บริษัท Start-up ด้านนวัตกรรมอาหารอย่าง GoodBytz ได้พัฒนาหุ่นยนต์ที่ใช้ในห้องครัว ให้เป็นเชฟมืออาชีพ ซึ่งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยล่าสุดบริษัทฯ ได้ระดมทุนจากนักลงทุนกว่า 12 ล้านยูโร ซึ่งบริษัทรายใหญ่ที่เข้าร่วมลงทุนในครั้งนี้ อาท บริษัท Oyster Bay และ Block Group ที่ชื่นชอบในการลงทุนกับธุรกิจแหล่งอนาคต แม้ขณะนี้สถานการ์ณทางเศรษฐกิจของเยอรมนียังเผชิญหน้ากับความท้าทายรอบด้าน
บริษัท GoodBytz ได้ขายหุ่นยนต์ผู้ช่วยเชฟที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูงและดีต่อสุขภาพในช่วงเวลาอันใกล้นี้ โดยที่ผ่านมา “ห้องครัวไร้คน” ของ GoodBytz ถือเป็นตัวท๊อป อยู่ในกลุ่ม 15% ของร้านอาหารยอดนิยม จากแอพพลิเคชั่นจัดส่งอาหาร Lieferando โดยนาย Christoph Miller ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Oyster Bay เปิดเผยว่า “เราได้เข้ามาถูกจังหวะ เพราะในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของหุ่นยนต์ที่ทำงานในครัวนั้นถือว่าสูงมาก” นอกจากบริษัท Food & AgricultureTech อย่าง Oyster Bay จะสนใจลงทุนใน GoodBytz แล้ว หุ่นยนต์ในครัวยังดึงดูดให้บริษัท Traditional Food อย่าง Block Group มาร่วมลงทุนด้วย โดยนาย Stephen von Bülow ผู้บริหารของ Block Group ได้กล่าวชื่นชม GoodBytz ว่า “ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่มาจากการที่มีห้องครัวดี ดังนั้น นวัตกรรมหุ่นยนต์ในห้องครัวจะทำให้ครัวสามารถปรุงอาหารได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น” ซึ่งในการลงทุนของทั้งสองบริษัทคิดเป็นเงินประมาณ 12 ล้านยูโร นาย Hendrik Susemihl ผู้บริหารของ GoodBytz กล่าวว่า “การสนับสนุนจาก Oyster Bay ที่มีประสบการณ์การลงทุนกับอุตสาหกรรมอาหารมาอย่างนับไม่ถ้วน และของ Block Group บริษัทอาหารที่มีความเชี่ยวชาญ ได้ทำให้เรามีศักยภาพในอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น” สำหรับเป้าหมายของ GoodBytz ที่ตั้งไว้จากเงินลงทุนครั้งแรก (12 ล้านยูโร) “GoodBytz จะผลิตผู้ช่วยเชฟโรบอทอย่างน้อย 100 ตัว ภายในปี 2025 และจะขยายธุรกิจไปสู่ตลาดนานาชาติภายในปี 2024”
สำหรับหุ่นยนต์ของ GoodBytz นั้น ได้รับแรงบันดาลใจมาจากกระทะที่หมุนด้วยตัวเอง ซึ่งทางผู้บริหารได้สังเหตุเห็นระหว่างไปเอเชีย โดยพวกเขานำมันมาพัฒนาจนมั่นใจว่าผู้ช่วยเชฟโรบอทจะรับมือได้กับทุกเมนูที่มีอยู่บนโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ทำง่ายอย่างเช่น ราเม็ง เฝอ สลัด หรือ แม้กระทั่งอาหารที่มีความซับซ้อนขึ้นเช่น มีทบอล โจ๊ก และ Kaiserschmarrn (แพนเค้กรสหวานเล็กน้อยที่ได้ชื่อมาจากจักรพรรดิแห่งออสเตรีย) ก็ทำได้ ลูกค้าสามารถสั่งอาหารและปรุงแต่งอาหารได้ผ่าน Touchscreen โดยตรง ซึ่งมีความง่ายและสะดวกต่อการสั่งอาหารมาก (ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี) อย่างไรก็ดี แผนสำหรับโรบอทก็คือ จะถูกนำไปใช้ในห้องครัวที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่น สนามบิน และโรงอาหารในโรงงาน ซึ่งหุ่นยนต์นี้จะช่วยทำอาหารที่มีคุณภาพสูงโดยไม่ต้องใช้แรงงานเยอะ นอกจากนี้ บริษัทยังหวังว่าหุ่นยนต์ทำอาหารนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในครัวได้
GoodBytz ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะใช้พนักงานกว่า 60 คน ภายในปี 2023 และจะขยายเป็น 90 คนภายในปี 2024 (ต้องการวิศวกรเป็นพิเศษ) มากไปกว่านั้น GoodBytz เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น และ มีแผนที่จะเปิดร้านเรือธงในเมือง Hamburg ในต้นปี 2024
จาก Handelsblatt 13 พฤษจิกายน 2566
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)