ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านทางท่าเรือมอมบาซาของเคนยา มีแนวโน้มลดลงเป็นปีที่สองติดต่อกัน นับเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคของแผนการบริหารประเทศในสมัยของ ประธานาธิบดีวิลเลี่ยม รูโต้ ที่มีความต้องการส่งเสริมให้ท่าเรือมอมบาซา เป็นหนึ่งในท่าเรือที่สามารถอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าและเอื้อต่อการค้าระดับโลกเป็นอย่างมาก ซึ่งจากข้อมูลรายงานการใช้บริการท่าเรือนี้ของเคนยาในเดือนกรกฎาคม 2566 กลับแสดงให้เห็นว่าปริมาณการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือมอมบาซานั้น ลดลงในอัตราที่เร็วกว่าร้อยละ 19.87 ในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปี 2566 เมื่อเทียบกับปีก่อน ท่าเรือที่พลุกพล่านที่สุดในแอฟริกาตะวันออกแห่งนี้ได้จัดการขนถ่ายสินค้าประมาณ 1.2 ล้านตัน ในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงจาก 1.5 ล้านตันเมื่อปีที่ผ่านมา (2565)
ธุรกิจขนถ่ายสินค้านับเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ จากอัตราการใช้บริการท่าเรือมอมบาซา ที่ลดลงเหลือตัวเลขการให้บริการเพียง 2.3 ล้านตันเมื่อปีที่ผ่านมา เริ่มแสดงให้เห็นว่า การจะเป็นผู้นำในฐานะประตูสู่แอฟริกาตะวันออกและแอฟริกากลางของเคนยานั้น อาจไม่ราบรื่นในระยะยาว ด้านนายวิลเลี่ยม รูโต้ เองเห็นว่า ปัญหานี้ควรได้รับการแก้ไขจึงได้จัดให้มีการประชุมพร้อมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมมีมติเห็นพ้องว่า จะต้องมีการดำเนินการปฏิรูปในวงกว้าง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและทำให้ท่าเรือมอมบาซากลับมาสู่เวทีการแข่งขันระดับโลกให้ได้ และแน่นอนว่าผล
ประกอบการของท่าเรือมมอบาซาแห่งนี้ย่อมส่งผลโดยตรงกับเศรษฐกิจของประเทศเคนยา หากการใช้บริการของท่าเรือกลับมาประสิทธิภาพและเป็นที่นิยมอีกครั้งแล้ว ย่อมนำเม็ดเงินกลับเข้าสู่ประเทศได้อย่างแน่นอน
การประชุมดังกล่าว ชี้ให้เห็นปัญหาผ่านการร้องเรียนจากผู้ค้าเรื่องต่างๆ เช่น ค่าผ่านทางที่สูง ค่าธรรมเนียมผ่านชายแดนที่สูง การจราจรที่หนาแน่นที่ไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร และสภาพถนนทั่วไปที่ทำให้การสัญจรทางบกไม่สะดวกเท่าที่ควร ซึ่งล้วนอาจเป็นปัจจัยด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในที่ผู้นำเข้าหรือขนส่งสินค้าในประเทศอื่นที่เลือกใช้เส้นทางขนส่งสินค้าสายเหนือ หรือ Northern Corridor ที่ผ่านท่าเรือ Mombasa นั่นเอง จึงส่งผลให้ผู้ใช้บริการหันไปเลือกเส้นทางขนส่งสินค้าสาย Central Corridor แทน (เส้นทางนี้เชื่อมโยง 5 ประเทศ ได้แก่ แทนชาเนีย ยูกานดา รวันดา บูรันดี D.R. Congo) อีกทั้งระยะทางของเส้นทาง Central Corridor มีระยะทางประมาณ 1,300 กิโลเมตร สั้นกว่าระยะทางของ Northern Corridor โดยเริ่มต้นที่ท่าเรืองดาร์ เอส ซาลาม ประเทศแทนซาเนียไปจนจบที่ D.R. Congo ในขณะที่เส้นทางขนส่งสินค้าสายเหนือ Northern Corridor มีระยะทางทอดยาวประมาณ 1,700 กิโลเมตร เริ่มจากท่าเรือมอมบาซาในเคนยา จนสิ้นสุดที่ D.R. Congo เช่นกัน แม้กระทั่งผู้แทนผู้นำเข้าและส่งออกอย่างสภาผู้แทนการขนส่งสินค้าแห่งแอฟริกาตะวันออก ก็ยังแนะนำให้ผู้ค้าและบริษัทต่างๆ หันมาใช้บริการขนส่งสินค้าผ่านทางดาร์ เอส ซาลาม ประเทศแทนซาเนียให้มากขึ้น เนื่องจากรวมแล้วมีอัตราค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าในปัจจุบัน หรือใช้เวลาสั้นกว่านั่นเอง
ความเห็นของ สคต.
เคนยามีแนวคิดที่จะมีความร่วมมือกับ DP WORLD ของดูไบ ให้เข้ามาช่วยแนะนำร่วมทุนบริหารท่าเรือ Mombasa และท่าเรืออื่นๆของเคนยา แต่จากปัญหาด้านการเมืองทำให้ข้อตกลงดังกล่าวยังไม่ได้ช้อยุติ ซึงหากเคนยายังมีการบริหารงานของท่าเรือที่ไม่มีการปรับปรุงตามข้อเสนอของผู้ใช้บริการแล้ว ความนิยมของการเลือกเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างเคนยาและแทนซาเนียเป็นศูนย์กลางก็อาจค่อยๆ กลายเป็นแทนซาเนียที่น่าจะมีผู้ใช้บริการมากกว่าได้ในอนาคต
ผู้ส่งออกควรศึกษาการขนส่งทั้งจากเคนยาและแทนซาเนียไว้เพื่อพิจารณาทางเลือกว่า ควรใช้เส้นทางใดเพราะในอนาคตอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถทำให้การส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล เช่น ยูกานดา Dr.Congo รวันดา เป็นต้น อาจต้องนำเรื่องของค่าใช้จ่ายและระยะเวลามาเปรียบเทียบกัน อย่างไรก็ดี ทั้งสองเส้นทางก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันไป แต่การที่แทนซาเนียบรรลุข้อตกลงกับ DP WORLD ในการช่วยมาบริหารจัดการท่าเรือของแทนซาเนียแล้ว อาจเป็นแรงกระต้นให้ผู้ใช้บริการหันไปใช้หรือทดลองใช้ท่าเรือ Dar Es Salaam มาก
ขึ้นก็เป็นได้ จึงต้องจับตาดูว่าเคนยาจะสามารถแก้ไข ความสามารถในการแข่งขันนี้ได้เร็วเพียงใต ซึ่ง สคต. มองว่า หากเคนยายังมีการบริหารโดยคนเคนยาเอง ก็จะมีแนวโน้มอาจสู้แทนซาเนียที่มีพี่เลี้ยงระดับโลกอย่าง DP WORLD ไม่ได้ในอนาคตอันใกล้ เพราะเห็นได้จากข่าวข้างต้นว่า การบริหารงานและนโยบายของรัฐบาลเคนยา ต่างเป็นสาเหตุของการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพจนทำให้มีปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือ Mombasa ลดลงติดต่อกัน 2 ปีดังกล่าว
ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา :
The EastAfrican
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)