หน้าแรกTrade insightข้าว > ปรากฏการณ์เอลนิโญเป็นปัจจัยเสริมให้เงินเฟ้อของอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้น จากราคาข้าวที่เพิ่มสูงขึ้น

ปรากฏการณ์เอลนิโญเป็นปัจจัยเสริมให้เงินเฟ้อของอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้น จากราคาข้าวที่เพิ่มสูงขึ้น

นาข้าว อินโดนีเซีย ขาดน้ำ
นาข้าว อินโดนีเซีย

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียน+3 (อาเซียน+3 คือประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้) กล่าวว่าปรากฏการณ์เอลนิโญเป็นปัจจัยเสริมให้อัตราเงินเฟ้อในภูมิภาคอาเซียน+3 เพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของอินโดนีเซียราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นมีส่วนทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อมากที่สุด ไม่เพียงแต่เกิดจากผลกระทบของเอลนิโญเท่านั้น แต่ยังมีกรณียักยอกข้าวของ Bulog อีกด้วย
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียน+3 ได้ปรับปรุงการคาดการณ์เงินเฟ้อในภูมิภาคอาเซียน+3 ในปี 2566 และ 2567 โดย อัตราเงินเฟ้อของภูมิภาคอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.5 ในปี 2566 และร้อยละ 3.8 ในปี 2567 การประมาณการนี้เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ประมาณการไว้ ร้อยละ 6.3 ในปี 2566 และร้อยละ 3.4 ในปี 2567 อย่างไรก็ตามสำหรับอินโดนีเซีย AMRO ได้ลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 3.8 จากการคาดการณ์ในเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ร้อยละ 3.9 ขณะเดียวกันการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียในปี 2567 จะยังคงเหมือนเดิมกับการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อน อยู่ที่ร้อยละ 2.8


Hoe Ee Khor หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ AMRO กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงานทั่วโลกในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานมีสาเหตุหลักมาจากการขยายนโยบายลดการผลิตน้ำมันดิบไปจนถึงสิ้นปี 2566 ของซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ขณะที่ในส่วนของภาคอาหารนั้นราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญ
“เอลนิโญเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมันกระตุ้นให้เกิดนโยบายการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ด้านอาหาร เช่น ข้าว ที่มีความเข้มงวดมากขึ้น “ผลกระทบของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นต่ออัตราเงินเฟ้อของอาเซียน+3 จะรุนแรงยิ่งขึ้น หากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาคต่อไป” Hoe Ee Khor กล่าวว่า
จากข้อมูลสถิติราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของธนาคารโลก ฉบับเดือนตุลาคม 2566 ราคาเฉลี่ยในเดือนกันยายน 2566 ของข้าว 5 เปอร์เซ็นต์จากไทยและเวียดนามอยู่ที่ 620 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และ 594.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ตามลำดับ ข้าวไทยมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.54 ขณะที่ข้าวเวียดนามมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.94 นับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา เอลนิโญถือเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมันกระตุ้นให้นโยบายการค้าอาหารจำเป็น เช่น ข้าว มีความเข้มงวดมากขึ้น ผลกระทบของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นต่ออัตราเงินเฟ้อของอาเซียน+3 จะมีความรุนแรงมากขึ้น และการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาคยังคงดำเนินต่อไป

คนงานขนกระสอบข้าวนำเข้าจากเวียดนามขึ้นรถบรรทุกที่ท่าเรือ Tanjung Priok จาการ์ตาตอนเหนือ วันพุธ (13/09/2023) ข้าวนำเข้าซึ่งบรรจุในกระสอบน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ถูกส่งไปยังโกดังของ Bulog ที่ Jakarta และ Banten[/caption]
การยักยอกข้าวBulog
สำนักงานสถิติกลางของอินโดนีเซีย ตั้งข้อสังเกตว่า ณ เดือนกันยายน 2023 ราคาข้าวขายปลีกในประเทศมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 13,799 รูเปียต่อกิโลกรัม โดยราคาดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.61 ต่อเดือน และ 18.44 ต่อปี ส่งผลให้ข้าวกลายเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 0.19 ต่อเดือน และร้อยละ 2.28 ต่อปี
ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นเป็นวัฏจักรตามฤดูกาลของผลผลิตที่ลดลงทุกๆ ฤดู อย่างไรก็ตาม การผลิตที่ลดลงในปีนี้ยิ่งมากขึ้นไปอีกเนื่องจากภัยแล้งที่ยาวนานซึ่งเกิดจากผลกระทบของเอลนิโญ กระทรวงเกษตรคาดการณ์ว่าการสูญเสียผลผลิตข้าวอาจสูงถึง 1.2 ล้านตันหากเอลนิโญยังรุนแรงขึ้น
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ราคาข้าวในตลาดยังคงอยู่ในระดับสูงแม้ว่าจะมีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มอุปทานแล้วก็ตาม ปัจจัยหนึ่งเกิดจากการยักยอกข้าว Bulog อย่างไม่เหมาะสม กล่าวคือ การนำข้าว Bulog ไปบรรจุถุงใหม่แล้วขายในราคาที่สูงขึ้น Budi Waseso ผู้อำนวยการใหญ่ของ Bulog กล่าวว่ามีบุคคลนำข้าว Bulog ไปบรรจุถุงใหม่แล้วจำหน่ายเป็นข้าวระดับพรีเมียม ทำให้ข้าวที่ควรขายได้ในราคาที่เหมาะสมถูกขายในราคาข้าวพรีเมี่ยมที่มีราคาสูง
หน่วยเฉพาะกิจด้านอาหาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Satgas) ได้เก็บตัวอย่างข้าว 11 ชนิดที่ Bulog นำเข้ามาเปรียบเทียบกับข้าวพรีเมี่ยมในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ปรากฎว่าข้าวบางส่วนมีลักษณะเหมือนกับข้าวที่Bulogนำเข้า


