หน้าแรกTrade insightการค้าระหว่างประเทศ > ประธานาธิบดีเคนยา (William Ruto) ยอมรับเคนยากำลังมีปัญหาบริหารจัดการหนี้

ประธานาธิบดีเคนยา (William Ruto) ยอมรับเคนยากำลังมีปัญหาบริหารจัดการหนี้

ประธานาธิบดีเคนยา (William Ruto) ยอมรับเคนยากำลังมีปัญหาบริหารจัดการหนี้

ประธานาธิบดี วิลเลียม รูโต ของเคนยายอมรับว่า รัฐบาลของเขากำลังดิ้นรนกับรายจ่ายในการชำระหนี้ของเคนยา ซึ่งทำให้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา การจ่ายเงินเดือนข้าราชการระดับสูงรวมถึงสมาชิกรัฐสภาล่าช้าเป็นประวัติการณ์ และบางรายยังไม่ได้รับในปัจจุบัน โดยในสัปดาห์ที่แล้ว (12 เม.ย. 66) มี ส.ส.ฝ่ายค้านได้เปิดเผยว่า ข้าราชการหลายหน่วยงานยังไม่ได้รับค่าจ้างในเดือนมีนาคม และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบจากสถาบันการเงินสำคัญของประเทศ รวมถึงธนาคารกลางแห่งเคนยา (CBK) สำนักงานสรรพากรของเคนยา (KRA) และของประเทศ กระทรวงการคลัง ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น และรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร

เกียวกับเรื่องนี้นั้น ปธน.รูโต ได้ให้ความเห็นว่า เราต้องชื่นชมสำนักงานสรรพากรเคนยา (KRA) ก็ทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยากลำบากเพื่อให้อยู่ในเป้าหมายรายรับ อย่างไรก็ดี เขาเห็นว่า รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่จะกู้เงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่มีปัญหา เช่น เงินเดือน ดังกล่าว “เราจะจ่ายเงินเดือนจากงบประมาณของเราเอง ยังไม่มีความจำเป็นต้องพูดถึงการกู้เงินในขณะนี้ เรายังสามารถบริหารจัดการได้” Ruto กล่าวเมื่อวันอังคาร

“เราได้ปรับการจัดทำงบประมาณที่ในปีนี้ (2566) จะมีการตั้งงบประมาณขาดดุล -5.7 % ต่อ GDP ตามเป้าหมายของเรา(ที่ได้รับการแนะนำจาก IMF) คือเพิ่มเป็น ขาดดุล 5 % ในปีหน้า (2567) และ 4.4 % ในปีถัดไป (2568) เพื่อให้เราสามารถทำงานภายใต้รายได้ที่เราพึ่งหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและจำเป็น โดยมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลได้ทำคือ การปรับเพิ่มภาษีในสินค้าหลายรายการที่เราไม่เคยจัดเก็บมาก่อน เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐบาล” เขากล่าวเสริม

กระทรวงการคลังของเคนยาได้ปรับเป้าหมายรายรับสำหรับปี 2567 โดยจัดทำงบประมาณเพิ่มขึ้นจากจำนวน 66.52 พันล้าน KES เป็น 2.53 ล้านล้าน KES (494 ล้านดอลลาร์ – 18.8 พันล้านดอลลาร์) เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 36 พันล้าน KES เป็น 3.39 ล้านล้าน KES (267.4 ล้านดอลลาร์) — 25.2 พันล้านดอลลาร์) โดยในไตรมาสแรกที่ผ่านมานั้น สำนักงานสรรพากรของเคนยา พลาดเป้าหมายในการจัดเก็บรายได้กว่า 340 ล้านดอลลาร์ (Ksh45.8 พันล้าน KRA) แต่ยังเชื่อมันว่า หน่วยงานจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลให้นโยบายไว้

จากการสัมภาษณ์แหล่งข่าวใน สำนักงานสรรพากรเคนยาได้กล่าวว่า เคนยาสามารถรักษาระดับการจัดเก็บรายได้เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า “โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 การจัดเก็บรายได้ของเคนยาเฉลี่ยอยู่ที่ 95.1 เปอร์เซ็นต์จากเป้าหมายเดิมและ 93.4 เปอร์เซ็นต์สำหรับเป้าหมายใหม่ที่กำหนดโดยรัฐบาล คิดเป็น 1.554 ล้านล้าน KES 1.54 (11.54 พันล้านดอลลาร์) และจัดหารายได้ ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 8% ของการจัดเก็บรายได้ในปี 2565”

