หน้าแรกTrade insight > มูลค่าตลาดช่วงเดือนรอมฎอนปี 2566 มียอดขายสูงถึง 2,500 ล้านริงกิต

มูลค่าตลาดช่วงเดือนรอมฎอนปี 2566 มียอดขายสูงถึง 2,500 ล้านริงกิต

มูลค่าการขายของตลาดรอมฎอนและตลาดสด Aidilfitri (Ramadan and Aidilfitri bazaars) ในปีนี้ (2566) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็น 2,500 ล้านริงกิต จาก 2,400 ล้านริงกิตในปี 2565 ตามสถิติเดือนรอมฎอนและ Aidilfitri Bazaar ปี 2566
ที่เผยแพร่โดยกรมสถิติมาเลเซีย (DOSM) ในการแถลงการณ์ DOSM กล่าวว่า ในแง่ของผลการดําเนินงานของรัฐสลังงอร์
ยะโฮร์และกรุงกัวลาลัมเปอร์คิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการขายทั้งหมดในปีนี้

ตามรายงาน DOSM ระบุว่า รัฐสลังงอร์มีมูลค่าการขายสูงสุดสําหรับตลาดรอมฎอน และตลาด Aidilfitri ตามด้วย
รัฐยะโฮร์ ที่ 411 ล้านริงกิต และกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ 284.2 ล้านริงกิต นอกจากนั้น ในระดับอำเภอ/เขต เมืองยะโฮร์บาห์รู
มีมูลค่าการขายสูงสุดที่ 207.6 ล้านริงกิต ตามด้วยเขต Petaling 204.5 ล้านริงกิต และเขต Klang ที่ 87.4 ล้านริงกิต

สำหรับตลาดสดเดือนรอมฎอน DOSM รายงานเสริมว่า รัฐสลังงอร์มีมูลค่าการขายสูงสุดที่ 451.4 ล้านริงกิต ตามด้วยรัฐยะโฮร์ ที่ 313.5 ล้านริงกิต และกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ 264.3 ล้านริงกิต โดยเขต Petaling ทำสถิติยอดขายสูงสุดในระดับอำเภอที่ 186 ล้านริงกิต นําหน้ายะโฮร์บาห์รูที่ 148.3 ล้านริงกิต และ Ulu Langat ที่ 64.3 ล้านริงกิต

สําหรับตลาด Aidilfitri นั้น DOSM รายงานว่ารัฐสลังงอร์มียอดขายเป็นอันดับหนึ่งด้วยยอดขาย 112.7 ล้านริงกิต ตามด้วยรัฐยะโฮร์ ที่ 97.5 ล้านริงกิต และรัฐมะละกา ที่ 47.4 ล้านริงกิต โดยเมืองยะโฮร์บาห์รู มีมูลค่าการขายสูงสุดในระดับอำเภอด้วย 59.3 ล้านริงกิต ตามด้วยเขต Klang 53.6 ล้านริงกิต และเขตมะละกากลางที่ 43.5 ล้านริงกิต

ขณะที่ DOSM ระบุว่าจำนวนคนงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 เป็น 203,667 คน เพิ่มขึ้นจาก 156,364 คนในปีที่แล้ว (2565) รัฐสลังงอร์มีจำนวนคนงานสูงสุดที่ 6,105 คน ตามด้วยรัฐยะโฮร์ที่ 5,258 คน และรัฐเคดาห์ที่ 2,850 คน โดย DOSM กล่าวว่า ผลการวิจัยนี้ มาจากการสํารวจที่ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม ถึง 22 เมษายน ครอบคลุมตลาดสดทั้งหมด
ที่ลงทะเบียนกับหน่วยงานประจำท้องถิ่น

 

 

ความคิดเห็นของ สคต.

การเปิดเผยผลสำรวจและมูลค่าการขายของตลาดรอมฎอนและตลาดสด Aidilfitri บ่งบอกถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศมาเลเซีย พบว่าเทศกาลดังกล่าวสามารถกระตุ้นความต้องการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยประชากรเตรียมตัวรองรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อความสุขของตนเองและครอบครัว ทั้งการซื้อเสื้อผ้าและของแต่งตัว รับประทานอาหารนอกบ้าน การสังสรรค์ ซื้อเครื่องใช้ภายในบ้านเพื่อความสะดวกสบาย บ่งบอกถึงพลังของเทศกาลรอมฎอนทำให้ประชากรมาเลเซียปลดล็อกการใช้จ่ายในหลายด้านมากขึ้น ด้วยสถานการณ์การฟื้นตัวด้านรายได้ที่ยังเปราะบางและภาวะค่าครองชีพสูงในประเทศมาเลเซีย ผู้บริโภคชาวมาเลเซียให้ยังคงต้องวางแผนการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากรมาเลเซียอาจเติบโตได้ดี โดยประชากรมาเลเซียให้ความสำคัญกับช่วงเทศกาลต่างๆ เป็นอย่างมาก เล็งเห็นผ่านการกลับมาใช้จ่าย ทำกิจกรรมนอกบ้าน และเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น

 

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login