หน้าแรกTrade insightข้าว > ตลาดเมียนมาคึกคัก ผู้คนจับจ่ายใช้สอยหนาแน่นหลายพื้นที่

ตลาดเมียนมาคึกคัก ผู้คนจับจ่ายใช้สอยหนาแน่นหลายพื้นที่

ตลาดเมียนมาคึกคัก ผู้คนจับจ่ายใช้สอยหนาแน่นหลายพื้นที่ในเมืองย่างกุ้ง ทั้งตลาดท้องถิ่น เช่น ตลาดโบจ๊ก ย่าน China Town, Hledan, Karba Aye รวมทั้งตลาดท้องถิ่น ร้านค้าริมทาง ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ร้านปิ้งย่าง รวมทั้งตลาดสมัยใหม่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ผู้คนออกมาจับจ่ายใช้สอย อุปโภคบริโภค ซื้อหาของกินของใช้ ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย สะท้อนว่าผู้คนใช้ชีวิตกันปกติ ทั้งกลางวันและยามค่ำคืน มีความต้องการบริโภค จับจ่ายใช้สอย สังสรรค์เข้าสังคม แสดงถึงโอกาสธุรกิจและความต้องการของผู้บริโภคในเมียนมา

 

 

 

กล่าวได้ว่า เมียนมามีโอกาสทางธุรกิจ มีความต้องการจับจ่ายใช้สอย ผู้คนต้องกินต้องใช้ในทุกสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม มีความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะ เรื่องกฎระเบียบและข้อจำกัดทางการค้าและการเงิน เช่น การขอใบอนุญาตนำเข้า อัตราแลกเปลี่ยน สภาพคล่องเงินต่างประเทศ การขอโอนเงินออกนอกเมียนมา ซึ่งหากธุรกิจปรับกลยุทธ์และก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ ก็จะปักหมุดเมียนมาคว้าโอกาสความต้องการในเมียนมาได้ต่อไป

 

 

 

รวมทั้ง การออกนอกบ้านและการใช้ชีวิตมิติอื่นๆ ทั้งการเข้าวัดทำบุญ พักผ่อนหย่อนใจ ตามสถานที่ต่างๆ เช่น เจดีย์ชเวดากอง สวนสาธารณะ ทะเลสาป Inya, Kandawgyi เป็นต้น สะท้อนการดำเนินชีวิตของคนเมียนมาที่ผูกพันกับศาสนาและธรรมชาติ เป็นวิถีชีวิตที่สวยงาม มีความราบง่าย พอเพียง ใกล้ชิดศาสนาและธรรมชาติ ซึ่งการออกมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมนอกบ้าน จะช่วยก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การจับจ่ายใช้สอย การกินดื่ม การเดินทาง การพบปะสังสรรค์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นตลาดเมียนมา

 

 

 

ผลกระทบ/โอกาส เมียนมาเป็นตลาดมีโอกาสและศักยภาพ เพราะมีความต้องการตลาด นิยมสินค้าไทย  มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เป็นแหล่งทรัพยากรและฐานการผลิต เป็นเพื่อนบ้านสำคัญอยู่ติดประเทศไทย มีชายแดนระหว่างกันยาวที่สุด 2,401 กิโลเมตร มีหลายเส้นทาง ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เชียงรายถึงระนอง อย่างไรก็ตาม เมียนมาก็มีความท้าทายต่างๆ เช่น สถานการณ์ กฎระเบียบการค้า อัตราแลกเปลี่ยน การชำระเงิน โลจิสติกส์ ซึ่งหากผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์ธุรกิจ ก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ ได้ ก็จะปักหมุดในตลาดเมียนมาได้ ทั้งในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต โดยมีสินค้าและธุรกิจที่มีศักยภาพ เช่น ของกินของใช้ อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส เครื่องสำอาง วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและชิ้นส่วน วัตถุดิบเพื่อการผลิต ธุรกิจสุขภาพและความงาม ร้านอาหาร ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นต้น และนอกจากเมืองย่างกุ้ง มีอีกหลายเมืองที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น มัณฑะเลย์ เนปยีดอ ตองจี พะโค มะริด เป็นต้น

 

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ผู้ประกอบการติดตามสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และปรับแผนกลยุทธ์เพื่อก้าวข้ามความท้าทาย โดยเฉพาะ การขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) ซึ่งภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวตามแนวทางและข้อกำหนดเมียนมา เช่น การจับคู่กับรายได้ส่งออก (Export Earning) รวมทั้งพิจารณาปรับกลยุทธ์ธุรกิจ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าและส่งออกจากไทย เป็นการผลิตในเมียนมามากขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งการจ้างผลิตในเมียนมา (OEM) การเป็นหุ้นส่วนร่วมกับธุรกิจกับเมียนมา (Joint Venture) หรือการลงทุนเองในเมียนมา เป็นต้น สิ่งสำคัญคือประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefit) ทั้งไทยและเมียนมา  ทั้งระดับประเทศ ภาคธุรกิจ ประชาชนและผู้บริโภค  โดย สคต.ย่างกุ้ง ยินดีให้บริการสนับสนุนการปรับตัวก้าวข้ามความท้าทาย เพื่อส่งเสริมธุรกิจไทยให้เกิดความเชื่อมั่น และเดินหน้าปักหมุดในตลาดเมียนมาในทุกสถานการณ์

 

********************************************

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

พฤศจิกายน 2567

อ่านข่าวฉบับเต็ม : ตลาดเมียนมาคึกคัก ผู้คนจับจ่ายใช้สอยหนาแน่นหลายพื้นที่

Login