หน้าแรกTrade insight > ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคยังเพิ่มขึ้นไม่หยุด

ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคยังเพิ่มขึ้นไม่หยุด

ขณะนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีจะลดลง แต่ผู้บริโภคก็ยังคงต้องรับมือกับปัญหาราคาสินค้าที่สูงขึ้นในซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่า สินค้ากว่า 30% มีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มขึ้น และนี่เป็นผลการวิเคราะห์โดย Smhaggle ซึ่งเป็น Web Portal ชื่อดังสำหรับใช้ในการเปรียบเทียบราคาสินค้าและบริการ ที่ตรวจสอบได้ในนามของหนังสือพิมพ์ Handelsblatt ทั้งนี้ ในรายงานได้กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ มีสินค้าเกือบ 13% ที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่มีเพียง 8% เท่านั้นที่มีราคาถูกลง โดยส่วนใหญ่เกือบ 79% พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านราคา ทั้ง ๆ ที่จะมีการลดราคาสินค้าบางส่วนลงแล้ว แต่กลับพบว่า สินค้าปรับราคาเพิ่มขึ้นถึง 50% ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2024 ด้านนาย Christoph Fahrer ผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าอุปโภคบริโภคหุ้นส่วนของบริษัทที่ปรึกษา OC&C ได้ออกมายืนยันว่า “ผู้ค้าปลีกต่างออกมาเรียกร้องในทุก ๆ เวทีว่า ขณะนี้แม้จะมีการลดราคาสินค้าต้นทุนบ้างแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่าสินค้าสำเร็จรูปต่างๆ ยังนิ่งเฉยหรือลดราคาสินค้าฯ เพียงไม่กี่รายการเท่านั้น” จากข้อมูลของสำนักงานสถิติประจำประเทศเยอรมนี (Statistisches Bundesamt) ในเดือนมิถุนายน 2024 พบว่า ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5% เทียบกับช่วงฤดูร้อนที่แล้วที่เพิ่มขึ้น 20% โดยประมาณ บางครั้งเหมือนว่า ในเวลานี้ราคาสินค้าปรับลดลง แต่ในความเป็นจริงแล้วราคาสินค้าขายปลีกขยับตัวขึ้นช้ากว่าช่วงก่อนเท่านั้น ไม่ใช่ว่าราคาโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงให้เห็นเป็นรูปธรรม นาย Sven Reuter ผู้บริหารของ Smhaggle กล่าวโดยจำแนกประเภทการพัฒนาตัวของราคาสินค้า แล้วกล่าวว่า “การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในปัจจุบัน ดูเสมือนว่า ราคาโดยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจะอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้นและเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของราคาของปีก่อนหน้า โดยรวมแล้วนับตั้งแต่ปี 2022 ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยหนึ่งในสามส่วน” ผู้ผลิตสินค้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุน วัตถุดิบ โลจิสติกส์ และพลังงาน ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เกิดการระบาดชองเชื้อโควิด-19 และสงครามยูเครน จึงทำให้พวกเขาต้องส่งต่อค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนี้บางส่วนให้กับผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค จากรายงานที่ทำให้หนังสือพิมพ์ Handelsblatt แสดงให้เห็นว่า ราคาสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตมีทิศทางเป็นอย่างไร และอะไรที่ผู้บริโภคต้องเตรียมตัวรับมือในอนาคต

 

