รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนนำเข้านมวัว 3 ล้านตันในปีหน้าเพื่อตอบสนองต่อโครงการอาหารฟรีของประธานาธิบดี Prabowo Subianto โดยกระทรวงเกษตรให้ความเห็นสนับสนุนในการดำเนินการดังกล่าวโดยกล่าวว่าการผลิตในประเทศยังไม่สามารถตอบสนองอุปทานที่เกิดขึ้นจากโครงการได้
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรนาย Amran Sulaiman กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่ายังมั่นใจว่าการนำเข้านมจากต่างประเทศจำนวนมากเหล่านี้จะเป็นเพียงการนำเข้าชั่วคราว และรัฐบาลจะลดการพึ่งพาการนำเข้าในอนาคต “หวังว่าในอีกห้าปีข้างหน้า เราจะสามารถสร้างโครงสร้างการผลิตที่จะช่วยลดการลดการนำเข้าของเราได้” นาย Amran
ปัจจุบันอินโดนีเซียนำเข้านมจากต่างประเทศถึงร้อยละ 80 ของความต้องการนมภายในประเทศ นาย Amran กล่าวเพิ่มเติม ว่ารัฐบาลได้เชิญนักลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงนักลงทุนจากเวียดนาม ซึ่งมีความพร้อมที่จะจัดตั้งฟาร์มโคนมในอินโดนีเซีย โดยหากแผนงานดังกล่าวเป็นจริง มีการคาดการณ์ว่านักลงทุนจะต้องใช้พื้นที่ 100,000 เฮกตาร์และสามารถผลิตนมให้อินโดนีเซียได้ 1.8 ล้านตันต่อปี จากความต้องการพื้นที่ดังกล่าว กระทรวงเกษตรเล็งเห็นว่าพื้นที่ทางตะวันออกของอินโดนีเซียและหลายจังหวัดในเกาะสุมาตรามีความเหมาะสมที่จะสร้างฟาร์มโคนม
อย่างไรก็ตาม นาย Amran ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ในการสร้างและลงทุนในฟาร์มโคนม โดยภายหลังจากโครงการนมฟรีที่กำลังจะมาถึง รัฐบาลได้เสนอแผนที่จะนำเข้าวัวนมเพื่อเพิ่มการผลิตนมภายในประเทศ แต่ภาคธุรกิจได้แสดงความสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของแผนนี้ เพราะสภาพอากาศในท้องถิ่นอาจไม่เหมาะสมกับการผลิตน้ำนม เนื่องจากวัวในประเทศที่มีภูมิอากาศเขตร้อนมักจะผลิตนมได้น้อยกว่าในภูมิภาคกึ่งเขตร้อน เช่น ยุโรปหรือบางส่วนของออสเตรเลีย
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงโคนมอยู่อย่างจำกัด ในปัจจุบัน มีเพียงบางภูมิภาคในอินโดนีเซียเท่านั้นที่มีศักยภาพในการผลิตนม เช่น เมืองปายาคุมบุห์ในสุมาตราตะวันตก เปงกาเลงกันในชวาตะวันตก และปูจอนในชวาตะวันออก ในขณะเดียวกัน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในท้องถิ่นได้เรียกร้องให้รัฐบาลให้เกษตรกรรายย่อยมีส่วนร่วมในการขยายการผลิตนมของประเทศ
นาย Amran แจ้งเพิ่มเติมว่า รัฐบาลจะรับรองว่าการจัดหาวัตถุดิบอาหารหลักในท้องถิ่นจะเพียงพอต่อความต้องการที่เหลือของโครงการอาหารฟรี เช่น หอมแดง พริก ข้าว ไข่ และเนื้อสัตว์ปีก โดยเขาได้กล่าวว่า “สิ่งที่เราคาดหวังคือการที่วัตถุดิบเหล่านี้ทั้งหมดจะมาจากภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชนบท หากมีการเคลื่อนย้ายของเงินจำนวนหลายล้านล้านรูเปียห์ในหมู่บ้านต่างๆ จะส่งผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของเราได้”
นาย Sarwo Edhy เลขาธิการสำนักงานอาหารแห่งชาติ (Bapanas) กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า มีความเป็นไปได้ที่โครงการอาหารฟรีจะยังคงต้องใช้อาหารจากการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าโภคภัณฑ์บางอย่างที่ไม่พอต่อความต้องการของอินโดนีเซีย
