หน้าแรกTrade insightปาล์มน้ำมัน > ภายในปี 2030 อินเดียจะขึ้นแท่นสู่ประเทศที่มีความต้องการน้ำมันที่มากที่สุดในโลก

ภายในปี 2030 อินเดียจะขึ้นแท่นสู่ประเทศที่มีความต้องการน้ำมันที่มากที่สุดในโลก

สำนักข่าวต่างประเทศไออีเอรายงานว่า ในอีก 7 ปีข้างหน้าอินเดียจะเป็นประเทศที่มีส่วนสำคัญต่อการ ขับเคลื่อนอุปสงค์ของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงมากที่สุดในโลก ซึ่งอินเดียขณะนี้เป็นผู้นำเข้าสุทธิรายใหญ่อันดับสองของโลกอยู่แล้ว แต่ยังคงเผชิญกับความท้าทายภายในประเทศส่งผลให้การผลิตภายในประเทศลดลงแตะระดับ 540,000 บาร์เรลต่อวัน หรือ หดตัวลง 22% จากปัจจุบัน 700,000 บาร์เรลต่อวัน การเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้ ถูกเผยแพร่โดย Goa India energy week เป็นการเน้นย้ำถึงสถานการณ์ น้ำมันเชื้อเพลิง ของอินเดียในภูมิทัศน์น้ำมันโลกแม้รัฐบาลอินเดียจะใช้ความพยายามในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ แต่การผลิตน้ำมันดิบในประเทศคาดว่าจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและสามารถตอบสนองอุปสงค์ของตลาดในประเทศได้เพียง 13% โดยรายงานยังได้ระบุอีกว่าประเทศจะมีความต้องการขยายตัวเกือบ 1.2  ล้านบาร์เรลต่อวันและในปี 2030 ความต้องการอินเดียจะสูงถึง 6.6 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือมากกว่าหนึ่งในสามของการเติบโตทั่วโลกที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในปี 2023 การนำเข้าน้ำมันของอินเดียเพิ่มขึ้นเป็น 4.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 36% จากช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีความท้าทายภายใต้การผลิตภายในประเทศ รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับนโยบายเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าและความก้าวหน้าในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประเมินว่าอินเดีย จะหลีกเลี่ยงความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ 480,000 บาร์เรลต่อวันระหว่างปี 2023 ถึง 2030 ส่งผลให้ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้อินเดียอยู่ในตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ในการกำหนดพลวัตของน้ำมันโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ข้อมูลเพิ่มเติม

  1. การขยายตัวที่ดีทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการขยายตัวของประชากร การขยายตัวของสังคมเมืองและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมจะทำให้บทบาทของอินเดียในตลาดน้ำมันโลกเติบโตได้อย่างรวดเร็วภายในปี 2030 ซึ่งจะส่งผลกระทบ อย่างมีนัยยะสำคัญต่อดุลการค้าน้ำมัน ความท้าทายต่อประเด็นสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายความมั่นคงด้านพลังงานในเวทีโลก
  2. ด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วประกอบกับเศรษฐกิจของจีน มุ่งเน้นนโยบายสู่ประเทศการใช้พลังงานให้น้อยลง อินเดียจะกลายเป็นตลาดที่เติบโตด้านอุปสงค์น้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกในทศวรรษนี้ ซึ่งคาดว่าอินเดียจะครองสัดส่วนที่มากกว่าหนึ่งในสามของความต้องการน้ำมันทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2023 ถึง 2030
  3. รายงานฉบับนี้ได้ศึกษาถึงบทบาทเชิงลึกของอินเดียในตลาดน้ำมันโลก ในช่วงระยะเวลาจนถึงปี 2030 โดยมีการศึกษาแผนการลงทุนในอุตสาหกรรมการกลั่นและปิโตรเคมี รวมไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงและการค้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ของอินเดียและยังรายงานถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการในภาคอุตสาหกรรมด้านอื่นๆและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อทิศทางความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ
  4. รายงานมีการอัพเดทข้อมูลการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ ตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงของอินเดีย จากรายงานในเดือนมิถุนายน 2023 (The Oil 2023) ซึ่งคาดการณ์ความต้องการของน้ำมันในปี 2030 ต่ำกว่าการคาดการณ์เชิงนโยบายที่ได้ระบุไว้ในรายงาน World Energy Outlook 2023 (WEO 2023) ในเดือนตุลาคม 2023 ที่สะท้อนถึงการกำหนดนโยบายของรัฐบาลทั่วโลกที่มีความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานและสภาพพูมิอากาศโดยรัฐบาลอินเดียให้คำมั่นสัญญาว่าจะบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2070
  5. นอกจากนี้ รายงานยังเน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สำคัญต่อภาคพลังงานพลังงานและอุปสงค์ความต้องการพลังงานภายใน เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆที่จะต้องเร่งปรับเปลี่ยนการบริโภคพลังงานพลังงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านพลังงานและสภาพพูมิอากาศแห่งชาติ และสอดคล้องกับเป้าหมายหลักของความตกลงปารีสที่มีเป้าประสงค์ในการจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