  1. สินค้ามียี่ห้อยังมีราคาสูง แต่ก็จะมีการจัดโปรโมชั่นอยู่เรื่อย ๆ

ปีนี้สินค้าที่มียี่ห้อจะมีราคาสูงขึ้นมากเป็นพิเศษ ตามข้อมูลของ Smhaggle พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2024 เป็นต้นมา 14% ของผลิตภัณฑ์มียี่ห้อมีราคาสูงขึ้น สำหรับสินค้า Private Label ของผู้ค้าปลีกเองมีการปรับราคาสูงขึ้นเพียง 4% เท่านั้น โดยพฤติกรรมนี้ สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนผ่านสินค้า ผงซักฟอก Perwoll ของผู้ผลิต Henkel ที่มีการปรับขึ้นราคาเป็น 6.95 ยูโร ในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี 2022 และ Axe ก็ปรับราคาขายสเปรย์ดับกลิ่นกายเพิ่มขึ้น 75% ในช่วงเวลาเดียวกัน ช็อกโกแลตยี่ห้อ Milka ก็ขึ้นราคาสินค้าหลายครั้งเช่นกัน โดยตั้งแต่ต้นปี 2022 Milka มีราคาเพิ่มขึ้นเกือบ 30% เป็น 1.49 ยูโร เนื่องจากน้ำตาล โกโก้ ขาดแคลน และมีราคาสูงขึ้นทั่วโลก และการเก็บเกี่ยวที่ไม่ดีในเดือนมกราคม 2024 ทำให้โกโก้ดิบมีราคาเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์สินค้าจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน มีผู้บริโภคจำนวนมากยังคงอ่อนไหวกับราคาเป็นอย่างมาก นาย Kai Hudetz ผู้บริหารสถาบันวิจัยการค้า (IFH – Instituts für Handelsforschung) ที่ตั้งอยู่ในเมืองโคโลญจน์กล่าวว่า “หากไม่มีการทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย สินค้ามียี่ห้อก็คงจะประสบปัญหาหนักกว่านี้” สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าราคาของผลิตภัณฑ์มียี่ห้อจะสูงขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ได้รับข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ มากขึ้นเช่นกัน จากตัวเลขของสมาคมเพื่อการวิจัยผู้บริโภค (GfK – Gesellschaft für Konsumforschung) แสดงให้เห็นว่า ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน 2023 – พฤษภาคม 2024 เกือบ 30% ของการจำหน่ายสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำแบบมียี่ห้อ เป็นการจำหน่ายผ่านกิจกรรมส่งเสริมการขายทำ “โปรโมชัน” ต่าง ๆ โดยเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 22% เท่านั้น ตามข้อมูลของนาย Hudetz “โปรโมชัน” เหล่านี้มักส่งผลให้มีส่วนลดราคาจำนวนมากถึง 60% ทำให้เขากลัวว่า หากสินค้ามียี่ห้อยังทำ “โปรโมชัน” แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ในบางแห่งลูกค้าจะรอซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์มียี่ห้อก็ต่อเมื่อสินค้าเหล่านี้มีการจัดรายการเท่านั้น โดยกล่าวว่า “บริษัทสินค้าที่มียี่ห้อจะต้องระมัดระวังอย่างมากไม่ทำให้การรับรู้โดยผู้บริโภคเจือจางหายไป” โดยนาย Christoph Treiber ให้คำแนะนำแก่ผู้ผลิตสินค้ามียี่ห้อ ให้ยกเลิกการลดราคาแบบถาวรเสีย โดยกล่าวว่า “ในปัจจุบันผู้ผลิตสินค้ามียี่ห้อไม่จำเป็นต้องลดราคา และสละกำไรขั้นต้นแล้ว” พวกเขาควรลงทุนเพิ่มยอดจำหน่ายผ่านในแคมเปญลดราคาเพื่อผูกมัดผู้ซื้อรายใหม่ด้วยยี่ห้อมากกว่า เมื่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคทรงตัว และชาวเยอรมันก็คุ้นเคยกับราคาที่สูงขึ้นไปเอง นักวิจัยตลาดวิเคราะห์ว่า ผู้ผลิตสินค้ามียี่ห้อกำลังตกอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ในปี 2023 พวกเขาสามารถเพิ่มยอดจำหน่ายได้เพียง 4% แม้ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นมากก็ตาม ในเวลาเดียวกันปริมาณสินค้าที่ถูกจำหน่ายออกไปกลับลดลงเกือบ 5% ในระหว่างที่สินค้า private label ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น 14% เปอร์เซ็นต์ และปริมาณสินค้าที่ถูกจำหน่ายออกไปก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

 

  1. Aldi และ Lidl ต่างก็ลดราคาสินค้า private label ลง

สินค้าที่มีราคาถูกลงในช่วงครึ่งปีแรก ส่วนใหญ่เป็นสินค้า Private Label เช่นยี่ห้อ “JA” หรือ “ Gut & Günstig” ของสินค้าราคาราคาเริ่มต้น (Polarisation of the Market) ตัวอย่างเช่นสเปรย์ระงับกลิ่นกาย Private Label มีราคาที่ 85 เซ็นต์ หรือมีราคาสูงกว่าต้นปี 2022 คิดเป็น 6% แต่ตอนนี้ราคาเพิ่มขึ้น 44% คิดเป็น 1.15 ยูโร โดยตัวการหลักที่ผลักดันให้มีการลดราคาสินค้าเหล่านี้ก็คือ Discounter อย่าง Aldi และ Lidl ต่างก็ลดราคาสินค้าลง ในขณะที่ Rewe และ Edeka (Supermarket) ผู้ค้าปลีกแบบครบวงจรก็ปรับลดราคาลงอย่างรวดเร็วตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันผู้ค้าปลีกแบบครบวงจรจะแข่งขันโดยตรงกับ Discounter อย่างหนัก

 