“วิธีการพิจารณาของเราคือคือถ้าการผลิตสินค้าที่ต้องการขาด เราต้องนำเข้า แต่เรายังไม่รู้ว่ามีจำนวนที่ต้องนำเข้าเท่าไหร่ เรายังพิจารณาตัวเลขกันอยู่” นาย Sarwo กล่าว เขากล่าวเสริมว่างบประมาณขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่รัฐบาลจัดสรรในปีหน้า และจะเป็นปัจจัยหลักที่จะบ่งชี้ว่าโครงการนี้จะเข้าถึงเด็กวัยเรียนทั้งหมดหรือไม่
รัฐบาลและทีมที่กำลังเปลี่ยนผ่านของประธานาธิบดี Prabowo ได้ตกลงกันเรื่องงบประมาณรวมคาดการณ์ไว้ที่ 71 ล้านล้านรูเปียห์ (4.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารฟรีในปีหน้า ซึ่งยังห่างไกลจากแผนการแรกซึ่งมีมูลค่าประมาณ 450 ล้านล้านรูเปียห์ต่อปีสำหรับโครงการเต็มรูปแบบที่จะดำเนินการทั่วประเทศ
ความคิดเห็นของสำนักงานฯ
Rank | Trade Partner | United States Dollars | % Share | % Change, 2023/2022 | ||||
2021 | 2022 | 2023 | 2021 | 2022 | 2023 | |||
World | 14,149,561 | 17,421,333 | 17,600,177 | 100.00 | 100.00 | 100.00 | 1.03 | |
1 | New Zealand | 7,388,840 | 10,940,519 | 10,041,745 | 52.22 | 62.80 | 57.05 | -8.22 |
2 | France | 3,054,064 | 3,971,839 | 4,422,500 | 21.58 | 22.80 | 25.13 | 11.35 |
3 | Australia | 667,915 | 1,030,508 | 1,259,294 | 4.72 | 5.92 | 7.16 | 22.20 |
4 | Germany | 128,799 | 347,465 | 621,572 | 0.91 | 1.99 | 3.53 | 78.89 |
5 | Thailand | 2,367,568 | 711,917 | 551,008 | 16.73 | 4.09 | 3.13 | -22.60 |
6 | Denmark | 128,088 | 246,037 | 518,300 | 0.91 | 1.41 | 2.94 | 110.66 |
7 | Belgium | 101,446 | 0.58 | |||||
8 | Singapore | 343,213 | 69,965 | 61,689 | 2.43 | 0.40 | 0.35 | -11.83 |
9 | Switzerland | 18,480 | 15,498 | 14,852 | 0.13 | 0.09 | 0.08 | -4.17 |
10 | United States | 35,176 | 6,306 | 0.20 | 0.04 | -82.07 |
ในปี 2566 อินโดนีเซียนำเข้านม 5 อันดับแรกจาก นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เยอรมนี และไทย โดยนำเข้าจากนิวซีแลนด์เป็นสัดส่วนสูงที่สุดคือ (57.05%) รองลงมาคือ ฝรั่งเศส (25.13%) ออสเตรเลีย (7.19%) เยอรมนี (3.53%) และไทย (3.13%) แม้ว่าส่วนแบ่งตลาดของนิวซีแลนด์จะลดลง 8.22% แต่นิวซีแลนด์ยังคงครองตำแหน่งผู้ส่งออกนมรายใหญ่ที่สุดมายังอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับประเทศไทยก็มีส่วนแบ่งลดลง 22.60% แต่ยังคงอยู่ในกลุ่มผู้นำเข้านม 5 อันดับแรกในตลาดนมอินโดนีเซีย
ในระหว่างที่อินโดนีเซียอยู่ระหว่างการเตรียมแผนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตนมในท้องถิ่นเพื่อตอบสนองโครงการของรัฐบาล แผนการนำเข้านม 3 ล้านตันของอินโดนีเซียจึงเป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมนมของไทยในการสำรวจและวางแผนความร่วมมือระหว่างกัน ไทยสามารถตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์นมให้อินโดนีเซียได้ นอกจากนี้ โอกาสการลงทุนในด้านฟาร์มโคนมของอินโดนีเซีย เช่น การจัดตั้งฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ ถือเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนธุรกิจฟาร์มโคนมของไทยที่จะร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจชาวอินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญของไทยในด้านเทคโนโลยีและการจัดการการเลี้ยงโคนม
อ่านข่าวฉบับเต็ม : รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนนำเข้านมวัว 3 ล้านตันสำหรับโครงการอาหารฟรี