ท่าเรือชินโจว ช่องทางนำเข้าทุเรียนผ่านทางทะเลที่สำคัญทางจีนตอนใต้
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 เรือที่ขนส่งทุเรียนน้ำหนัก 342 ตันเข้าสู่ประเทศจีนผ่านท่าเรือชินโจวอย่างเรียบร้อย
ในวันเดียวกัน สำนักงานศุลกากรของท่าเรือชินโจว สามารถขนถ่ายทุเรียนและตรวจสอบกักกันโรคในเวลาแรกตอนที่เรือเทียบท่าได้อย่าวรวดเร็ว ตามมาตรการการปฏิบัติ เช่น การแจ้งตรวจสอบและกักกันโรคแบบเร่งด่วนล่วงหน้า การตรวจสอบสินค้าในเวลาสินค้าที่มาถึง และการเปิดช่องทาง Green lane สำหรับสินค้าอาหารสด เป็นต้น
นาย Fang Yuren ผู้รับผิดชอบศูนย์โลจิสติกส์ Xianglong ที่ท่าเรือชินโจวให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า มาตรการการผ่านพิธีการศุลกากรที่สะดวกของท่าเรือชินโจว ทำให้เป็นช่องทางอีกทางเลือกในการนำเข้าผลไม้ของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ที่น่าสนใจและมีผลทำให้จำนวนและประเภทของผลไม้นำเข้าที่เลือกช่องทางขนส่งทางทะเลเพื่อเข้าประเทศจีนมีการเติบโต รวมทั้งผลไม้ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างสูงในตลาดจีน คือ ทุเรียน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงฤดูผลไม้ และความสามารถในการผ่านด่านของด่านทางบก ที่มีความจำกัดในด้านความสามารถตรวจปล่อยสินค้าทให้มีผู้มาใช้การขนส่งทางทะเลเพิ่มขึ้น จากข่าวยังระบุว่า หลังจากดำเนินการความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ( RCEP ) อย่างเป็นทางการ ท่าเรือชินโจวใช้ประโยชน์จากนโยบายนี้ทำให้ ปัจจุบันด่านท่าเรือชินโจว เป็นช่องทางการนําเข้าทุเรียนผ่านทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
ปัจจุบัน ช่องทางนำเข้าผลไม้จากไทยมาถึงท่าเรือชินโจว มีความสะดวกรวดเร็วตลอดเส้นทาง เรือที่ขนส่งผลไม้จากไทยถึงท่าเรือชินโจวมีสัปดาห์ละ 5 เที่ยว ระยะเวลาการขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบังของไทยมาถึงท่าเรือชินโจวเพียงแต่ใช้เวลา 3.5 วัน จากต้นปี 2566 ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน ทุเรียนที่นำเข้าจากไทยและมาเลเซียผ่านท่าเรือชินโจวมีปริมาณเป็น 5,742 ตัน และจำหน่ายไปยังตลาดในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เขตปกครองตนเองซินเจียง มณฑลเจ้อเจียง ฯลฯ
คาดการณ์ว่า ปี 2566 ท่าเรือชินโจวจะนำเข้าทุเรียนจากไทยเป็นจำนวนกว่า 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์
ความเห็นสคต. ท่าเรือชินโจว ตั้งอยู่เมืองชินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ห่างจากเมืองหนานหนิงที่เป็นเมืองเอกของกว่างซี 130 กิโลเมตร เป็นท่าเรือสำคัญในกลุ่มท่าเรือสากลอ่าวเป่ยปู้ และมีบทบาทสำคัญในเขตทดลองการค้าเสรีจีน (กว่างซี) รวมถึงเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของกรอบเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตก” (New International Land-Sea Trade Corridor)
- วันที่ 7 ธันวาคม 2552 ท่าเรือชินโจวได้รับอนุญาตเป็นด่านท่าเรือนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป
- วันที่ 9 ตุลาคม 2557 ท่าเรือชินโจวได้รับอนุญาตเป็นด่านท่าเรือนำเข้าธัญพืช
- วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ท่าเรือชินโจวได้รับอนุญาตเป็นด่านท่าเรือนำเข้าเนื้อสัตว์
- วันที่ 14 เมษายน 2559 ท่าเรือชินโจวได้รับอนุญาตเป็นด่านท่าเรือนำเข้าผลไม้สด
หลังจากท่าเรือชินโจวได้อนุญาตผลไม้สด ธุรกิจการนำเข้าสินค้าที่ผ่านห่วงโซ่ความเย็นของท่าเรือชินโจวมีวงจรที่สมบูรณ์ทำให้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ผลไม้ไทยที่นำเข้าผ่านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงนอกจากสามารถผ่านท่าเรือชินโจวแล้ว ยังสามารถผ่านช่องทางอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ทางบก 4 ด่านประกอบด้วย 1.ด่านโหย่วอี้กวาน 2. ด่านตงซิง 3. ด่านหลงปัง 4. ด่านสุยโข่ว (ปัจจุบัน ด่านหลงปังและด่านสุยโข่วยังไม่สามารถนำเข้าผลไม้ไทยในเชิงปฏิบัติได้ แต่ได้ระบุไว้ในพิธีสารฯ และอยู่ระหว่างการตรวจรับพื้นที่จากหน่วยงาส่วนกลาง) ทางราง มี ด่านรถไฟผิงเสียง ทางอากาศ มี ท่าอากาศยานนานาชาติอู๋ซวีหนานหนิง
ดังนั้น ผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ไทยที่ประสงค์ส่งออกผลไม้ไทยมายังประเทศจีนโดยผ่านด่านในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สามารถพิจารณาใช้ด่านดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามสถานการณ์ของด่านอย่างใกล้ชิด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในด้านความเสียหายของผลไม้ในระหว่างการขนส่ง
https://mp.weixin.qq.com/s/wmE7JXPAqhOv8g8z1d7n-g
http://www.gx.chinanews.com.cn/cj/2023-06-28/detail-ihcqtzth4799931.shtml
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)