หน้าแรกTrade insightอุตสาหกรรมอื่นๆ > นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียประกาศแผนแม่บทอุตสาหกรรมใหม่

นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียประกาศแผนแม่บทอุตสาหกรรมใหม่

ที่มา : สำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

นาย อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ได้เคยประกาศกรอบนโยบายเศรษฐกิจ  MADANI ที่ออกแบบมาเพื่อยกระดับของประเทศของมาเลเซีย กรอบการทำงานดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อทำให้มาเลเซียกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มั่นใจว่ามีการกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกันทั่ว ซึ่งรวมกลยุทธ์เพื่อเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมในประเทศให้มีนวัตกรรมมากขึ้น แข่งขันได้ และสามารถขยายสู่ตลาดโลกได้

แผนแม่บทอุตสาหกรรมใหม่ปี 2030 หรือ NIMP 2030 เป็นองค์ประกอบสำคัญของกรอบนโยบาย MADANI เพื่อจะสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นจริง โดยจะฟื้นฟูภาคการผลิตเพื่อให้แน่ใจว่ามาเลเซียยังคงมีความยืดหยุ่นท่ามกลางความท้าทายทั่วโลก

NIMP ได้รับการออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนประเทศมาเลเซียในฐานะผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ขยายการเชื่อมโยงภายในประเทศเพื่อสร้างความมั่งคั่งทั่วประเทศ ตลอดจนเสริมสร้างตำแหน่งในห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานระดับโลก ซึ่ง NIMP จะสามารถเร่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในมาเลเซียให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศ

NIMP 2030 ในการทำให้มาเลเซียเป็นผู้นำในเศรษฐกิจเอเชีย

ภาคการผลิตถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย โดยมีส่วนสำคัญต่อ GDP ของประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานกับประชากรจำนวน 2.7 ล้านคน

มาเลเซียต้องคว้าโอกาสในการขยายฐานของเรา เนื่องจากขณะนี้มาเลเซียอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะใช้ประโยชน์จากแนวโน้มสำคัญระดับโลกสามประการ

  1. สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกได้ผลักดันให้บริษัทต่างๆ หันมาใช้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะจุดหมายปลายทางเพื่อรับประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน นี่เป็นการปลดล็อกโอกาสสำหรับมาเลเซียในการบูรณาการประเทศให้สอดคล้องกับตลอดตโลก โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรมที่ครบถ้วนของประเทศ ทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ และชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในจุดหมายปลายทางชั้นนำสำหรับนวัตกรรมและการทำธุรกิจ
  2. มาเลเซียจำเป็นต้องเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเพื่อก้าวนำหน้าในยุคหลังการแพร่ระบาด ตลอดจนยกระดับแรงงานในประเทศให้มีทักษะสูง และปรับปรุงโปรแกรม TVET (การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม) เพื่อเสริมสร้างแรงงานมาเลเซียในการเพิ่มประสิทธิภาพและเร่งขีดความสามารถเชิงนวัตกรรม ซึ่งจะสร้างแหล่งรวมผู้ที่มีทักษะที่ใหญ่ขึ้นสำหรับประเทศ
  3. การเผชิญกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้มาเลเซียจำเป็นต้องนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่อ่อนไหวต่อ Environmental, social, and corporate governance (ESG) เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ในการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะไฟฟ้า และการใช้และการจัดเก็บคาร์บอน (CCUS)

แผนการดำเนินงานของ NIMP 2030

ด้วยกรอบเวลาอันสั้นเพียงเจ็ดปี แผน NIMP 2030 ต้องใช้แนวทางที่เร่งด่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จึงได้กำหนดพันธกิจ 4 ข้อ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในวงกว้าง:

  1. การพัฒนาความซับซ้อนทางเศรษฐกิจโดยที่อุตสาหกรรมต่างๆ จะได้รับการส่งเสริมให้คิดค้นและผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศของเราในตลาดโลก
  2. การพัฒนาเทคโนโลยีทางดิจิทัล ด้วยการเปิดรับเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลประเทศจะสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรม เพิ่มผลผลิต และสร้างโอกาสใหม่สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  3. การผลักดัน Net Zero ภารกิจนี้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของมาเลเซียในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมุ่งมั่นเพื่ออนาคต ด้วยแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนและความคิดริเริ่มสีเขียว เรามุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและสร้างเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภารกิจนี้สอดคล้องกับแผนงานการเปลี่ยนผ่านพลังงานแห่งชาติ (NETR) ที่ฉันเพิ่งเปิดตัว
  4. การรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการไม่แบ่งแยก ภารกิจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจของคนในประเทศ สนับสนุน SMEs และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันในกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกรัฐ ทั่วประเทศ