อย่างไรก็ดี ฝ่ายค้านโต้แย้งตัวเลขเหล่านี้ โดยอ้างว่า จนถึงขณะนี้ สำนักงานสรรพากรเคนยา เก็บได้มากที่สุดเพียง 1.2 ล้านล้าน Ksh (8.9 พันล้านดอลลาร์) แต่เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก็ยืนยันว่า การลงทุนในระบบสารสนเทศใหม่ทำให้ควบคุมการหลีกเลี่ยงภาษีได้มากขึ้น และสร้างอัตราผลตอบแทนทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำถามที่เกิดขึ้นในภาคประชาชน ถึง ‘ความสิ้นเปลือง’ ในการใช้จ่ายของรัฐบาล

เกิดคำถามในกลุ่มประชาชนชาวเคนยาจำนวนมากว่า ทำไมรัฐบาลยังคง ‘ยากจน’ แม้ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น โดยฝ่ายค้านยังตั้งคำถามว่า เงินที่ประหยัดได้จากการลดเงินอุดหนุนตามนโยบายประชานิยมต่างๆ ของรัฐบาล ที่มีการยกเลิกในเมื่อปลายปีที่แล้ว เช่น การลดการอุดหนุนน้ำมัน ไฟฟ้า เป็นต้น นั้น ถูกเปลี่ยนไปใช้จ่ายไปที่ใด ทำไมปัจจุบันรัฐบาลยังไม่สามารถจ่ายเงินเดือนของข้าราชการได้ตามที่ควร

โดย นาย David Ndii หนึ่งในที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกล่าวถึง ‘ความสิ้นเปลือง’ ในรัฐบาลว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตเงินสดของภาครัฐในปัจจุบัน โดยเขาเปิดเผยพฤติกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาลในหลายเรื่องที่ไม่โปร่งใสและไม่มีความจำเป็น โดยเขาวิจารณ์ว่า

“รัฐบาลเคนยาสิ้นเปลืองมาก ไม่มีวันใดที่ฉันไม่โกรธไม่เพียงแค่ว่ามันสิ้นเปลืองเพียงใด แต่ด้วยความตั้งใจและความไม่ใส่ใจความเดือดร้อนของผู้คน” Ndii กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์กับ Citizen TV ของเคนยาเมื่อวันอังคารสัปดาห์ที่แล้ว ความเห็นของ Ndii เกิดขึ้นหลายสัปดาห์หลังจากปรากฏว่า สำนักงานของประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีใช้งบประมาณที่จัดสรรประจำปีมากเกินไป โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน อย่างน้อย +5% ในเวลาเพียงเดือนเดียวที่ดำรงตำแหน่ง

ทังนี้ ในจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมที่นำเสนอในรัฐสภาของเคนยาในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังเคนยาพยายามที่จะเพิ่มงบประมาณสำหรับสำนักงานของประธานาธิบดีจากปีก่อนถึงกว่า +60 % สูงถึงกว่า 102.49 ล้านดอลลาร์ ยกตัวอย่างเช่น งบประมาณของรองประธานาธิบดีเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าเป็น 19.53 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่งบประมาณของรัฐสภาเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเป็น 65.7 ล้านดอลลาร์) ในการจัดทำงบประมาณ

โดยนาย David Ndii เขาเห็นว่า ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงที่มีความสำคัญในการขับเคลือนเศรษฐกิจของประเทศ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตร เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาในเชิงเศรษฐกิจหรือขับเคลือนการสร้างรายได้ให้กับประเทศมากกว่า การนำมาใช้ในงานที่ไม่มีความจำเป็น หรือ ตอบสนองผลประโยชน์ทางการเมืองยังที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายอิสระวิพากษ์วิจารณ์แผนการใช้จ่ายของรัฐบาลเคนยา โดยกล่าวว่า พวกเขาไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของภาคส่วนที่ “มีผลกระทบสูง” ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเติบโตและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สถาบันการเงินสาธารณะ (Institute of Public Finance – IPF) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านเศรษฐศาสตร์ของประเทศ เตือนว่า เศรษฐกิจของเคนยากำลังมุ่งหน้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น เนื่องจากภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น การไม่สามารถดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เลวร้ายลง