ข้อคิดเห็น

  1. บริษัทน้ำมันของอินเดียกำลังลงทุนอย่างหนักในภาคการกลั่นเพื่อตอบสนองความต้องการน้ำมันในประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะนี้โครงการขนาดใหญ่อื่นๆ อีกหลายโครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งอาจเพิ่มกำลังการกลั่นให้เกินกำลังการผลิต 6.8 ล้านบาร์เรล/วัน เนื่องจากอินเดียถูกกำหนดให้รักษาตำแหน่งของตนในฐานะผู้ส่งออกเชื้อเพลิงการขนส่งรายใหญ่ไปยังตลาดในเอเชียและแอตแลนติก ทั้งนี้ การเพิ่มกำลังของกระบวนการกลั่นได้ดำเนินการแล้วเพื่อยกระดับการนำเข้าน้ำมันดิบเป็น 5.8 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2573 ซึ่งอาจส่งผลกระทบสำคัญต่อความมั่นคงด้านอุปทานเชื้อแพลิงของอินเดีย
  2. เชื้อเพลิงชีวภาพคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคการขนส่งของอินเดียและประเทศในเอเชียใต้ โดยอินเดียเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคเอทานอลรายใหญ่อันดับสามของโลกอยู่แล้ว เนื่องจากการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นสามเท่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ประเทศไทยกำลังกลายเป็นผู้จัดหาและผู้ใช้ชีวมวลรายใหญ่ หากผู้ประกอบการเล็งเห้นถึงโอกาสในการพัฒนาธุรกิจด้านพลังให้ตอบโจทย์จากการใช้ประโยชน์จากการเก็บภาษีคาร์บอนและการค้าผ่านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเอเชีย ช่องว่างของธุรกิจลักษณะนี้ยังคงมีพื้นที่ให้แสดงศักยภาพได้อีกมาก นอกจากนี้ ประเทศไทยจำหน่ายชีวมวลหลายประเภท เช่น ขี้เลื่อยอัดแท่ง เศษไม้ ขี้เลื่อย ชานอ้อย ใบอ้อย และกะลาปาล์ม ในปี 2565 ประเทศไทยส่งออกขี้เลื่อยไปทั่วโลกในปริมาณมาก คิดเป็น 100 กิโลเมตรตัน (k mt) กอปรกับอินเดียมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง และรัฐบาลกำลังมองหาวิธีกำหนดราคาคาร์บอนให้สูงขึ้น ธุรกิจด้านพลังงานในด้านชีวมวลของไทยอาจเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่จะสามารถแข่งขันกับตลาดขนาดใหญ่นี้ได้และจะช่วยให้ภูมิภาคแห่งนี้สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ตามลำดับ

ที่มา:
1. https://www.spglobal.com/commodityinsights/en/market-insights/latest-news/oil/020724-india-to-be-largest-source-of-oil-demand-growth-until-2030-iea
2. https://www.ibef.org/

อ่านข่าวฉบับเต็ม : ภายในปี 2030 อินเดียจะขึ้นแท่นสู่ประเทศที่มีความต้องการน้ำมันที่มากที่สุดในโลก

Login