียดนามรายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่า 44,421 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-1%) ตามด้วยจีน มูลค่า 25,929 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-1.0%) เกาหลีใต้ 11,050 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-9.1%) และญี่ปุ่น 11,062 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-2.9%)
        • ตลาดนำเข้าหลักของเวียดนาม ได้แก่ จีน มูลค่า 49,648 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-19.5%) รองมาเป็นเกาหลีใต้ 24,245 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-25.7%) ญี่ปุ่น 10,197 (-15.4%) และสหรัฐอเมริกา 6,870 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-1%)
        • สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบมีมูลค่า 25,587 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-7.9%) โทรศัพท์และส่วนประกอบมีมูลค่า 24,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-18.6%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 19,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-8.3%) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 15,729 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-15.4%) และรองเท้า 9,822 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-16.8%)
        • สินค้านำเข้าหลักๆ ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบมีมูลค่า 38,375 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-11.2%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 19,450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-13.6%) ผ้าทุกชนิด 6,416 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-19.4%) วัตถุดิบพลาสติก 4,660 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-32.2%) และโทรศัพท์และส่วนประกอบ 3,571 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-65.3%)
        1. การค้าระหว่างไทย เวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566

        จากสติถิของกรมศุลกากรเวียดนาม การค้าระหว่างไทย – เวียดนามในเดือนมิถุนายน 2566 มีมูลค่า 1,580 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.1 จากเดือนก่อน โดยแบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกไปเวียดนามที่ 939 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-5.3%) และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากเวียดนาม 530 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-10%) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 การค้าระหว่างไทย – เวียดนามมีมูลค่า 9,348 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกไปเวียดนาม 5,788 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-17.5%) และมูลค่าการนำเข้า 3,560 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-2.5%) ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 6 ของเวียดนาม

        ตาราง 8 มูลค่าการค้าระหว่างไทย – เวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566      

                                                                                                                                       หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          ปี 2565

        (ม.ค -ธ.ค)

        อัตราการเติบโตปี 2565       (%) มกราคม-มิถุนายน  2565 มกราคม-มิถุนายน  2566 อัตราการเติบโต (ม.ค-มิ.ย 2566)  (%)
        มูลค่าการค้า

         – มูลค่าการส่งออกไปเวียดนาม

         – มูลค่าการนำเข้าจากเวียดนาม

        21,568

        14,092

        7,476

        15.1

        12.0

        21.5

        10,669

        7,017

        3,652

        9,348

        5,788

        3,560

        -12.4

        -17.5

        -2.5

         

         

         

         

        สินค้าหลักที่เวียดนามนำเข้าจากไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 เรียงลำดับตามสัดส่วนการนำเข้า ดังนี้

        ตาราง 9 สินค้าหลักที่เวียดนามนำเข้าจากไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566

                                                                                                                   หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

        ลำดับที่ สินค้า ปี 2565

        (ม.ค -ธ.ค)

        อัตราการเติบโตปี 2565           (%) มกราคม-มิถุนายน  2565 มกราคม-มิถุนายน 2566 อัตราการเติบโต (ม.ค-มิ.ย 2566)  (%)
        1 ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ 1,700.4 39.1 809.6 954.4 17.9
        2 รถยนต์ทุกชนิด 1,429.9 -5.2 552.9 678.2 22.7
        3 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 1,039.8 12.0 499.6 444.1 -11.1
        4 น้ำมันทุกประเภท 1,158.3 57.8 633.9 334.3 -47.3
        5 เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและส่วนประกอบ 808.8 6.9 492.2 401.1 -18.5
        6 ส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ 1,009.7 20.5 455.8 322.1 -29.3
        7 วัตถุดิบพลาสติก 964.4 1.0 544.6 311.5 -42.8
        8 สารเคมี 562.6 -2.7 330.5 200.4 -39.4
        9 ผลิตภัณฑ์สารเคมี 398.9 24.5 198.1 169.5 -14.4
        10 วัตถุดิบสิ่งทอ เครื่องหนัง 326.2 22.6 174.1 131.2 -24.6
          อื่นๆ 4,693 2,326 1,841
        รวม 14,092

         

        12.0 7,017 5,788 -17.5

        สินค้าที่เวียดนามส่งออกไปไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 เรียงลำดับตามสัดส่วนการส่งออก ดังนี้

        ตาราง 10 สินค้าหลักที่เวียดนามส่งออกไปไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566

                                                                                                                   หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

        ลำดับที่ สินค้า ปี 2565

        (ม.ค -ธ.ค)

        อัตราการเติบโต          ปี 2565         (%) มกราคม-มิถุนายน 2565 มกราคม-มิถุนายน  2566 อัตราการเติบโต (ม.ค-มิ.ย 2566)  (%)
        1 โทรศัพท์และส่วนประกอบ 1,007.5 7.3 475.6 527.5 10.9
        2 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 964.8 77.4 449.1 463.6 3.2
        3 น้ำมันดิบ 880.4 54.1 383.4 361 -5.8
        4 ยานยนต์และชิ้นส่วน 636.7 33.5 293.1 377.1 28.7
        5 ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 524.2 3.6 280.9 285.9 1.8
        6 เหล็ก เหล็กกล้า 281.7 -30.7 168.1 153 -9.0
        7 สัตว์น้ำสด แช่แข็ง แช่เย็น แปรรูป 331.6 24.2 165.7 126.9 -23.4
        8 สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 239.3 13.3 118.3 108.4 -8.4
        9 กระดาษ 112.8 84.6 58.5 63.1 7.9
        10 ผลิตภัณฑ์สารเคมี 182.7 55.0 114.7 57.6 -49.8
        อื่นๆ 2,259.1 1,145 1,453
          รวม    7,476 21.5 3,652 3,560 -2.5
        1. 4. ความเห็น สคต.

                  คำสั่งซื้อสินค้าลดลงจากตลาดส่งออกหลักของเวียดนาม เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทำให้การส่งออกสินค้าของเวียดนามยังคงประสบความยากลำบาก และส่งผลต่อความต้องการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกจากประเทศต่างๆ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566  ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 รวมถึงการนำเข้าสินค้าจากไทย ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจะยังคงส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและแนวโน้มการเติบโตของเวียดนามในอนาคต เวียดนามจึงส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายตลาดส่งออกโดยหาตลาดใหม่และใช้โอกาสจากข้อตกลงทางการค้าที่เวียดนามลงนามเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าในปี 2566

                  สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย

                                                                                                       กรกฎาคม 2556

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login