หน้าแรกTrade insightการค้าระหว่างประเทศ > ผู้นำยุโรปไฟเขียว ให้โครเอเชียเข้าเขตเชงเก้น

ผู้นำยุโรปไฟเขียว ให้โครเอเชียเข้าเขตเชงเก้น

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ว่า ที่ประชุมรัฐมนตรีมหาดไทยของ 27 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) มีมติเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา รับรองโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของความตกลงเชงเกน เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับการเดินทางภายในกลุ่ม โดยไม่จำเป็นต้องแสดงหนังสือเดินทางและขอวีซ่า

สำหรับการเข้าเป็นสมาชิกเชงเกนของโครเอเชีย จะมีผลอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 ม.ค. 2566 และเพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกในกลุ่มเป็นอย่างน้อย 27 แห่ง จากจำนวนดังกล่าว 4 ประเทศ ไม่ได้เป็นสมาชิกอียู ได้แก่ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และไอซ์แลนด์

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่กลุ่มเชงเกนของโรมาเนียและบัลแกเรีย ซึ่งพยายามมานานกว่า 1 ทศวรรษ ยังไม่สัมฤทธิผล เนื่องจากออสเตรียใช้สิทธิวีโต้ ด้วยเหตุผลว่า การรับทั้งสองประเทศซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนที่สุดเข้ากลุ่ม อาจกลายเป็นการเปิดทางให้เกิดการอพยพ “โดยไม่จำเป็น” ขณะที่เนเธอร์แลนด์ แม้แสดงเจตจำนงคัดค้านเฉพาะบัลแกเรีย แต่ส่งผลให้โรมาเนีย ซึ่งยื่นใบสมัครคู่กันได้รับการปฏิเสธไปด้วย

ทั้งนี้ ผู้อพยพทั้งที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมายเป็นหนึ่งในประเด็นถกเถียงยืดเยื้อของยุโรป และคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหราชอาณาจักรสร้างประวัติศาสตร์ เป็นประเทศแรกที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกอียู ตามการลงประชามติของประชาชน เมื่อปี 2559 แต่นางซูเอลลา บราเวอร์แมน รมว.มหาดไทยของสหราชอาณาจักร เดินทางเข้ามาร่วมการประชุมนอกรอบ เพื่อหารือเกี่ยวกับความพยายามหลบหนีเข้าเมืองผ่านช่องแคบอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่กลุ่มเชงเกนของโรมาเนียและบัลแกเรีย ซึ่งพยายามมานานกว่า 1 ทศวรรษ ยังไม่สัมฤทธิผล เนื่องจากออสเตรียใช้สิทธิวีโต้ ด้วยเหตุผลว่า การรับทั้งสองประเทศซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนที่สุดเข้ากลุ่ม อาจกลายเป็นการเปิดทางให้เกิดการอพยพ “โดยไม่จำเป็น” ขณะที่เนเธอร์แลนด์ แม้แสดงเจตจำนงคัดค้านเฉพาะบัลแกเรีย แต่ส่งผลให้โรมาเนีย ซึ่งยื่นใบสมัครคู่กันได้รับการปฏิเสธไปด้วย

ทั้งนี้ ผู้อพยพทั้งที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมายเป็นหนึ่งในประเด็นถกเถียงยืดเยื้อของยุโรป และคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหราชอาณาจักรสร้างประวัติศาสตร์ เป็นประเทศแรกที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกอียู ตามการลงประชามติของประชาชน เมื่อปี 2559 แต่นางซูเอลลา บราเวอร์แมน รมว.มหาดไทยของสหราชอาณาจักร เดินทางเข้ามาร่วมการประชุมนอกรอบ เพื่อหารือเกี่ยวกับความพยายามหลบหนีเข้าเมืองผ่านช่องแคบอังกฤษ

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login