เพื่อสร้างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านของมาเลเซีย แผน NIMP 2030 วางแผนที่จะสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นกับเพื่อนบ้านสำหรับห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยมีเป้าหมายในการบูรณาการอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการส่งเสริมให้ประเทศอื่นๆ เข้ามาลงทุนในมาเลเซียเนื่องจากบริษัทข้ามชาติที่ตั้งอยู่ในมาเลเซียจะจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการจากบริษัทในท้องถิ่น ซึ่งจะเพิ่มความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของ Environmental, social, and corporate governance (ESG) และบทบาทในการปฏิรูปภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจ NIMP ได้กำหนดนโยบาย “Push for Net Zero” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ โดยจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมของมาเลเซียเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ผ่านมาตรการเชิงรุก เช่น การดำเนินการด้านประสิทธิภาพพลังงานและการจัดการขยะ การนำพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีมาใช้อย่างรวดเร็ว

แผน NIMP 2030 จะเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs ในภาคการผลิต

ปัจจุบัน SMEs ในภาคการผลิตและการส่งออกของของมาเลเซียมีผลต่อ GDP ที่ร้อยละ 8 และร้อยละ 9 ตามลำดับ แผนเศรษฐกิจ NIMP 2030 จะเพิ่มศักยภาพให้ SMEs ของประเทศเติบโตในด้านการผลิต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ Ekonomi MADANI ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัททุกขนาด ตัวอย่างเช่น NIMP 2030 มีแผนปฏิบัติการเฉพาะเพื่อสร้างขีดความสามารถของ SMEs เพื่อให้สามารถอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นในห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก ซึ่งในทางกลับกันจะช่วยให้พวกเขาขยายธุรกิจไปสู่บริษัทระดับกลางที่สามารถช่วยให้มาเลเซียได้รับรายได้จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมากขึ้น

แนวทางการดำเนินงานทั่วประเทศตามแผน NIMP 2030

การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต้องอาศัยการดำเนินการที่รวดเร็วจากทุกฝ่าย การนำไปปฏิบัติถือเป็นสิ่งสำคัญในการแปลงตามแผน เพื่อทำให้แผน NIMP 2030 เป็นการดำเนินการที่จับต้องได้และสามารถวัดผลได้ แผน NIMP 2023 จะถูกนำไปใช้ทั่วประเทศที่ไม่เพียงแต่รัฐบาลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาคเอกชนด้วย การทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมาย จะมีการจัดตั้งสภา NIMP 2030 แห่งชาติ โดยการมีส่วนร่วมของกระทรวงและตัวแทนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลมีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะสนับสนุนการดำเนินการตามแผน NIMP 2030 โดยมีการลงทุนรวมประมาณ 9,500 ล้านริงกิตมาเลเซียตลอดระยะเวลา 7 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเพื่อทำให้มาเลเซียกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก

ความคิดเห็น สคต.

นาย อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ได้ประกาศแผนแม่บทอุตสาหกรรมใหม่ปี 2030 หรือ NIMP 2030 เป็นองค์ประกอบสำคัญของกรอบนโยบาย MADANI เพื่อจะสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นจริง โดยจะฟื้นฟูภาคการผลิตเพื่อให้แน่ใจว่ามาเลเซียยังคงมีความยืดหยุ่นท่ามกลางความท้าทายทั่วโลก  สำนักงานฯ มีความเห็นว่าแผน NIMP 2023 มีการวางแผนในการทำความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับประเทศเพื่อนบ้านของมาเลเซียซึ่งประเทศไทยถือเป็นพันธมิตรด้านการค้าที่สำคัญของมาเลเซีย ประเทศไทยสามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานที่ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามแผนดังกล่าว ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการสร้างพันธมิตรทางการค้ากับประเทศมาเลเซียสามารถเข้าร่วมกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าที่สำนักงานฯ จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา :

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login