หน้าแรกTrade insight > ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนมิถุนายน 2564

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนมิถุนายน 2564

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนมิถุนายน 2564

                   11 ปี ด้วยมูลค่า 23,699.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 41.56 เป็นผลจากการดำเนินการตามแผนการส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของภาคผลิตทั่วโลก สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ
                   ภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 โดยผลผลิต คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ และการจ้างงานในหลายประเทศล้วนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ ปัจจัยเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมภาคการส่งออกของไทย ทั้งนี้ การส่งออกครึ่งแรกของปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.53 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 20.84 สะท้อนภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ที่เติบโตอย่างชัดเจน 
                   ด้านสินค้าส่งออก มีการขยายตัวในหลายกลุ่มสินค้า ได้แก่ 1) สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะผักและผลไม้ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย ไก่สดแช่เย็นแช่เข็งและแปรรูป เครื่องดื่ม อาหารสัตว์เลี้ยง และสิ่งปรุงรสอาหาร 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ขยายตัวเกือบทุกหมวดสินค้า เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศฯ เตาอบไมโครเวฟ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ 3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง 4) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของภาคการผลิต เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และ 5) สินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวในระดับสูง สะท้อนถึงการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศคู่ค้า
ด้านตลาดส่งออก ขยายตัวเกือบทุกตลาด ตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หากมองเฉพาะการเติบโตในอาเซียน ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวในระดับสูง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ฟื้นตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ ตลาดCLMV มีศักยภาพการเติบโตในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะตลาดเมียนมาที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เช่นเดียวกับตลาดอื่นๆ อาทิ ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา และรัสเซียและ CIS ล้วนมีอัตราการขยายตัวในระดับสูงแทบทั้งสิ้น

มูลค่าการค้ารวม

  • มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมิถุนายน 2564
    การส่งออก มีมูลค่า 23,699.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 43.82 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
    การนำเข้า มีมูลค่า 22,754.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 53.75
    ดุลการค้าเกินดุล 945.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ภาพรวมการส่งออกครึ่งปีแรกของปี 2564 
    มีมูลค่า 132,334.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.53
    การนำเข้า มีมูลค่า 129,895.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 26.15
    ดุลการค้าครึ่งปีแรก เกินดุล 2,439.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมิถุนายน 2564
    การส่งออก มีมูลค่า 738,135.34 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 41.48 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
    การนำเข้า มีมูลค่า 718,651.32 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 51.33
    ดุลการค้าเกินดุล 19,484.02 ล้านบาท
  • ภาพรวมการส่งออกครึ่งปีแรกของปี 2564
    การส่งออก มีมูลค่า 4,017,545.69 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.59
    การนำเข้า มีมูลค่า 3,998,661.75 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 23.10
    ดุลการค้าครึ่งปีแรก เกินดุล 18,883.94 ล้านบาท

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
                   มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 36.0 (YoY) ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 111.9 ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 110.2 ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวแทบทุกตลาด อาทิ จีน สหรัฐฯ เวียดนาม ฮ่องกง และญี่ปุ่น) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 81.5 ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐฯ และอินโดนีเซีย) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 27.7 ขยายตัว 22 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี มาเลเซีย และออสเตรเลีย) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 227.4 ขยายตัว 13 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวแทบทุกตลาด อาทิ มาเลเซีย อินเดีย เคนยา เมียนมา และจีน) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 18.8 กลับมาขยายตัวในรอบ 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา ไต้หวัน สปป.ลาว และจีน) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ อาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 3.6 หดตัว 3 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแคนาดา แต่ขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อียิปต์ และอิตาลี) ข้าว หดตัวร้อยละ 7.4 หดตัว 7 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ และอังโกลา แต่ขยายตัวดีในตลาดแอฟริกาใต้ อิรัก จีน โมซัมบิก และญี่ปุ่น) สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ หดตัวร้อยละ 40.1 หดตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดกัมพูชา ลาว และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวดีในตลาดเวียดนาม เมียนมา จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ) สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 40.4 หดตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดฮ่องกง และลาว แต่ขยายตัวดีในตลาดเมียนมา และกัมพูชา) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 11.9

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
                   มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 44.7 (YoY) ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 78.5 ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ ออสเตรเลีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐฯ) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 114.3 ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ ฮ่องกง เยอรมนี อินเดีย และสหราชอาณาจักร) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 38.1 ขยายตัว 13 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย มาเลเซีย และเวียดนาม) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 21.5 ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ ฮ่องกง จีน เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ขยายตัวร้อยละ 73.1 ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 60.9 ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน เวียดนาม กัมพูชา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ อากาศยาน และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 63.5 หดตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดไต้หวัน และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวได้ดีในหลายตลาด อาทิ จีน สโลวีเนีย เวียดนาม สิงคโปร์ และอิตาลี) ปูนซีเมนต์ หดตัวร้อยละ 30.3 กลับมาหดตัวในรอบ 2 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา ออสเตรเลีย และ สปป.ลาว แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดบังกลาเทศ เมียนมา สหรัฐฯ นิวซีแลนด์ และมาเลเซีย) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 1.9 หดตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์ แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดสหรัฐฯ เม็กซิโก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมียนมา และจีน) ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 0.6 หดตัว 3 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดเวียดนาม ญี่ปุ่น ฮ่องกง และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดเมียนมา กัมพูชา มาเลเซีย และสปป.ลาว) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 15.9

ตลาดส่งออกสำคัญ
                   การส่งออกขยายตัวสูงในทุกตลาดสำคัญ สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ตามการกลับมาเปิดประเทศของประเทศคู่ค้า เนื่องจากการเร่งฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง 
ภาพรวมการส่งออกไปกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 41.2 โดยการส่งออกไปตลาดจีน และญี่ปุ่น ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 42.0 และร้อยละ 32.3 ตามลำดับ ตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (27) และ CLMV ขยายตัวดีต่อเนื่องร้อยละ 41.2 ร้อยละ 46.5 และร้อยละ 36.3 ตามลำดับ ส่วนตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ร้อยละ 48.7 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 49.5 ขยายตัวทุกกลุ่มตลาด ประกอบด้วย เอเชียใต้ ร้อยละ 125.7 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 39.2 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 26.1 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 40.8 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 102.0 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 37.2 และ 3) ตลาดอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 81.6 

ตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 41.2 (ขยายตัว 12 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และเตาอบไมโครเวฟ เป็นต้น ขณะที่ ครึ่งปีแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 21.0
ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 42.0 (ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์ ยางพารา และเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น ขณะที่ ครึ่งปีแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 24.9 
ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 32.3 (ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ทองแดง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ครึ่งปีแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 12.6 
ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ร้อยละ 48.7 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ ครึ่งปีแรกของปี 2564  ขยายตัวร้อยละ 6.0 
ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 36.3 (ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่ ครึ่งปีแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 18.1
ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 46.5 (ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ แผงวงจรไฟฟ้า เลนส์ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่ ครึ่งแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 26.6 
ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 125.7 (ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และเครื่องยนต์สันดาปฯ เป็นต้น ขณะที่ ครึ่งปีแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 51.3
ตลาดอินเดีย ขยายตัวร้อยละ 123.9 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ ครึ่งปีแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 54.8
ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25) ขยายตัวร้อยละ 39.2 (ขยายตัว 10 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศฯ และเหล็กและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ ครึ่งปีแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 28.5 

อ่านรายละเอียดฉบับเต็ม: คลิกที่นี่

ที่มา : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)

Login