  1. เนย และผลิตภัณฑ์จากนมปรับราคาสูงขึ้น

ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Aldi ได้ปรับราคาสินค้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำอย่าง เช่น กาแฟ เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นม ให้มีราคาสูงขึ้น สำหรับราคาเนยนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2024 ได้ปรับเพิ่มราคาขึ้นเป็นครั้งที่สี่ ปัจจุบันเนย Private Label ของ Aldi มีราคาอยู่ที่ 1.99 ยูโร ซึ่งราคาสูงสุดในรอบหนึ่งปี นมปรับราคาเพิ่มขึ้น 6 เซ็นต์ที่อยู่ 1.05 ยูโร เหตุผลที่ทำให้สินค้าเหล่านี้มีราคาสูงขึ้นก็คือ ราคาน้ำนมดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ราคาถูกลงไปช่วงหนึ่ง ราคา นม เนย และชีส เพิ่มขึ้นอย่างหนักหลังสงครามยูเครนเริ่มประทุขึ้นแต่กลับเข้าสู่ภาวะปกติไม่นานจากนั้น โดยลูกค้าจำนวนมากสังเกตเห็นและปรับความรู้สึกเป็นเชิงลบการเพิ่มขึ้นของราคาเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยสินค้าหมวด เนย และนม ถือเป็นสินค้าและ ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อบ่อย ๆ จึงสัมผัสได้กับการปรับราคา และมีอิทธิพลต่อการรับรู้ราคาของตลาดทั้งหมดนั้นเอง

 

  1. สินค้าไม่เพียงแต่มีราคาสูงขึ้น แต่คุณภาพและปริมาณก็แย่ลงไปอีก

บางครั้งผู้ผลิตก็แอบซ่อนราคาที่เพิ่มขึ้นไว้เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงสูตร อย่างเช่นเครื่องดื่มยี่ห้อ Granini Drinking Pleasure Orange ที่มีการลดคุณภาพลง บริษัท Eckes-Granini ผู้ผลิตน้ำผลไม้ลดปริมาณผลไม้ลงครึ่งหนึ่งจาก 100% เหลือ 50% ผู้คุ้มครองผู้บริโภคระบุว่า ปริมาณผลไม้ส่วนที่เหลือถูกทดแทนด้วยน้ำตาล พวกเขากล่าวถึงการกระทำนี้ว่า เป็น “บรรจุภัณฑ์หลอกลวง” และออกมาติบริษัท Eckes-Granini เกี่ยวกับการติดฉลากที่ไม่ชัดเจน โดยบริษัทให้เหตุผลถึงการเปลี่ยนแปลงสูตรเพราะขาดแคลนน้ำส้มเข้มข้นอย่างหนัก การเก็บเกี่ยวพืชผลที่แย่ลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก นับตั้งแต่ต้นปี 2022 เป็นต้นมาราคาวัตถุดิบสินค้าโภคภัณฑ์ราคาน้ำส้มในตลาดหุ้นก็เพิ่มขึ้นสามเท่าตัว โดยผู้ผลิตให้เหตุผลว่า การเปลี่ยนจากการใช้น้ำผลไม้มาเป็นน้ำหวานเป็นส่วนผสมนั้นบริษัทจึงจะสามารถรับประกันความพร้อมจำหน่ายและราคาแบบคงที่ได้ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของ Smhaggle ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ราคาน้ำส้มดังกล่าวบนชั้นวางของใน Supermarket ก็ได้เพิ่มขึ้นแล้ว 28% เมื่อเทียบกับราคาก่อนสงครามยูเครนไปแล้ว ในขณะเดียวกัน Pepsi ไม่เพียงแต่ขึ้นราคาสินค้าเท่านั้น แต่ยังลดขนาดขวดจาก 1.5 เป็น 1.25 ลิตรอีกด้วย ผู้คุ้มครองผู้บริโภคออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเพิ่มราคาที่ซ่อนอยู่ในรูปแบบนี้ว่าเป็น “Shrinkflation” (ลดปริมาณสินค้า แต่ยังคง ขายในราคาเท่าเดิม และถือเป็นสภาวะที่สะท้อนเงินเฟ้ออีกรูปแบบหนึ่ง) นับตั้งแต่ต้นปี 2022 ราคาเครื่องดื่มน้ำอัดลมบนชั้นวางของใน Supermarket เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อย 50% และเมื่อแปลงเป็นราคาต่อลิตรนั้นหมายความว่า ราคาเพิ่มขึ้นมากถึง 80% เลยทีเดียว โดยการเพิ่มราคาเหล่านี้มีการวางแผนไว้แล้วก่อนที่สงครามยูเครนจะปะทุขึ้นเสียอีก นาย Torben Nielsen ผู้บริหาร Pepsico ประจำภูมิภาคพื้นที่ที่มีการพูดเยอรมันกล่าวว่า เป้าหมายของบริษัทก็คือ การปรับราคาให้ทัดเทียมกับ Coca-Cola ผู้นำตลาด เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อด้านต้นทุน ราคาจึงสินค้าจึงปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยนาย Nielsen กล่าวว่า “เสียดายที่ทุกอย่างดันมาเกิดพร้อม ๆ กัน”