Arief Prasetyo Adi หัวหน้าสำนักงานอาหารแห่งชาติ (NFA) กล่าวว่าเขาได้ขอให้คณะทำงานเฉพาะกิจด้านอาหารบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ ซึ่งจะไม่กระทบต่อความพยายามของรัฐบาลที่จะเพิ่มอุปทานข้าวในตลาดเพื่อลดราคาสินค้าอาหารหลักนี้“สำหรับตลาด Cipinang ซึ่งเป็นแหล่งค้าข้าวหลักของจาการ์ตาตะวันออก มีคำขอรับจัดสรรข้าวเข้าสู่ตลาดจำนวน 8,000 ตัน โดยเราได้จัดสรรไปแล้ว 5,500 ตัน
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 – 5 ตุลาคม 2566 คณะทำงานด้านอาหารได้ดำเนินการคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ 10 คดี โดยมีผู้ต้องสงสัย 10 คน มีการประกาศผลการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว 8 คดี และหลายคดีได้เข้าสู่การพิจารณาคดี โดยผู้บัญชาการ Hermawan หัวหน้าคณะทำงานย่อยด้านความพร้อมด้านอาหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า คณะทำงานด้านอาหารได้ติดตามผลการค้นพบและรายงานที่เกี่ยวข้องกับการกล่าวหาว่าผสมและเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ข้าว Bulog การสอบสวนวิธีหนึ่งคือการเปรียบเทียบตัวอย่างข้าวBulogกับข้าวคุณภาพเยี่ยมที่ขายให้กับผู้บริโภค“ตราบใดที่โครงการรักษาเสถียรภาพราคาอาหารและอุปทาน (SPHP) ยังคงดำเนินต่อไป เราจะติดตามการแจกจ่ายอาหาร ทุกชนิดรวมถึงข้าวต่อไป ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการในตลาด” “เราจะดำเนินการอย่างจริงจังต่อบุคคลที่ฉวยโอกาสจากสถานการณ์ราคาข้าวที่สูงขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง”


วิเคราะห์ผลกระทบ โอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการไทย
กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียคาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวอาจสูญเสียสูงถึง 1.2 ล้านตันหากเอลนิโญยังรุนแรงขึ้น โดยอินโดนีเริ่มนำเข้าข้าวจากต่างประเทศตั้งแต่ปลายปี 2565 เนื่องจากราคาข้าวในประเทศขยับตัวสูงขึ้นแม่ว่าขณะนั้นผลผลิตในประเทศยังไม่ได้รับผลกระทบจากเอลนิโญ อย่างไรก็ตามปัจจุบันราคาข้าวในประเทศอินโดนีเซียยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนสำคัญให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น
โดยจากข้อมูลสถิติราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของธนาคารโลก ฉบับเดือนตุลาคม 2566 ราคาเฉลี่ยในเดือนกันยายน 2566 ของข้าว 5 เปอร์เซ็นต์จากไทยและเวียดนามอยู่ที่ 620 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และ 594.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ตามลำดับ ข้าวไทยมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.54 ขณะที่ข้าวเวียดนามมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.94 นับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา เอลนิโญถือเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลให้สินค้าโภคภัณฑ์หลักอย่างข้าวมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
รัฐบาลอินโดนีเซียได้บริหารอุปสงค์ /อุปทานข้าว ผ่านหน่วยเฉพาะกิจด้านอาหาร และยืนยันว่าข้าวสำรองของรัฐบาลที่บริหารโดย Bulog มีปริมาณเพียงพอ แต่ยังไม่สามารถควบคุมราคาข้าวในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ส่งกลับส่งผลดีต่อปริมาณการส่งออกข้าวของไทยที่ส่งข้าวมาอินโดนีเซียได้เพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและราคา

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login