โดยในแถลงการณ์ร่างงบประมาณปี 2567 ของรัฐบาลเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนั้น IPF กล่าวว่า การลดการจัดสรรงบประมาณเพื่อการเกษตรและการคุ้มครองทางสังคมตามแผนงบประมาณใหม่นั้น อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสวัสดิการโดยรวมของประชากร และควรยกเลิก นอกจากนั้น IPF ยังเตือนไม่ให้ มีการระดมทุนเพิ่มเติมหรือออกพันธบัตรแก่หน่วยงานของรัฐที่บางแห่ง เนื่องจากเป็นการสูญเสียเงินสาธารณะไปกับบริการที่ไม่จำเป็น

ความเห็นของ สคต.

สถานการณ์ด้านการเมืองดังกล่าวในเคนยา แสดงให้เห็นเสียงสะท้อนความไม่พอใจในการบริหารจัดการหนี้และงบประมาณของรัฐบาลปัจจุบัน ที่หลายฝ่ายมองว่า ไม่มีประสิทธิภาพ โดยต่างฝ่ายต่างสะท้อนให้เห็นว่า หากรัฐบาลมีความใส่ใจในการแก้ปัญหาและสนใจหน่วยงานที่จะมาสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยเฉพาะภาคการเกษตร ที่ดูเหมือนงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้มีจำนวนไม่เพียงพอให้เคนยายกระดับและสร้างรายได้มากขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันมีการเพิ่มงบประมาณให้กับพวกพ้องและฝ่ายการเมืองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งสมาชิกรัฐสภาและทำเทียบประธานาธิบดี ตามข่าวข้างต้น

สคต. เห็นว่า ปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะของเคนยาที่อยู่ในระดับสูง (ประมาณร้อยละ 69 ต่อ GDP) ปัญหาด้านการขาดดุลงบประมาณ (ประมาณร้อยละ 7 ในปัจจุบัน) ทำให้รัฐบาลมีงบที่สามารถนำมาใช้ลงทุนได้อย่างจำกัด จนทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องในการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการล่าช้า ซึ่งหากเคนยายังละเลยการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ก็จะทำให้ประเทศมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจทดถอยได้ในอนาคต

สำหรับประเทศไทย ผู้ส่งออกควรติดตามสถานการณ์ต่อไป เนื่องจาก ในปัจจุบัน ผลกระทบในเรื่องนี้ มีทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ

(1) การที่อัตราแลกเปลี่ยนของเงินเคนยาชิลลิ่ง อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 110 ในช่วงกลางปี 2565 จนค่อยๆอ่อนค่าลงอยู่ที่ 130 เคนยาชิลลิ่งในปัจจุบัน ทำให้การนำเข้าสินค้ามีต้นทุนสูงมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าโดยรวมตามลำดับ และไทยอาจจะได้รับผลกระทบบ้างไม่มากก็น้อย

(2) ปัญหาความยากจนและค่าครองชีพสูง แต่รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะช่วยลดภาระอย่างเป็นรูปธรรม

(3) ความสามารถในการกู้ยืมเงินของรัฐบาลเคนยาลดลง ทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายภาครัฐทำได้น้อยลง และไม่มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม สคต. ยังมองในแง่ดีว่า เมื่อการรายได้จากภาคบริการของเคนยาได้แก่การท่องเที่ยวมีรายได้ที่สูงขึ้น จากการที่การท่องเที่ยวทั่วโลกมีแนวโน้มดีมากขึ้นกว่าปีก่อน อาจจะช่วยทำให้เศรษฐกิจเคนยายังสามารถขยายตัวในระดับที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.0 ในปี 2566 ได้ต่อไป หากไม่แล้ว ก็จะทำให้การนำเข้าสินค้าอาจจะชะลอตัวลงและลดลงได้ โดย สคต. คาดการณ์ว่าไทยจะสามารถขยายการส่งออกมาเคนยาได้ในปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ +2.0 มูลค่าประมาณ 270 ล้าน USD แต่หากสถานการณ์ต่างๆ ยังคงมีแนวโน้มไม่สดในตามข่าวข้างต้น ก็อาจะทรงตัวหรือติดลบได้ ซึ่ง สคต. จะได้ติดตามและรายงานต่อไป

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke

 The EastAfrican

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login