 

  1. สินค้ามียี่ห้อปรับราคาสูงขึ้น

แม้ว่าจำนวนของสินค้า Private Label ที่มีการปรับราคาสินค้าสูงขึ้นจะดูเหมือนจะน้อยกว่าสินค้ามียี่ห้อ แต่เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วสินค้า Private Label ก็มีการปรับราคาสูงขึ้นกว่าสินค้ามียี่ห้อ โดยการที่ Private Label ปรับราคาสินค้าสูงขึ้นมากกว่าสินค้ายี่ห้อนั้นเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งการคำนวณกำไรที่ต่ำอยู่แล้วทำให้ช่องว่างในการรองรับภาระความกดดันด้านราคาต่ำกว่าสินค้ามียี่ห้อ ยกตัวอย่างเช่น สปาเก็ตตี้ Private Label มีราคาสูงขึ้น 22% เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สปาเก็ตตี้ยี่ห้อ Barilla เพิ่มขึ้นเพียง 11% อย่างไรก็ตาม ราคาที่สปาเก็ตตี้ยี่ห้อ Barilla ที่อยู่ที่ 2.05 ยูโร ก็ยังมีราคาสูงกว่าสินค้า private label ที่มีอยู่ที่ 79 เซ็นต์ถึงสองเท่า ในปีนี้สินค้า Private Label ส่วนใหญ่ 90% ยังคงมีราคาคงที่ สำหรับสินค้ามียี่ห้อมีเพียง 77% เท่านั้นที่ยังคงราคาไว้ นาย Treiber ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมกล่าวว่า “สิ่งสำคัญด้านภาพลักษณ์สำหรับกลุ่มผู้ซื้อสินค้า Private Label คือ ราคาที่จับต้องได้ ผู้บริโภคตระหนักดีว่า พวกเขาสามารถประหยัดได้มากด้วยการซื้อสินค้า Private Label ซึ่งสินค้าก็มีคุณภาพในระดับหนึ่งเลยทีเดียว”

 

  1. ค่าแรงและค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตสูงขึ้นตาม

แม้ว่าราคาสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตจะปรับตัวมาถึงจุดที่สูง และเรียกได้ว่าควรจะหยุดได้แล้วก็ตาม แต่นาย Hudetz ผู้เชี่ยวชาญฯ กล่าวว่า “ในมุมมองของเรา คาดการณ์ว่า ราคาสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตน่าจะยังปรับขึ้นเล็กน้อยต่อไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า” เขาอธิบายต่อว่า สถานการณ์ด้านรายได้ของผู้ค้าปลีก และผู้ผลิตหลายรายตึงเครียดมากจนไม่สามารถรองรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยได้อีกต่อไป ผู้ค้าปลีกหลายรายพบว่า อัตรากำไรของตนลดลง เนื่องจากพวกเขาพยายามรองรับการเพิ่มขึ้นของราคาโดยไม่ส่งต่อให้กับผู้บริโภค หลังจากข้อตกลงการเจรจาต่อรองร่วมกันกับสหภาพแรงงาน ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้าน Discounter ต้องออกมารองรับต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งค่าจ้างก็คือ ต้นทุนก้อนใหญ่ที่สุด ปัจจุบันร้าน Lidl เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้กับลูกจ้างขึ้นเป็น 15 ยูโร ส่งผลให้ร้านค้าปลีกอื่น ๆ ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันต้องทยอยปรับค่าแรงขึ้นตาม แม้ว่าในเวลานี้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และการขนส่งลดลงอีกครั้ง แต่ก็ยังสูงกว่าระดับช่วงก่อนสงครามอยู่มาก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่สถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยมิวนิค (Ifo – Institut für Wirtschaftsforschung an der Universität München) ระบุว่า ผู้ค้าปลีกอาหาร และเครื่องดื่มสุทธิจำนวน 35.2% มีความประสงค์ที่จะขึ้นราคาสินค้าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

 

จาก Handelsblatt 9 สิงหาคม 2567

อ่านข่าวฉบับเต็ม : ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคยังเพิ่มขึ้นไม่หยุด

Login